ข้ามไปเนื้อหา

เจริญ วรรธนะสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจริญ วรรธนะสิน
เจริญ วรรธนะสิน ใน พ.ศ. 2505
ข้อมูลส่วนตัว
ประเทศไทย
เกิด4 เมษายน พ.ศ. 2480 (87 ปี)
จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม
รายการเหรียญรางวัล
แบดมินตันชาย
ตัวแทนของ  ไทย
โธมัส คัพ
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 1961 จาร์กาตา ทีมชาย
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 1966 กรุงเทพ ทีมชาย
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 1962 จาร์กาตา ทีมชาย
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 1966 กรุงเทพ ชายคู่
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 1959 กรุงเทพ ชายคู่
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ 1959 กรุงเทพ ชายเดี่ยว

ศาสตราจารย์พิเศษ เจริญ วรรธนะสิน อดีตนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย และอดีตนักกีฬาแบดมินตันระดับโลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ

[แก้]

เจริญ วรรธนะสิน เกิดวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2480จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศสยาม[1] เขาเริ่มเล่นแบดมินตันเมื่ออายุ 15 ปี[1] เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย และได้รับทุนพระราชทานพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยได้เข้าศึกษาและสำเร็จวิชาการบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยซิตีออฟลิเวอร์พูล (The City of Liverpool College) ประเทศอังกฤษ

เจริญ วรรธนะสิน ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ สาขาการตลาด[2] คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2530[3] และได้รับเลือกเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสาขาสังคมศาสตร์ จากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2553 เพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ[4]

เขานับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์เช่นเดียวกับภรรยาของเขา

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางจิตรา วรรธนะสิน มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ จิตติมา วรรธนะสิน (แจน), จิรายุส วรรธนะสิน (โจ) และเจตริน วรรธนะสิน (เจ) [1]

เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริต

[แก้]

ในปี พ.ศ. 2543 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เข้าสู่หอเกียรติยศแบดมินตันโลก อย่างไรก็ตาม มีเรื่องอื้อฉาวและการทุจริตเมื่อเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2556 ในปี พ.ศ. 2553 ผู้เล่นและโค้ช 16 คนลาออกจากสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยเนื่องจากไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากสมาคม ขณะที่เจริญอ้างว่า ที่เขาให้การสนับสนุนไปแล้ว[5][6]

การทำงาน

[แก้]
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัทซี.เอส.เอ มาร์เก็ตติ้งอินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลติ้ง จำกัด[1]
  • กรรมการตรวจสอบและกรรมการอิสระ บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
  • รองประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ
  • นายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ [7] 5 สมัย และทำงานในแวดวงแบดมินตัน 40 ปี
  • เคยรับราชการเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา เป็นนักวิชาการ และนักแบดมินตันทีมชาติ[1]
  • รองประธานกรรมการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รายการที่ชนะ

[แก้]
  • ชนะเลิศ ประเภทมือใหม่แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2498
  • ชนะเลิศ โซนเอเซีย การแข่งขันโธมัสคัพ ประเทศไทย พ.ศ. 2500 - 2501
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวถ้วยทองคำนานาชาติแห่งเซลังงอร์ พ.ศ. 2501
  • เหรียญทอง ประเภทชายคู่ กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2502
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวเวิร์ลอินวิเตชั่น พ.ศ. 2502
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวและชายคู่แห่งวิมเบิลดัน พ.ศ. 2502
  • ชนะเลิศ ประเภทชายคู่แห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2503
  • รองชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวแห่งออลอิงแลนด์ พ.ศ. 2503
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยววิมเบิลดัน พ.ศ. 2503 [1]
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวและชายคู่แห่งอัลสเตอร์ พ.ศ. 2504
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวแห่งประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2505
  • ชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวเวิร์ลด์อินวิเตชั่น พ.ศ. 2505
  • รองชนะเลิศ ประเภทชายเดี่ยวแห่งออลอิงแลนด์ พ.ศ. 2505
  • เหรียญเงิน ประเภททีมชาย กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 4 ที่ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2505
  • เหรียญทอง ประเภททีมชาย และเหรียญทองแดง ประเภทชายคู่ กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ พ.ศ. 2509 [1]

เกียรติประวัติ และ คดีความ

[แก้]
  • รองประธานสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ไอบีเอฟ กิตติมศักดิ์ตลอดชีพ (Honorary Life Vice-President)
  • ได้รับเลือกเป็น ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง พ.ศ. 2539
  • ได้รับยกย่องเป็น บุคคลที่มีผลงานดีเด่นทั้งด้านวิชาการ และด้านกีฬาระหว่างชาติ พ.ศ. 2548 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ศาสตราจารย์(พิเศษ)แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[8]

งานเขียน

[แก้]
  • เขียนหนังสือแปลและตีความงานของ “นอสตราดามุส”
  • เขียนบทและบรรยายภาพยนตร์ “สามก๊ก ฉบับนักบริหาร”
  • เขียนหนังสือ “ฤๅจะถึงกาลสิ้นยุค”
  • เขียนหนังสือ “Badminton-A Simple Way” เป็นภาษาอังกฤษ ได้รับการแปลเป็นภาษาสเปน อิตาเลียน รัสเซีย ฯลฯ
  • เขียนหนังสือ “มีลูกเก่ง มีลูกดัง”
  • แปลนิยาย “The Firm” หรือ “องค์การซ่อนเงื่อน” ของจอห์น กริแซม

รางวัลที่ได้รับ

[แก้]
  • พ.ศ. 2557 - รางวัลฮอลล์ออฟเฟม (แบดมินตัน) สยามกีฬาอวอร์ดส์ ครั้งที่ 8 [9][10][11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 มติชนสุดสัปดาห์. ปีที่ 33 ฉบับที่ 1716. วันที่ 5-11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556. ISSN 1686-8196. หน้า 96
  2. ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์พิเศษ สาขาการตลาด
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งศาสตราจารย์, เล่ม 104, ตอนที่ 57, วันที่ 26 มีนาคม 2530, หน้า 8
  4. บัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการ และจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักส่งเสริมและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรใน
  5. เหลือบและกาฝาก ที่สูบเลือดนักกีฬาไทย ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2553
  6. “เจริญ” ยอมอ่อน “สุดเขต” แฉซ้ำ ผู้จัดการออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2553
  7. "ข้อมูลเกี่ยวกับสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-03-27. สืบค้นเมื่อ 2014-06-25.
  8. ศาสตราจารย์(พิเศษ)แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  9. สยามกีฬาอวอร์ดส์จัดยิ่งใหญ่ มิ้ว,เมย์ ซิวนักกีฬาสมัครเล่น : SMMOnline.net[ลิงก์เสีย]
  10. "จิระพงศ์-รัชนกซิวนักกีฬายอดเยี่ยมสยามกีฬาฯ - Sport - Manager Online". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  11. "'จิระพงศ์-รัชนก' ซิวนักกีฬาสมัครเล่นยอดเยี่ยม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-03-06.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๙

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]