เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
พระยุพราชแห่งญี่ปุ่น
เจ้าชายฟูมิฮิโตะขณะเยือนบราซิลในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ประสูติ30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (58 ปี)
โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง พระราชวังหลวงโตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
คู่อภิเษกคิโกะ คาวาชิมะ (พ.ศ. 2533–ปัจจุบัน)
พระราชบุตรมาโกะ โคมูโระ
เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ
เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
พระราชมารดาสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ
ศาสนาชินโต

เจ้าชายฟุมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ พระยุพราชแห่งญี่ปุ่น(ญี่ปุ่น: 秋篠宮文仁親王โรมาจิAkishino-no-Miya Fumihito Shinnō) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิหลวงอากิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ และทรงเป็นพระอนุชาในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ นอกจากนี้ยังเป็นรัชทายาทลำดับที่ 1 ในการสืบราชสันติวงศ์ญี่ปุ่น ทรงดำรงฐานันดรเป็นพระยุพราช (皇嗣)[1]

หลังการอภิเษกสมรสเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 พระองค์ได้รับพระราชทานพระอิสริยยศเป็น อากิชิโนะโนะมิยะ เอกสารไทยเรียก เจ้าชายอากิชิโนะ[2][3] (ญี่ปุ่น: 秋篠宮, อังกฤษ: Prince Akishino) เป็นผู้นำราชสกุลมหาสาขาของราชวงศ์ญี่ปุ่น[4]

พระราชประวัติ[แก้]

พระยุพราชฟูมิฮิโตะทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในสมเด็จพระจักรพรรดิหลวงอากิฮิโตะกับสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ มีพระอิสริยยศเดิมว่า อายะโนะมิยะ (礼宮 Aya-no-miya)

พระยุพราชฟูมิฮิโตะอภิเษกสมรสกับคิโกะ คาวาชิมะ ธิดาของทัตสึฮิโกะ คาวาชิมะ กับคาซูโกะ (สกุลเดิม ซูงิโมโตะ) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 มีพระโอรส-ธิดา 3 พระองค์

  1. เจ้าหญิงมาโกะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 眞子内親王โรมาจิMako Naishinnō; 23 ตุลาคม พ.ศ. 2534) ลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเสกสมรสกับเค โคมูโระ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564
  2. เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 佳子内親王โรมาจิKako Naishinnō; 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537)
  3. เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 悠仁親王โรมาจิHisahito Shinnō; 6 กันยายน พ.ศ. 2549)

พระยุพราชฟูมิฮิโตะทรงได้รับปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม[5] จากการที่ทรงสนพระทัยและศึกษาด้านปลาน้ำจืด, ปศุสัตว์ และโดยเฉพาะไก่ ด้วยพระวิริยะอุตสาหะตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ อันเป็นที่ประจักษ์แก่นักวิชาการเป็นอย่างดี ทรงมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งจัดพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก เช่น พระนิพนธ์ เรื่อง สมุดภาพไก่ในยุโรป ไก่กับคน : จากมุมมองชีวชาติพันธุ์วิทยา ซึ่งเป็นบทความทางวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับไก่ เป็นต้น[6]

พระอิสริยยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
ตราประจำพระอิสริยยศ
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลชินโน (親王)
การแทนตนโบะกุ (บุรุษ) / วะตะชิ (สตรี)
การขานรับเด็งกะ (殿下)
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 : เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อายะโนะมิยะ
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2533 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 : เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
  • 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน  : เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ พระยุพราช

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ปริญญากิตติมศักดิ์[แก้]

ราชตระกูล[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Imperial Household Agency (Kunaicho): Their Imperial Highnesses Prince and Princess Akishino; personal histories เก็บถาวร 2019-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "การเยี่ยมเยือนของบุคคลสำคัญ และเหตุการณ์สำคัญรัชสมัยเฮเซและโชวะ". สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-15. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "สมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชวงศ์ญี่ปุ่นแสดงความเสียพระทัยกรณีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ". สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว. 14 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Kunaicho: personal histories เก็บถาวร 2019-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. เจ้าชายอากิชิโน’ ทรงรับการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ม.มหาสารคาม
  6. มธ.ทูลเกล้าฯถวาย ดุษฎีบัณฑิต แด่เจ้าชายอากิชิโน แห่งประเทศญี่ปุ่น จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ ถัดไป

ลำดับการสืบราชบัลลังก์ญี่ปุ่น
(ลำดับที่ 1)

เจ้าชายฮิซาฮิโตะ
อดีตสมเด็จพระจักรพรรดิ
ลำดับโปเจียมแห่งญี่ปุ่น
อากิชิโนะโนะมิยะ
(ฝ่ายหน้า ลำดับที่ 3)

เจ้าชายฮิซาฮิโตะ