สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10
เคานต์แห่งมงเปอซา
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
กรีนแลนด์ และหมู่เกาะแฟโร
ครองราชย์14 มกราคม ค.ศ. 2024 – ปัจจุบัน (0 ปี 96 วัน)
ก่อนหน้ามาร์เกรเธอที่ 2
รัชทายาทเจ้าชายคริสเตียน มกุฎราชกุมาร
นายกรัฐมนตรี
พระราชสมภพ26 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (55 ปี)
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
คู่อภิเษกสมเด็จพระราชินีแมรีแห่งเดนมาร์ก
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
เฟรเดอริก อันเดร เฮนริก คริสเตียน
ราชวงศ์
พระราชบิดาเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2

สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก[1] (เดนมาร์ก: Frederik André Henrik Christian ; 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2511) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก พระองค์ปัจจุบัน ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และ เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี มีพระอนุชา 1 พระองค์ คือ เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก

พระองค์ทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก หลังการสละราชสมบัติของสมเด็จพระบรมราชชนนีเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2567 โดยคติพจน์ประจำรัชกาลของพระองค์คือ

พระราชประวัติ[แก้]

พระองค์และพระราชมารดาสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

พระราชบิดามารดาอุปถัมภ์ของพระองค์ได้แก่ เจ้าชายจอร์จ วัลเดมาร์แห่งเดนมาร์ก บารอนแม็กซิมิลเลียนแห่งวัทเทอร์วิลล์-เบร็คเฮล์ม, เคานต์อีเทนเนแห่งลาบอร์ด เดอ มงเปอซา, สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ, แกรนด์ดัชเชสโจเซฟีน-ชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก และนางบริจิตตา จูเอล เฮลลิงโซ ในวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก[2] โดยพระราชมารดาคือสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธที่ 2 แห่งเดนมาร์ก

พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนระดับประถมศึกษาที่เครปสโครวระหว่างปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2524 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2519 ทรงเป็นนักเรียนประจำพระราชวังอามาเลียนเบิร์กและช่วงชั้นที่ 3 ที่เครปสโครว ในระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2526 มกุฎราชกุมารทรงเป็นนักเรียนประจำที่ École des Roches ในนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2529 ทรงเข้าศึกษาโรงเรียนมัธยมปลายโอเรการ์ด จิมเนเซียม

พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดตั้งแต่ พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2536 โดยทรงใช้พระนามว่า เฟรเดอริก เฮนริกเซน ทรงศึกษาด้านรัฐศาสตร์ จากนั้นในปี พ.ศ. 2537 ทรงเป็นผู้แทนของเดนมาร์กปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก ต่อมาทรงเข้าศึกษาระดับมหาบัณฑิตด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออร์ฮูส โดยทรงทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของรัฐบอลติกซึ่งพระองค์เคยเสด็จเยือนหลายครั้งในระหว่างทรงศึกษา[3][4] หลังสำเร็จการศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 มกุฎราชกุมารทรงได้ตำแหน่งเลขาธิการประจำสถานเอกอัครราชทูตเดนมาร์กที่กรุงปารีสตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงตุลาคม พ.ศ. 2542

พระองค์ทรงสำเร็จการฝึกหลักสูตรของหน่วยมนุษย์กบแห่งเดนมาร์ก (เทียบเท่ากับหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หรือซีล) ซึ่งมีระยะเวลาการฝึกประมาณ 9 เดือน และทรงเข้าประจำการเป็นทหารเรือในหน่วยดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ. 2537 ในระหว่างการฝึก ทรงได้รับฉายามนุษย์กบว่า "พินโก"

ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2545 พระองค์ได้รับการฝึกเป็นผู้นำ ณ สถาบันป้องกันประเทศแห่งเดนมาร์ก และในปีต่อมาทรงเป็นหนึ่งในคณะทหารของการบัญชาการการป้องกันราชอาณาจักรเดนมาร์ก นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์ปาฐกถาระดับอาวุโสขององค์การแผนยุทธศาสตร์ในสถาบันดังกล่าวอีกด้วย

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 พระองค์เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมาร ได้ตามเสด็จพระชนนีและพระชนกเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[5]

ชีวิตส่วนพระองค์[แก้]

ในรัฐสภาเดนมาร์ก วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2546 สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกเธทรงมีพระบรมราชานุญาตการอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารเฟรเดริคกับ นางสาวแมรี เอลิซาเบธ โดนัลด์สัน นักปรึกษาการตลาดชาวออสเตรเลีย ที่มกุฎราชกุมารทรงพบกับเธอครั้งแรกในงานโอลิมปิกฤดูร้อน 2000 ที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย การอภิเษกสมรสจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ณ มหาวิหารโคเปนเฮเกน โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก[6]

ในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2548 สำนักพระราชวังเดนมาร์กได้ประกาศว่า มกุฎราชกุมารีแมรีทรงพระครรภ์ และทั้งสองพระองค์มีพระบุตรองค์แรกในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2548 โดยเป็นเป็นพระโอรส ตามธรรมเนียมของเดนมาร์กกษัตริย์ได้ประทานพระนามว่า เฟรเดริค หรือคริสเตียน พระโอรสได้รับการเป็นเจ้าฟ้าชายคริสเตียน วัลเดมาร์ อองรี จอห์น เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2549

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549 สำนักพระราชวังได้ประกาศอีกว่ามกุฎราชกุมารีทรงพระครรภ์และเป็นพระบุตรองค์ที่สอง ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550 ทรงให้กำเนิดพระธิดาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ซึ่งเป็นเจ้าหญิงพระองค์แรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2489 พระธิดาทรงได้พระนามว่า เจ้าหญิงอิซาเบลลา เฮนเรียตตา อิงกริด มาร์เกรเธ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

รัชกาล[แก้]

มกุฎราชกุมารเฟรเดอริก เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก ภายหลังการสละราชสมบัติของสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2567[7] ทั้งนี้ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เป็นผู้ประกาศการสืบราชสมบัติที่สีหบัญชรพระราชวังคริสเตียนบอร์ก หลังจากนั้น พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสและคติพจน์ประจำรัชกาลว่า

โดยนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 ที่คติพจน์ดังกล่าวไม่มีคำว่า "พระเจ้า"[8]

ในวันที่ 31 มกราคม ปีเดียวกัน สมเด็จพระราชาธิบดีได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนโปแลนด์ นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งแรกในรัชสมัยของพระองค์[9] หลังจากนั้นพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีแมรีเยือนสวีเดน, นอร์เวย์ รวมถึงอาณานิคมของเดนมาร์ก อันได้แก่ หมู่เกาะแฟโร และกรีนแลนด์[10][11][12]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1

พระราชอิสริยยศ[แก้]

  • 26 พฤษภาคม 1968 – 14 มกราคม 1972: เจ้าชายเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก
  • 14 มกราคม 1972 – 29 เมษายน 2008: เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก
  • 29 เมษายน 2008 – 14 มกราคม 2024: เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก, เคานต์แห่งมงเปอซา
  • 14 มกราคม 2024 – ปัจจุบัน: สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเดนมาร์ก, เคานต์แห่งมงเปอซา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดนมาร์ก[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภราณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ในหลวง มีพระราชสาส์น ‘สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริก ที่ 10’ แห่งเดนมาร์ก ในโอกาสที่เสด็จขึ้นครองราชย์
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระราชวงศ์เดนมาร์ก เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒ ข. 8 กุมภาพันธ์ 2544.
  3. "Au Gustus Aarhus Universitet" (PDF) (ภาษาเดนมาร์ก). 3 September 2008. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  4. "Crown Prince Frederik". Royal Danish Ministry of Foreign Affairs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2011.
  5. Division, กำหนดการเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการของ สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก และเจ้าชายเฮนริก พระราชสวามี พร้อมด้วยเจ้าชายเฟรเดริกมกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ในฐานะพระราชอาคันตุกะ ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ระหว่างวันที่ 7- 12 กุมภาพันธ์ 2544. ryt9.com https://www.ryt9.com/s/ryt9/251480. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  6. "The Crown Prince Couple". Danish Royal Family. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 11 July 2012.
  7. Einarsdóttir, Silja Björklund (31 December 2023). "Dronning Margrethe av Danmark går av" [Queen Margrethe of Denmark abdicates]. NRK.
  8. "Her er kong Frederiks valgsprog - TV 2". nyheder.tv2.dk (ภาษาเดนมาร์ก). 2024-01-14. สืบค้นเมื่อ 2024-01-14.
  9. "Denmark's King Frederik X visits Poland in his first trip abroad as monarch". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). 31 January 2024. สืบค้นเมื่อ 14 January 2024.
  10. "Statsbesök från Danmark".
  11. "Kongeparret besøger Sverige, Norge, Færøerne og Grønland".
  12. "Danmarks kongepar på statsbesøk til Norge 14.–15. Mai".
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ ๒ แห่งเดนมาร์ก เจ้าชายเฮนริก แห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี และเจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 118, ตอน 2 ข, 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544, หน้า 1

บรรณานุกรม[แก้]

  • Andersen, Jens: Under bjælken: Et portræt af Kronprins Frederik. København: Gyldendal, 2017. ISBN 978-87-02-21436-9.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]


ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
(14 มกราคม 2567 – ปัจจุบัน)

เจ้าชายคริสเตียน มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก
(ลำดับที่ 1)