เทพ โชตินุชิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทพ โชตินุชิต
รัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
28 มิถุนายน พ.ศ. 2492 – 16 มกราคม พ.ศ. 2493
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2493 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
นายกรัฐมนตรีจอมพล แปลก พิบูลสงคราม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 มกราคม พ.ศ. 2450
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
เสียชีวิต7 เมษายน พ.ศ. 2517 (67 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี กทม.
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2491-2498)
เศรษฐกร (2498-2501)
แนวร่วม-เศรษฐกร (2511-2514)
คู่สมรสสนอง โชตินุชิต

นายเทพ โชตินุชิต เป็นอดีตนักการเมือง นักกฎหมาย และทนายความชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีที่ไม่ประจำกระทรวง และเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคเศรษฐกร (พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2501) และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร (พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514)

ประวัติ[แก้]

เทพ โชตินุชิต เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2450 ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม สำเร็จการศึกษาธรรมศาสตรบัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และเนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เมื่อ พ.ศ. 2475 ประกอบอาชีพทนายความ จ่าศาลจังหวัด ผู้พิพากษา และลาออกมาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2480 นับเป็น ส.ส. คนแรกของจังหวัดศรีสะเกษ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และได้รับการเลือกตั้งต่อมาอีก 3 สมัย[2][3]

ใน พ.ศ. 2492 เป็นรัฐมนตรีลอย[4] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อ พ.ศ. 2493[5] เคยเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2492 นับเป็นเลขาธิการพรรคคนที่ 2 ต่อจากหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

นอกจากแล้วยังเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491[6] เคยก่อตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคเศรษฐกร[7] และพรรคแนวร่วม-เศรษฐกร แต่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

เทพ โชตินุชิต ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นนักกฎหมายที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมให้แก่สังคมมาโดยตลอด เคยถูกจับและเคยช่วยเหลือหลายบุคคลมาแล้ว อาทิ ทองใบ ทองเปาด์ ซึ่งก่อนจะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม ในปี พ.ศ. 2516 ไม่นาน เทพ โชตินุชิต ได้ร่วมกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อีก 3 คน คือ พิชัย รัตตกุล ดำรง ลัทธพิพัฒน์ และชวลิต อภัยวงศ์ ลงชื่อคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของจอมพลถนอม กิตติขจร ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้มาลงชื่อทั้งหมด 100 คนด้วย

เทพ โชตินุชิต ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 67 ปี[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง (จำนวน ๗ ราย)
  6. ประกาศประธานวุฒิสภา เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมืองเศรษฐกร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
  8. ประวัติ จากชมรมวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๕๕๓๔, ๒๐ ธันวาคม ๒๔๙๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๓๐๕, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๒๔๗๔, ๓ สิงหาคม ๒๔๘๖