เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
คูเมืองโบราณ ตำนานเล่าขาน อาหารเลิศรส งามงดประเพณี คนดีมีน้ำใจ
ทม.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทม.บุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ทม.บุรีรัมย์ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.บุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์
ทม.บุรีรัมย์ (ประเทศไทย)
พิกัด: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°E / 14.99417; 103.10222พิกัดภูมิศาสตร์: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°E / 14.99417; 103.10222
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
อำเภอเมืองบุรีรัมย์
จัดตั้งพ.ศ. 2479 (เทศบาลเมือง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสกล ไกรรณภูมิ
พื้นที่
 • ทั้งหมด6.00 ตร.กม. (2.32 ตร.ไมล์)
ความสูง163 เมตร (535 ฟุต)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด30,021 คน
 • ความหนาแน่น4,525.00 คน/ตร.กม. (11,719.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04310102
สนามบินIATA: BFV – ICAO: VTUO
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ทางหลวง
ที่อยู่
สำนักงาน
ถนนรมย์บุรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
เว็บไซต์www.buriramcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร, สถานศึกษา, สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 6.0 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,750 ไร่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2564 ประมาณ 30,021 คน[1]

ประวัติศาสตร์[แก้]

สำนักงานเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ตราขึ้นไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 62 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[2]

ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 40 วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมดของอำเภอเมืองบุรีรัมย์[3]

ภูมิศาสตร์[แก้]

สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร เทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้

สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.67
(89.01)
34.02
(93.24)
36.02
(96.84)
36.45
(97.61)
33.87
(92.97)
34.35
(93.83)
33.60
(92.48)
33.07
(91.53)
32.57
(90.63)
31.25
(88.25)
30.52
(86.94)
29.77
(85.59)
33.10
(91.58)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.65
(63.77)
20.10
(68.18)
22.65
(72.77)
24.47
(76.05)
24.50
(76.1)
24.80
(76.64)
24.37
(75.87)
24.17
(75.51)
24.22
(75.6)
23.32
(73.98)
20.87
(69.57)
18.30
(64.94)
22.45
(72.41)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 0.07
(0.0028)
7.10
(0.2795)
42.02
(1.6543)
113.75
(4.4783)
241.87
(9.5224)
100.82
(3.9693)
176.10
(6.9331)
109.87
(4.3256)
288.90
(11.374)
177.50
(6.9882)
94.27
(3.7114)
6.00
(0.2362)
1,358.27
(53.4752)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 0 2 5 10 20 14 18 12 18 14 5 2 120
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ประชากร[แก้]

จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 แบ่งเป็นชาย จำนวน 14,001 คน หญิง จำนวน 15,620 คน รวม 30,021 คน ความหนาแน่นของประชากร 4,832.84 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวน 6,097 ครอบครัว[4]

ชุมชน[แก้]

ย่านใจกลางเมืองบุรีรัมย์
ชุมชนละลม

ชุมชนในเขตเทศบาล จำนวน 18 ชุมชน ดังนี้

  1. ชุมเห็ด
  2. หลักสถานีรถไฟ
  3. หนองปรือ
  4. ประปาเก่า
  5. หน้าสถานีรถไฟ
  6. บุลำดวนเหนือ
  7. ตลาด บ.ข.ส.
  8. หลังศาล
  9. เทศบาล
  10. ตลาดสด
  11. วัดอิสาณ
  12. บุลำดวนใต้
  13. หลังราชภัฏ
  14. ต้นสัก
  15. หลักเมือง
  16. สะพานยาว
  17. โคกกลาง
  18. ฝั่งละลม

การศึกษา[แก้]

การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา

  • ระดับก่อนประถมศึกษา 2 แห่ง
  • ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 5 แห่ง
  • ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส) 3 แห่ง
  • ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และโรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา
  • ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 1 แห่ง คือ โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา
  • ระดับวิทยาลัยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ และวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
  • ระดับมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สาธารณสุข[แก้]

โรงพยาบาลบุรีรัมย์

การสาธารณสุขในเทศบาลบุรีรัมย์ มีดังนี้

ศาสนา[แก้]

วัดกลางพระอารามหลวง

ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ตามลำดับ

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

โทรคมนาคมและการสื่อสาร[แก้]

เสาสัญญาณองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)

การประปา[แก้]

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 6,097 ครัวเรือน ผลิตน้ำประปาได้ 18,000–19,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และใช้น้ำประปาเฉลี่ย 17,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีห้วยจระเข้มากเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง

ไฟฟ้า[แก้]

ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 6,097 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด

สถานที่สำคัญ[แก้]

สระว่ายน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดบุรีรัมย์
สวนรมย์บุรี
สถานบันเทิง ย่านตะวันแดง

การขนส่ง[แก้]

เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์, รถไฟ และทางเครื่องบิน

เมืองบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ทางราง[แก้]

สถานีรถไฟบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเทศบาล

สถานีรถไฟบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางตอนเหนือของเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากบุรีรัมย์สู่พื้นที่อื่น ๆ ของตัวจังหวัด และภาคอีสาน ทั้งรถไฟด่วนและรถไฟธรรมดา อาทิเช่น รถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี, นครราชสีมา–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ จะมีรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี และกรุงเทพ–ศรีสะเกษ เปิดเดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน

ทางบก[แก้]

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทศบาล

ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติส ถนนสายสำคัญในตัวเมือง อาทิเช่น ถนนธานี, ถนนรมย์บุรี, ถนนปลัดเมือง, ถนนจิระ, ถนนสุนทรเทพ, ถนนนิวาศ

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง ให้บริการรถโดยสารในหลายเส้นทาง อาทิเช่น สายกรุงเทพ–บุรีรัมย์, กรุงเทพ–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์, กรุงเทพ–ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์–นางรอง, บุรีรัมย์–นครราชสีมา รถประจำทางในเมืองบุรีรัมย์ คือ รถสองแถว สายสีชมพู ให้บริการในสองเส้นทาง (สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง และสายบ้านบัว) ในอดีตเคยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในตัวเมือง แต่ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน

ทางอากาศ[แก้]

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ หรือ สนามบินบุรีรัมย์ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองบุรีรัมย์มากที่สุด ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมือง 34 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สายการบินที่ให้บริการคือ นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย เปิดทำการทุกวัน

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/A/1206.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2504/A/040/463.PDF พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๐๔
  4. สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
  5. ที่มา:โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  6. 6.0 6.1 6.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]