เทคโนโลยีเภสัชกรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทคโนโลยีเภสัชกรรม (อังกฤษ: Pharmaceutical Technology) เป็นกลุ่มวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการผลิตยาประกอบด้วยสาขาวิชาดังนี้

  1. เทคโนโลยีเภสัชกรรม
  2. ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
  3. หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา(GMP)
  4. การผลิตเภสัชภัณฑ์สำหรับสัตว์
  5. การผลิตยาจากสมุนไพร
  6. เครื่องสำอาง
  7. ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม

เทคโนโลยีเภสัชกรรม[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับ
    1. การแนะนำเภสัชตำรับ ตำราอ้างอิง และวารสารต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ รูปแบบยาเตรียมชนิดต่าง ๆ ลักษณะใบสั่งยาและภาษาที่ใช้ในใบสั่งยา การคำนวณทางเภสัชกรรม การชั่ง ตวงวัด และอาลิควอท ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ ตามเภสัชตำรับ
    2. เป็นเรื่องของ สมบัติทางเคมีกายภาพต่าง ๆ ของผงยา หน่วยการผลิตต่างๆ รูปแบบยาเตรียมต่าง ๆ ที่เป็นของแข็ง โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดของยาเตรียมของแข็งแต่ละรูปแบบเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ ตัวอย่างยาเตรียมตามเภสัชตำรับ และผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
    3. เป็นวิชาที่ศึกษาถึงสมบัติทางเคมีกายภาพต่าง ๆ ของสารละลาย เทคนิคการทำให้น้ำยาใส เทคนิคการสกัดและผลิตภัณฑ์ยาสกัดและรูปแบบยาเตรียมน้ำใสต่าง ๆ โดยเน้นการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับและการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือการบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพ และตัวอย่างยาเตรียมน้ำใสตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
    4. รูปแบบยาน้ำกระจายตัว และยากึ่งแข็ง โดยเน้นการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบยาเตรียม สมบัติทางเคมีกายภาพ ส่วนประกอบของตำรับ วิธีตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์การเก็บรกัษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์และตัวอย่างยาน้ำแขวนตะกอนและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับ และจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
    5. ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อ และประเภทรูปแบบยาเตรียมไร้เชื้อต่าง ๆ โดยเน้นศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับ คุณลักษณะของรูปแบบยาเตรียม ส่วนประกอบของตำรับ วิธีการตั้งตำรับ และการพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การพัฒนาตำรับ วิธีเตรียมและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุและบรรจุภัณฑ์ การเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และตัวอย่างของยาเตรียมตามเภสัชตำรับ รวมทั้งการผสมตัวยาอื่นกับการให้ยาทางหลอดเลือดดำ และการให้สารอาหารทางหลอดเลือด การควบคุมและการประเมินความถูกต้องของกระบวนการผลิตยาไร้เชื้อ
    6. ศึกษาถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ การตั้งสูตร ตลอดจนการประเมินและการควบคุมคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย ยากัมมันตรังสี และยาเตรียมรูปแบบใหม่ ๆ
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถ
    1. ใช้ตำราอ้างอิง และวารสารต่าง ๆ ทางเภสัชศาสตร์ได้
    2. อธิบายรูปแบบยาเตรียมชนิดต่าง ๆ ได้
    3. รู้จักลักษณะของใบสั่งยา และแปลความหมายของภาษาที่ใช้ในใบสั่งยาได้
    4. คำนวณทางเภสัชกรรม และบอกวิธีการปฏิบัติในการชั่ง ตวง วัด และอาลิควอทได้
    5. อธิบายความรู้เรื่องต่าง ๆ ตามเภสัชตำรับได้
    6. อธิบายสมบัติทางเคมีกายภาพต่างๆ ของผงยา และปัจจัยต่างที่เกี่ยวข้อง
    7. เข้าใจหน่วยการผลิตต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตยาและเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับความต้องการในการผลิต
    8. อธิบายลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาที่อยู่ในรูปแบบยาเตรียมของแข็งชนิดต่าง ๆ และการเลือกใช้สารช่วยต่าง ๆ
    9. อธิบายวิธีเตรียมยารูปแบบของแข็งชนิดต่าง ๆ และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิต
    10. อธิบายวิธีควบคุมคุณภาพและประเมินผลยาเตรียมรูปแบบของแข็งชนิดต่าง
    11. เลือกใช้วิธีบรรจุและชนิดของบรรจุภัณฑ์ให้เมาะสมกับรูปแบบของแข็งชนิดต่าง ๆ
    12. รู้จักตัวอย่างของยาเตรียมรูปแบบของแข็งที่มีขายในท้องตลาด
    13. อธิบายลักษณะและส่วนรปะกอบของยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
    14. ตั้งตำรับ พัฒนาตำรับ เตรียมยาตลอดจนสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการเตรียมอธิบายการบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับยาน้ำกระจายตัวและยากึ่งแข็งได้
    15. บอกวิธีเก็บรักษา การควบคุมคุณภาพของยานำกระจายตัวและยากึ่งแข็งตามเภสัชตำรับและจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้
    16. ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการเตรียมยาไร้เชื้อต่าง ๆ ได้ และสามารถนำไปประยุกต์ในการผลิตและควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไร้เชื้อประเภทต่าง ๆ ได้
    17. คุณลักษณะและส่วนประกอบของตำรับยาเตรียมไร้เชื้อแต่ละชนิดได้ การตั้งตำรับการพัฒนาตำรับ การเตรียมและการใช้เครื่องมือในการเตรียม การบรรจุและการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมได้
    18. เข้าใจถึงหลักการ สมบัติทางเคมีกายภาพ และสามารถประยุกต์ความรู้ความเข้าใจในการตั้งสูตร และประเมินคุณภาพของยาเตรียมละอองลอย
    19. คุ้นเคยกับยากัมมันตรังสี และรู้จักยาเตรียมใหม่ ๆ

ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการแนะนำการวิจัย หลักการและวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการของการวิจัย ตลอดจนขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ให้สามารถนำไปประยุกต์ในการวิจัยต่อไปได้ (ในการเขียนโครงร่างปัญหาพิเศษได้)

หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา แนวปฏิบัติในระบบการผลิต ได้แก่ บุคลากร สถานที่ผลิต การสุขาภิบาล อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ วัตถุดิบ การบรรจุ ทั้งทางด้านการผลิต ควบคุมคุณภาพ การประเมินความถูกต้องของการผลิตและเอกสารการผลิต เพื่อให้ได้ยาที่มีคุณภาพมาตรฐานและและปลอดภัย รวมทั้งการประกันคุณภาพในด้านอื่น ๆ
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถอธิบายและประยุกต์หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา เพื่อให้ได้ยาที่มาตรฐานมีคุณภาพ และผลิดภัย

การผลิตเภสัชภัณฑ์สำหรับสัตว์[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาสัตว์ โรคสัตว์ รวมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติการในการตั้งสูตร เทคนิคการผลิตและเครื่องมือที่ใช้ การบรรจุ การควบคุมคุณภาพ การประเมินผลยาเตรียมประเภทต่าง ๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้เรียนรู้ถึงทฤษฎีและการปฏิบัติในการผลิตยาเตรียมประเภทต่าง ๆ และอาหารเสริมสำหรับสัตว์ในขั้นอุตสาหกรรม

การผลิตยาจากสมุนไพร[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการตั้งและพัฒนาตำรับยาที่มีตีวยาสำคัญ หรือส่วนประกอบจากพืชสมุนไพร
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้สามารถฝึกฝนและพัฒนาการเตรียมตำรับจากพืชสมุนไพรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ

เครื่องสำอาง[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา หลักพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่างๆ สมบัติทางเคมี กายภาพและทางชีวภาพของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การทดสอบประสิทธิภาพการใช้และความคงตัวของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาหลักสูตรและวิธีการผลิต เทคนิคการแต่งสี แต่งกลิ่น การใช้สารลดแรงตึงผิว การใช้สารกันบูด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย ตลอดจนศึกษาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการใช้เครื่องสำอางประเภทต่าง ๆ
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบถึงทฤษฎีและเทคนิคพื้นฐานในการผลิตเครื่องสำอางประเภทต่าง ๆ เพื่อการนำมาใช้เป็นหลักในการผลิตขั้นอุตสาหกรรม

ปัญหาพิเศษทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม[แก้]

  1. ลักษณะกระบวนวิชา เป็นการศึกษาปัญหาพิเศษทางเทคโนโยเภสัชกรรมที่น่าสนใจ โดยการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของคณาจารย์ เขียนรายงานส่งพร้อมทั้งเสนอรายงานต่อคณาจารย์
  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อฝึกให้สามารถนำความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีเภสัชกรรมมาประยุกต์ในการค้นคว้า วิจัยแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง