เจ้าหญิงเหวินเฉิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงภฤกุฏี (ซ้าย), พระเจ้าซงแจ็นกัมโป (กลาง) และเจ้าหญิงเหวินเฉิง (ขวา)

เจ้าหญิงเหวินเฉิง (ทิเบต: མུན་ཆང་ཀུང་ཅོ་, ไวลี: mun chang kung co, พินอินทิเบต: mun chang kung co, จีน: 文成公主; พินอิน: Wénchéng Gōngzhǔ; ประสูติ: ไม่ทราบ — สิ้นพระชนม์: ค.ศ. 680[1]) พระราชนัดดาในจักรพรรดิถังไท่จงของจีน ที่ซึ่งอภิเษกสมรสกับพระเจ้าซงแจ็นกัมโป พระมหากษัตริย์ทิเบต ถือเป็นการอภิเษกสมรสเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างจีนกับทิเบต พระนางมีพระสมัญญานามอันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวทิเบตว่า กยาโมซา (ทิเบต: རྒྱ་མོ་བཟའ་, ไวลี: rGya Mo bZa, พินอินทิเบต: gyamosa; จีน: 汉女氏) แปลว่า "พระชายาชาวจีน"[2]

พระราชประวัติ[แก้]

ตามบันทึกของจีนในปี ค.ศ. 634 ได้กล่าวถึงราชทูตของพระเจ้าซงแจ็นกัมโป ว่าทรงทูลขอพระราชทาน (ทิเบตว่า ทรงเรียกร้อง)[3][4] ที่จะสมรสกับเจ้าหญิงจีนแต่กลับถูกปฏิเสธ ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 635-636 กองทัพของพระเจ้าซงแจ็นกัมโปได้บุกโจมตีชนเผ่าอาซา (Tüyühün; ผู้สืบเชื้อสายในปัจจุบันคือชาวมองโกลขาว) ที่ตั้งถิ่นฐานบริเวณทะเลสาบโกโกนูร์ (ปัจจุบันคือ ทะเลสาบชิงไห่) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของจีนในอดีต

ในห้วงปีเดียวกันนั้นได้มีการรณรงค์กระด้างกระเดื่องต่อจีน (ซึ่งจีนได้รับชัยชนะ) และเพื่อสัมพันธภาพทางการทูตจักรพรรดิจีนจึงตกลง (ประวัติศาสตร์ทิเบตกล่าวว่า บังคับขู่เข็ญ)[3] ให้มีการอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเหวินเฉิงกับกษัตริย์ทิเบตในปี ค.ศ. 640 และได้กลายเป็นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทิเบตกับจีนตลอดรัชสมัยที่เหลือของกษัตริย์ซงแจ็นกัมโป

เจ้าหญิงเหวินเฉิงทรงนับถือพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับเจ้าหญิงภฤกุฏี พระราชชายาชาวเนปาลของพระเจ้าซงแจ็นกัมโป พระนางกล่าวว่าจะนำพระพุทธศาสนาเข้ามาให้เป็นที่รู้จักในทิเบต[5]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. Zizhi Tongjian, vol. 202. (จีน)
  2. Dowman 1988, p. 41
  3. 3.0 3.1 Powers 2004, pp. 168-9
  4. "Acme of Obscenity". สืบค้นเมื่อ 2010-03-28.
  5. Laird 2006, pg. 35

อ้างอิง[แก้]

  • Jiawei Wang, Nimajianzan (1997), The historical status of China's Tibet
  • Beckwith, Christopher I (1987). The Tibetan Empire in Central Asia. Princeton: Princeton University Press.
  • Dowman, Keith. The Power-places of Central Tibet: The Pilgrim's Guide (1988) Routledge & Kegan Paul, London and New York. ISBN 0-7102-1370-0
  • Laird, Thomas. The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama (2006) Grove Press, New York. ISBN 978-0-8021-1827-1
  • Powers, John. History as Propaganda: Tibetan Exiles versus the People's Republic of China (2004) Oxford University Press. ISBN 978-0-19-517426-7
  • Richardson, Hugh E. (1965). "How Old was Srong Brtsan Sgampo" Bulletin of Tibetology 2.1. pp 5–8.
  • Richardson, Hugh E. (1997). "Mun Sheng Kong Co and Kim Sheng Kong Co: Two Chinese Princesses in Tibet." The Tibet Journal. Vol. XXII, No. 1. Spring 1997, pp. 3–11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]