เมตา
ทางเข้าสำนักงานใหญ่เมตา ที่เมนโลพาร์ก รัฐแคลิฟอร์เนีย | |
ชื่อทางการค้า | เมตา |
---|---|
ชื่อเดิม | เฟซบุ๊ก (ค.ศ. 2004–2021) |
ประเภท | มหาชน |
การซื้อขาย | |
ISIN | US30303M1027 |
อุตสาหกรรม | |
ก่อตั้ง | 4 มกราคม 2004เคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ | ที่
ผู้ก่อตั้ง | |
สำนักงานใหญ่ | , สหรัฐ |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก (ยกเว้นประเทศที่บล็อก) |
บุคลากรหลัก |
|
ตราสินค้า |
|
รายได้ | 85.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 32.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
รายได้สุทธิ | 29.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
สินทรัพย์ | 159.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 128.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020) |
เจ้าของ | มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก (14%) |
พนักงาน | 71,970 (31 ธันวาคม ค.ศ. 2021) |
แผนก | Reality Labs |
บริษัทในเครือ | Novi Financial |
เว็บไซต์ | meta |
เชิงอรรถ / อ้างอิง [1][2][3][4][5][6][7][8] |
เมตา แพลตฟอมส์ (อังกฤษ: Meta Platforms).[9][10] ดำเนินการภายใต้ เมตา (Meta)[11] หรือเดิม เฟซบุ๊ก (Facebook)[12] เป็นบริษัทข้ามชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และวอตส์แอปป์ กับบริษัทย่อยอื่น ๆ[13] โดยเฟซบุ๊กได้ทำการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 และเริ่มซื้อขายบนตลาดหุ้นแนสแด็กอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2012
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2021 สื่อมวลชนรายงานว่าบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กวางแผนเปลี่ยนชื่อเพื่อ "สะท้อนถึงจุดมุ่งหมายในการสร้างเมตาเวิร์ส"[14] จากนั้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นเมตาในวันที่ 28 ตุลาคม[15][16] ชื่อ เมตา มาจากคำว่า "เมทา" เป็นภาษากรีกที่หมายถึง "เหนือกว่า, ไกลโพ้น" บ่งบอกถึงแรงจูงใจแห่งอนาคต[17]
ประวัติ
[แก้]มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กเริ่มสร้างเว็บไซต์เฟซแมช (Facemash) ขึ้นร่วมกับผู้ก่อตั้งคนอื่น ๆ ในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ขณะที่ซักเคอร์เบิร์กเป็นนักศึกษาปีที่สองของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เฟซแมชเป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานเลือกภาพนักเรียนฮาร์วาร์ดสองคนเปรียบเทียบกันว่าคนไหนร้อนแรงกว่ากัน ซึ่งเพื่อการนี้ซักเคอร์เบิร์กได้ทำการเจาะระบบของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อคัดลอกรูปนักศึกษาที่ใช้ในระบบหอพักลงมาในระบบของเฟซแมช
ในสี่ชั่วโมงแรกของการเปิดเว็บไซต์ เฟซแมชมีผู้ใช้งาน 450 คน และมีรูปถูกดูทั้งหมด 22,000 รูป แต่ไม่กี่วันถัดมาเว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนซักเคอร์เบิร์กก็ถูกตั้งข้อหาบุกรุกระบบรักษาความปลอดภัย ละเมิดลิขสิทธิ์ ละเมิดความเป็นส่วนตัวและต้องเผชิญกับการไล่ออก อย่างไรก็ดี ในตอนท้ายข้อหาทั้งหมดตกไปและซักเคอร์เบิร์กก็ขยายโครงการออกไปโดยสร้างเครื่องมือสำหรับการศึกษาอย่างรวมกลุ่มกันก่อนการสอบปลายภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ โดยอัปโหลดรูปภาพสมัยโรมันจำนวน 500 รูป โดยแต่ละรูปจะเปิดสำหรับการแสดงความคิดเห็น ทำให้เพื่อนร่วมชั้นของเขาเริ่มแบ่งปันโน้ตซึ่งกันและกัน ซึ่งภายหลังศาสตราจารย์ผู้สอนได้กล่าวว่าเป็นการให้เกรดครั้งที่ดีที่สุดที่เขาเคยให้มา
ในภาคการศึกษาถัดมา ซักเคอร์เบิร์กได้เริ่มทำโครงการใหม่ซึ่งเขาได้แรงบันดาลใจมาจากบทความในหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเรื่องเฟซแมช โดยในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเคอร์เบิร์กก็เปิดตัว "Thefacebook" ขึ้น แต่ใน 6 วันต่อมารุ่นพี่ฮาร์วาร์ด 3 คน ก็กล่าวหาซักเคอร์เบิร์กว่าลอกความคิดเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์เครือข่ายสังคมไป ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นคดีความในชั้นศาล ในตอนแรก Thefacebook จำกัดสมาชิกเฉพาะนักศึกษาฮาร์วาร์ดเท่านั้น และภายในเดือนแรกของการเปิดตัว เกินครึ่งของนักศึกษาฮาร์วาร์ดก็สมัครเข้าใช้งานบริการนี้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2004 บริการนี้ก็ขยายฐานผู้ใช้งานไปยังนักศึกษามหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล และขยายต่อไปอีกในนักศึกษากลุ่มมหาวิทยาลัยไอวีลีกไปจนถึงมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เฟซบุ๊กจัดตั้งเป็นบริษัทราวกลางปีค.ศ. 2004 โดยได้ฌอน พาร์คเกอร์มาเป็นประธานบริษัท และย้ายฐานปฏิบัติการไปยังเมืองแพโล แอลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย และไม่นานก็ได้รับเงินลงทุนก้อนแรกจาก ปีเตอร์ ธีล ผู้ร่วมก่อตั้งเพย์แพล ในปีค.ศ. 2005 เฟซบุ๊กตัด the ออกจาก thefacebook หลังจากซื้อโดเมน facebook.com มาในราคา 200,100 ดอลลาร์สหรัฐ
รายได้
[แก้]เฟซบุ๊กมีรายได้ส่วนใหญ่จากการขายโฆษณาในลักษณะของเว็บแบนเนอร์ อย่างไรก็ตามเฟซบุ๊กมีอัตราการคลิกเข้าชมโฆษณาต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่อื่น ๆ ข้อมูลจาก Businessweek.com กล่าวว่าเฟซบุ๊กมีอัตราการคลิกต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏ ต่ำกว่าเว็บไซต์ใหญ่อื่น ๆ ถึงห้าเท่า[18] อย่างไรก็ตามการเปรียบเทียบอย่างเจาะจงจะมองเห็นความแตกต่างได้มากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานกูเกิลเข้าชมโฆษณาที่ปรากฏเป็นอันแรกในอัตราเฉลี่ยประมาณ 8% (แปดหมื่นคนในหนึ่งล้านคน)[19] ส่วนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กเข้าชมโฆษณาในอัตราเฉลี่ยประมาณ 0.04% (สี่ร้อยคนในหนึ่งล้านคน)[20]
ผู้จัดการฝ่ายขายของเฟซบุ๊ก ซาราห์ สมิธ รายงานว่าโฆษณาที่ประสบความสำเร็จบนเฟซบุ๊กมีอัตราการเข้าชมต่อจำนวนโฆษณาที่ปรากฏอยู่ที่ประมาณ 0.04 - 0.05% และมีแนวโน้มลดลงหลังจากผ่านไป 2 อาทิตย์[21] เมื่อเปรียบเทียบกับเว็บไซต์เครือข่ายสังคมคู่แข่งอย่างมายสเปซ พบว่ามายสเปซมีอัตรานี้อยู่ที่ประมาณ 0.1% ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับเว็บไซต์อื่นแต่ก็มากกว่าเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ BizReport.com ให้เหตุผลในเรื่องนี้ว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กมีความรู้ความสามารถทางเทคโนโลยีสูงจึงมักใช้โปรแกรมกรองโฆษณาทำให้โฆษณาไม่ปรากฏขึ้นได้ รวมไปถึงการที่ตัวเฟซบุ๊กเป็นเหมือนเครื่องเหมือนสื่อสารชนิดหนึ่งทำให้คนสนใจในตัวบทสนทนาและไม่สนใจโฆษณาได้[22] อย่างไรก็ตาม สำหรับการโพสต์บนวอลล์ของเพจของผลิตภัณฑ์ บางบริษัทรายงานว่ามีอัตราการเข้าชมโฆษณาสูงถึง 6.49%[23] และในโฆษณารูปแบบวิดีโอ ก็มีการศึกษาพบว่ามากกว่า 40% ของผู้เข้าชมโฆษณาบนเฟซบุ๊กดูโฆษณาวิดีโอจนจบ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปซึ่งอยู่ในอัตราประมาณ 25%[24]
จำนวนผู้ลงโฆษณา
[แก้]ในปี ค.ศ. 2019 เฟซบุ๊กประกาศว่ามีผู้ลงโฆษณาที่ยังมีความเคลื่อนไหวมากกว่า 7 ล้านราย[25] โดยนิยามของผู้ลงโฆษณาที่ยังมีความเคลื่อนไหวคือบุคคลหรือบริษัทที่ลงโฆษณาในเฟซบุ๊กภายใน 28 วันย้อนหลัง ราคาของการโฆษณาเป็นราคาแปรผันตามการประมูลตามตำแหน่งและโอกาสที่จะได้รับการตอบรับระดับต่าง ๆ จากผู้ใช้ ข้อดีของการลงโฆษณาดิจิทัลเปรียบเทียบกับการลงโฆษณาแบบดั้งเดิม คือความสามารถในการตั้งเป้าโฆษณากับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยสองวิธีกล่าวคือ เลือกจากพฤติกรรมการดู กดไลค์ และกดแชร์ กับอีกวิธีได้แก่การซื้อข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย หรือการเลือกกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายคลึง (look alike)
การทำงาน
[แก้]การเข้าซื้อและควบรวมกิจการ
[แก้]ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กได้ซื้อชื่อโดเมน fb.com จาก American Farm Bureau Federation เป็นจำนวนเงินที่ไม่เปิดเผย ต่อมาในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2011 จึงมีการเปิดเผยว่าโดเมนนี้ถูกซื้อไปในราคา 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการซื้อโดเมนที่มีราคาสูงที่สุดติดอันดับหนึ่งในสิบตลอดกาล[26]
สำนักงานใหญ่ที่เมนโลพาร์ก
[แก้]ในช่วงต้นปีค.ศ. 2011 เฟซบุ๊กประกาศที่จะย้ายสำนักงานใหญ่จากเมืองแพโลแอลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ไปยังเมืองเมนโลพาร์ก รัฐเดียวกัน โดยซื้อมาจากซันไมโครซิสเต็มส์
สำนักงานย่อยที่ไฮเดอราบาด
[แก้]ในปีค.ศ. 2010 เฟซบุ๊กเปิดสำนักงานย่อยแห่งที่สี่ในเมืองไฮเดอราบาด ประเทศอินเดีย[27][28][29] เป็นแห่งแรกของเฟซบุ๊กในเอเชีย[30] เฟซบุ๊กซึ่งในขณะนั้น มีผู้ใช้ทั่วโลกราว 750 ล้านคน โดย 23 ล้านคนนั้นอยู่ในอินเดีย ได้ประกาศว่าสำนักงานที่ไฮเดอราบาดจะเป็นฐานของการโฆษณาออนไลน์และทีมให้ความช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและนักโฆษณาในหลากหลายภาษา[31]
ในอินเดีย เฟซบุ๊กจดทะเบียนบริษัทในชื่อ Facebook India Online Services Pvt Ltd[32][33]
การดำเนินงาน
[แก้]เฟซบุ๊กสร้างศูนย์ข้อมูล (data center) แห่งใหม่ที่เมืองไพรน์วิลล์ รัฐออริกอน ศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ลดการใช้พลังงานลงอย่างมาก (น้อยลง 38%) เมื่อเทียบกับศูนย์ข้อมูลเดิม[34]
การเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน
[แก้]เฟซบุ๊กยื่นเอกสาร S1 ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 โดยยื่นคำขอดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ที่มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นการเสนอขายหุ้นหนึ่งในครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เทคโนโลยีและเป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อินเทอร์เน็ต[35] หลังจากนั้นราคาต่อหุ้นของเฟซบุ๊กก็ขึ้นไปที่ราคา 38 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ให้มูลค่าของบริษัทอยู่ที่ 104 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นมูลค่าที่สูงที่สุดเท่าที่บริษัทหน้าใหม่เคยทำ[36] การเสนอขาย IPO ทำเงินให้เฟซบุ๊ก 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำเงินสูงที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์อเมริกา[37][38] การซื้อขายแลกเปลี่ยนหุ้นเริ่มต้นในวันที่ 18 พฤษภาคม
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Chris Cox is returning to Facebook as chief product officer". The Verge. June 11, 2020. สืบค้นเมื่อ June 11, 2020.
- ↑ "Facebook is getting more serious about becoming your go-to for mobile payments". The Verge. August 11, 2020. สืบค้นเมื่อ August 11, 2020.
- ↑ "Our History". Facebook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2015. สืบค้นเมื่อ November 7, 2018.
- ↑ Shaban, Hamza (January 20, 2019). "Digital advertising to surpass print and TV for the first time, report says". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 9, 2021. สืบค้นเมื่อ June 2, 2019.
- ↑ "FB Income Statement". NASDAQ.com.
- ↑ "FB Balance Sheet". NASDAQ.com.
- ↑ "Stats". Facebook. June 30, 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2015. สืบค้นเมื่อ July 25, 2019.
- ↑ "Facebook - Financials". investor.fb.com. สืบค้นเมื่อ January 30, 2020.
- ↑ "Delaware Corporate Entity Search". สืบค้นเมื่อ October 28, 2021. (file no. 3835815)
- ↑ Meta Platforms, Inc. (October 28, 2021). "Current Report (8-K)". Securities and Exchange Commission. สืบค้นเมื่อ October 29, 2021.
- ↑ Haq, Sana Noor (October 30, 2021). "Hebrew speakers mock Facebook's corporate rebrand to Meta". CNN. สืบค้นเมื่อ October 30, 2021.
- ↑ "Facebook Inc. Certificate of Incorporation" (PDF). September 1, 2020. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
File Number 3835815
- ↑ "Facebook Reports Second Quarter 2021 Results". investor.fb.com. สืบค้นเมื่อ August 12, 2021.
- ↑ Heath, Alex (October 19, 2021). "Facebook is planning to rebrand the company with a new name". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 20, 2021.
- ↑ Dwoskin, Elizabeth (October 28, 2021). "Facebook is changing its name to Meta as it focuses on the virtual world". The Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
- ↑ "Facebook announces name change to Meta in rebranding effort". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-10-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Facebook changes its name to Meta as a part of rebrand | Programming Nation" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-10-29.
- ↑ "Facebook May Revamp Beacon". BusinessWeek. New York. November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ "Google AdWords Click Through Rates Per Position". AccuraCast. October 9, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ Denton, Nick (March 7, 2007). "Facebook 'consistently the worst performing site'". Gawker. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-26. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ "Facebook Says Click Through Rates Do Not Match Those At Google". TechPulse 360. August 12, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ Leggatt, Helen (July 16, 2007). "Advertisers disappointed with Facebook's CTR". BizReport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ Klaassen, Abbey (August 13, 2009). "Facebook's Click-Through Rates Flourish ... for Wall Posts". Advertising Age. New York. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ Walsh, Mark (June 15, 2010). "Study: Video Ads On Facebook More Engaging Than Outside Sites". MediaPost. New York. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-16. สืบค้นเมื่อ July 18, 2010.
- ↑ "Insights to Go from Facebook IQ". Facebook IQ.
- ↑ "FB.com acquired by Facebook". NameMon News. January 11, 2011.
- ↑ PTI (September 30, 2010). "Facebook opens office in India". The Hindu. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ "Kirthiga Reddy: The face behind Facebook". Businesstoday.intoday.in. May 15, 2011. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ Nikhil Pahwa (July 16, 2010). "Facebook Appoints Kirthiga Reddy As Head Of Indian Operations". Medianama.com. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ "Facebook's India face-Meet Kirthiga Reddy, Head and Director Online Operations, Facebook India". MSN India. November 14, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-25. สืบค้นเมื่อ 2012-06-01.
- ↑ "Facebook's Hyderabad Office Inaugurated – Google vs Facebook Battle Comes To India". Watblog.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-01. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ "Not responsible for user-generated content hosted on website: Facebook India". Articles.economictimes.indiatimes.com. February 29, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ "Facebook India to court: Not responsible for user-generated content". M.timesofindia.com. February 29, 2012. สืบค้นเมื่อ May 5, 2012.
- ↑ "Zuckerberg at Ore. Facebook data center". The Boston Globe. Associated Press. April 16, 2011. สืบค้นเมื่อ April 16, 2011.
- ↑ "Facebook Officially Files for $5 Billion IPO". KeyNoodle. February 1, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ February 1, 2012.
- ↑ Andrew Tangel and Walter Hamilton (17 May 2012). "Stakes are high on Facebook's first day of trading". The Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-18. สืบค้นเมื่อ 17 May 2012.
- ↑ Evelyn M. Rusli and Peter Eavis (May 17, 2012). "Facebook Raises $16 Billion in I.P.O." The New York Times. สืบค้นเมื่อ May 17, 2012.
- ↑ Bernard Condon (May 17, 2012). "Questions and answers on blockbuster Facebook IPO". U.S. News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ May 17, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- "Facebook Inc's 10-K filed in 2017, listing business "risk factors". www.sec.gov. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.