เทอเรนซ์ เต๋า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทอเรนซ์ เต๋า FAA FRS (จีนตัวย่อ: 陶哲轩; จีนตัวเต็ม: 陶哲軒; พินอิน: Táo Zhéxuān; เกิด 17 กรกฎาคม 1975 ในเมืองแอดิเลด ประเทศออสเตรเลีย) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวจีน-ออสเตรเลียน-อเมริกันที่มีผลงานทางคณิตศาสตร์หลายแขนง ปัจจุบันเขากำลังให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ฮาร์มอนิก, สมการเชิงอนุพันธ์, คณิตศาสตร์เชิงการจัดพีชคณิต, คณิตศาสตร์เชิงการจัดเลขคณิตคณิตศาสตร์เชิงการจัดเรขาคณิต, compressed sensing และ ทฤษฎีจำนวนวิเคราะห์ในปี 2015 เขาได้รับต่ำแหน่งประธานสาขาศาสตราภิชานคณิตศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัยของแคลิฟอร์เนียลอสแอนเจลิส เต๋ายังเป็นผู้ร่วมรับเหรียญฟิลด์สในปี 2006 และรางวัล Breakthrough Prize in Mathematics ในปี 2014 

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ครอบครัว[แก้]

บิดาของเทอเรนซ์ เต๋าตือ บิลลี่ เต๋า (จีน: 陶象國; พินอิน: Táo Xiàngguó) เป็นกุมารแพทย์ เกิดในเซี่ยงไฮ้ และได้ MBBS ที่ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ในปี 1969[1] มารดาของเต๋า เกรซ (จีน: 梁蕙蘭; พินอิน: Leung Wai-lan) เป็นชาวฮ่องกง เกรซได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเช่นกัน[2] เธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมในฮ่องกง[3] ทั้งสองพบกันที่มหาวิทยาลัยในขณะที่พวกเขากำลังศึกษาอยู่[4] พ่อแม่ของเทอเรนซ์อพยพจากฮ่องกงสู่ออสเตรเลีย[5]

เต๋ามีพี่น้องชายสองคนอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ทั้งสองเป็นตัวแทนออสเตรเลียในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

ลอร่า ภรรยาของเขาที่เป็นวิศวกรของนาซาในห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน[7] และลูกชายและลูกสาวของพวกเขาอาศัยอยู่ในลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย

งานวิจัยและรางวัล[แก้]

ผลงานทางคณิตศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักอย่างโด่งดังของเทอเรนซ์ เต๋า คือ ทฤษฎีบทกรีน-เต๋า โดยพิสูจน์ร่วมกับเบน กรีนจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทฤษฎีบทดังกล่าวพิสูจน์ว่า ในลำดับของจำนวนเฉพาะ จะมีลำดับย่อยที่เป็นลำดับเลขคณิตที่มีความยาว k เสมอ ไม่ว่า k จะเป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ ทฤษฎีบทดังกล่าวเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2004[8]

ในปีค.ศ. 2006 มีรายงานว่าเต๋าได้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานรวมกว่า 30 คน[9] จนกระทั่งได้ผู้เขียนร่วมถึง 68 คนในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015 

อ้างอิง[แก้]

  1. Dr Billy Tao, Healthshare.
  2. Terence Tao: the Mozart of maths, March 7, 2015, Stephanie Wood, The Sydney Morning Herald.
  3. Oriental Daily, Page A29, 24 August 2006.
  4. Terence Chi-Shen Tao, MacTutor History of Mathematics archive, School of Mathematics and Statistics, University of St Andrews, Scotland.
  5. Wen Wei Po, Page A4, 24 August 2006.
  6. 6.0 6.1 Nigel makes Waves: Google's bid to overthrow email, Asher Moses, Sydney Morning Herald, 2009-10-02
  7. "History, Travel, Arts, Science, People, Places - Smithsonian". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-10. สืบค้นเมื่อ 5 September 2015.
  8. Green, Ben; Tao, Terence. "The primes contain arbitrarily long arithmetic progressions". Annals of Mathematics. 2008 (167): 481-547. doi:10.4007/annals.2008.167.481.
  9. The Singular Mind of Terry Tao