เจ้ามโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้ามโนราชา
เจ้าฟ้าเมืองน่าน
เจ้าผู้ครองนครน่าน
องค์ที่ 54 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
ราชาภิเษก10 กันยายน พ.ศ. 2312[1]
ครองราชย์10 กันยายน พ.ศ. 2312 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2317
รัชกาล4 ปี 196 วัน
ก่อนหน้าเจ้านายอ้าย
ถัดไปเจ้าวิธูร
พิราลัย4 กรกฎาคม พ.ศ. 2327[2]
ณ เมืองเทิง
พระชายาแม่เจ้าเมืองเถินเทวี[3]
พระราชบุตร2 พระองค์
พระนามเต็ม
เจ้าหลวงมโนราชา เจ้าเมืองน่าน
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
พระบิดาเจ้าไชยราชา
พระมารดาแม่เจ้านางเทพ[4]

เจ้าหลวงมโนราชา หรือ เจ้าหนานมโน[5]ทรงเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54 และองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ทรงครองเมืองน่าน ระหว่างปี พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2317

พระประวัติ[แก้]

เจ้ามโน เป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ในเจ้าไชยราชา และเจ้านางเทพ ราชธิดาในพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ มีพระเชษฐา และพระขนิษฐา ร่วมเจ้ามารดา 7 พระองค์

  1. เจ้านายอ้าย ภายหลังเป็น พระเจ้านายอ้าย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 53
  2. เจ้าสุทธะ: พระบิดาในเจ้าฟ้าหลวงอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 57
  3. เจ้ามโน ภายหลังเป็น พระเจ้ามโนราชา เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54
  4. เจ้านางพิมพา
  5. เจ้านางโนชา
  6. เจ้านางเลิศ: พระมารดาใน พระเจ้ามหาวงศ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 61)
  7. เจ้านางศรีแก้ว

ราชโอรส ราชธิดา[แก้]

เจ้าหลวงมโน มีพระชายา 1 องค์ มีนามว่า แม่เจ้าเมืองเถินเทวี ประสูติแต่ราชโอรส ราชธิดา 2 พระองค์

  1. เจ้าสุริยะกลางเวียง
  2. เจ้านางคำปิว[6]

กรณียกิจ[แก้]

  • เจ้าหลวงมโน ท่านได้เป็นเจ้าเมืองน่านได้ 6 ปี จนถึง พ.ศ. 2317 ได้ส่ง เจ้าวิธูร ผู้เป็นพระนัดดา(หลาน) ให้ไปช่วย พระยาจ่าบ้านเชียงใหม่ พระยาลำพูน และพระยานครลำปาง ก็พากันฟื้นฟันม่านอันอยู่เวียงเชียงใหม่ ก็ใช้ไปขอเอากำลังเมืองอโยธยาขึ้นมารบม่านโปมวยหวานแลจะกายอันอยู่ยังเมืองเชียงใหม่นั้นแล ม่านก็หนีไปในกาลยามนั้นเจ้าวิธูรคือเจ้านาขวาลูกเจ้าอริยวงษ์ก็ได้ไปเอาราชการม่านในเมืองเชียงใหม่ ชาวใต้ก็ได้เจ้าน้อยวิธูรในเมืองเชียงใหม่ที่นั้นแล้ว ก็เอาลงไปเมืองนคร แล้วชาวใต้ก็ตั้งเจ้าน้อยวิธูรนั้นให้เป็ร เจ้าเสวยเมืองน่าน ใน พ.ศ. 2317[7]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

ก่อนหน้า เจ้ามโน ถัดไป
พระเจ้านายอ้าย เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 54
และองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

(พ.ศ. 2312 - พ.ศ. 2317)
พระเจ้าวิธูรราชา