เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ
ผู้พัฒนาวาล์ว คอร์ปอเรชั่น
ฮิตเดน แพทซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
ผู้จัดจำหน่ายวาล์ว คอร์ปอเรชั่น
แต่งเพลงไมค์ โมอราสกี
ชุดเคาน์เตอร์-สไตรก์
เอนจินซอร์ส
เครื่องเล่นวินโดวส์
โอเอสเทน
เพลย์สเตชัน 3
เอกซ์บอกซ์ 360
ลินุกซ์
วางจำหน่าย21 สิงหาคม 2555
แนวเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง
รูปแบบผู้เล่นหลายคน

เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ (อังกฤษ: Counter-Strike: Global Offensive, ย่อเป็น CS:GO) เป็นวิดีโอเกมออนไลน์ประเภทยิงทางยุทธวิธีมุมมองบุคคลที่หนึ่ง พัฒนาโดย วาล์ว คอร์ปอเรชั่นและฮิตเดน แพทซ์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นเกมชุดที่ 4 จากแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ ตัวเกมส์ได้รับการพัฒนามากกว่าสองปี โกลบัลออฟเฟนซิฟปล่อยออกมาในระบบปฏิบัติการวินโดวส์, แมคโอเอส, เอกซ์บอกซ์ 360 และเพลย์สเตชัน 3 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 และปล่อยในระบบปฏิบัติการลินุกซ์ใน พ.ศ. 2557 วาล์วได้พัฒนาเกมอย่างต่อเนื่องทั้งอัปเดตแพตช์ขนาดเล็กเพื่อปรับสมดุลหรือเพิ่มเนื้อหาขนาดใหญ่เพิ่มเติม

ตัวเกมจะแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองทีมคือ หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย และ กลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยจะมีโหมดเกมส์และภารกิจที่แตกต่างกันออกไป โหมดที่ได้ความนิยมสูงสุดมีอยู่ 2 ภารกิจคือ ภารกิจวางระเบิดที่ผู้ก่อการร้ายจะต้องไปวางระเบิดในจุดที่กำหนดส่วนหน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายจะต้องหยุดยั้งกลุ่มผู้ก่อการร้ายไว้ให้ได้ กับภารกิจช่วยเหลือตัวประกันที่หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้ายจะต่องบุกเข้าไปในฐานของกลุ่มผู้ก่อการร้ายเพื่อช่วยเหลือตัวประกันออกมา ในเกมเคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีทั้งหมด 8 โหมดให้เลือกเล่นซึ่งก็มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป โหมดล่าสุดของเกมคือ "โซนอันตราย" ซึ่งเป็นโหมดแบตเทิลรอยัล เปิดตัวในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561

เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟได้รับคำวิจารย์ในเชิงบวกเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงฟีเจอร์ในช่วงแรก ๆ และความต่างระหว่างเวอร์ชันคอนโซลและเวอร์ชันพีซี นับตั้งแต่เปิดตัว มีผู้เล่นเล่นเกมนี้กว่า 11 ล้านคนต่อเดือนและเป็นหนึ่งในเกมที่มีผู้เล่นมากที่สุดบนแพลตฟอร์มสตรีม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 วาล์วได้เปิดให้เล่นเป็นเกมฟรีและไปเน้นรายได้จากสกินอาวุธในเกมแทน

เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีการแข่งขันอีสปอร์ตในระดับนานาชาติ โดยมีการแข่งขันระหว่างทีมภายในลีกอาชีพ ทำให้ซีเอสจีโอเป็นหนึ่งในเกมที่มีการแข่งขันอีสปอร์ตระดับโลก

รูปแบบการเล่น[แก้]

เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟเป็นเกมแนวยิงมุมมองบุคคลที่ 1 หลายผู้เล่น ตามแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ก่อนหน้านี้ ผู้เล่นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ หน่วยต่อต้านผู้ก่อการร้าย กับ ผู้ก่อการร้าย โดยจะแข่งกันทำภารกิจอย่างวางระเบิด เก็บกู้ระเบิด ฆ่าทีมศตรู ช่วยเหลือตัวประกัน[1][2] หลังจบรอบผู้เล่นจะได้รางวัลตามผลงานของรอบก่อนหน้า เงินที่ได้จะนำมาซื้ออาวุธที่ดีกว่าและอุปกรณ์เสริมที่มากกว่าเพื่อชิงความได้เปรียบ[3] หากทีมไหนชนะรอบก็จะได้เงินมากว่าทีมที่แพ้ หากทำภารกิจภายในรอบหรือฆ่าศัตรูภายในรอบก็จะได้เงินรางวัลเพิ่มขึ้น[1][4]

เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟมีโหมดแตกต่างกันออกไปทั้งหมด 8 โหมด: 1.แข่งขัน 2.แคสชวล 3.เดทแมตซ์ 4.ประชันอาวุธ 5.ทำลายล้าง 6.วิงแมน 7.สไนเปอร์บิน 8.โซนอันตราย[5][6][7] โหมดแข่งขันจะเป็นโหมดหลักของเกม[8] โหมดนี้จะแบ่งเป็นทีมละ 5 คนและชนะรอบให้ครบ 16 รอบจาก 30 รอบก่อนจึงจะชนะ[9] เมื่อเล่นโหมดแข่งขันผู้เล่นจะถูกจัดลำดับตามความสามารถและจับคู่เกมในกลุ่มคนที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน[1] โหมดแคสชวลและเดทแมตซ์เป็นเกมโหมดที่ไม่ค่อยจริงจังมากนัก ส่วนมากไว้ใช้เพื่อพัฒนาความสามารถ[10][11] โหมดประชันอาวุธและโหมดทำลายล้างจะเป็นเกมโหมดที่ใช้แมพใหม่ที่ไม่เคยมีในแฟรนไชส์เคาน์เตอร์-สไตรก์ก่อนหน้านี้[1] ประชันอาวุธจะมีลักษณะคือเมื่อยิงครบสองตัวอาวุธจะเปลี่ยนไปตามลำดับขั้น ส่วนโหมดทำลายล้างจะต้องทำการสังหารศัตรูและทำภารกิจในแต่ละรอบเพื่ออัปเกรทอาวุธในรอบถัดไป[1] โหมดวิงแมนจะคล้าโหมดแข่งขันแต่แผนที่ละเล็กกว่า มีสองทีมทีมละสองคนและต้องชนะให้ได้ 9 รอบจาก 16 รอบ โหมดนี้จะมีการจัดลำดับความสามารถเหมือนกับโหมดแข่งขันเช่นกัน[7] สไนเปอร์บินเป็นโหมดที่ผู้เล่นจะสามารถกระโดดได้สูงและนานเหมือนว่าอยู่บนที่แรงดึงดูดต่ำ อาวุธใช้ได้แค่ปืน SSG 08 (รู้จักกันในอีกชื่อคือ สเกาท์) และมีด[12] โซนอันตรายเป็นโหมดแบทเทิลรอยัลที่ผู้เล่นสูงสุด 18 คนและต้องหาเงินหรืออาวุธมาเพื่อฆ่าศัตรูและอยู่รอดให้ได้เป็นคนหรือทีมสุดท้าย[13][14] นอกจากนี้ยังมีโหมดฝึกซ้อมเพื่อช่วยให้ให้ผู้เล่นใหม่รู้จักกการใช้อาวุธ[15] ทั้งนี้ทั้ง 8 โมดที่กล่าวมาสามารถเล่นได้ทั้งแบบออนไลน์กับผู้เล่น หรือเล่นแบบออฟไลน์กับบอต[6]

อาวุธภายในเกมมีทั้งหมด 5 ประเภท คือ ปืนพก ปืนหนัก ปืนกลเบา ปืนไรเฟิล ระเบิดมือ[16] แต่ละปืนในเกมจะมีรูปแบบการดีดของปืนซึ่งสามารถทำให้ควบบคุมได้เหมือกับในซีรียก่อนหน้า[17][18] ซีเอสจีโอได้เพิ่มอาวุธที่ไม่เคยมีในซีรียก่อนหน้าอย่าง อาวุธช็อกไฟฟ้าและระเบิดเพลิง[19]

การพัฒนา[แก้]

การแข่งขัน[แก้]

ฟแนติกทีมจากประเทศสวีเดนชนะเลิศในการแข่งขันดรีมแฮกสตีลซีรีส์ เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ แชมเปียนชิป ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[20] Virtus.Pro ชนะเลิศในการแข่งขัน EMS One Katowice 2014 แชมเปียนชิป โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[21]

นินจาในชุดนอนชนะเลิศในการแข่งขัน ESL One Cologne 2014 ทัวร์นาเมนต์ ใน พ.ศ. 2557 โดยมีเงินรางวัลรวมในการแข่งขันทั้งหมด 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[22] ทีมสุดท้ายที่ชนะเลิศคือ Team LDLC.com ซึ่งชนะเลิศในการข่งขันดรีมแฮกวินเทอร์ 2014, ต่อมา การแข่งขัน ESL One ได้จัดขึ้นอีกครั้งที่ Katowice ประเทศโปแลนด์ ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม พ.ศ. 2558 โดยในวันที่ 15 มีนาคม Fnatic ชนะเลิศในการแข่งขันโดยเอาชนะทีมนินจาในชุดนอน ทั้ง 2 แผนที่ ได้ทั้งหมดรวม 16-13

วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558 เคาน์เตอร์-สไตรก์: โกลบัลออฟเฟนซิฟ ทัวร์นาเมนต์ มีเงินรวมในการแข่งขันทั้งหมด 3.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผู้เล่นชาวสวีเดนได้รับเงินไปทั้งหมด 1.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[23]

อ้าง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Pinsof, Allistair (August 24, 2012). "Review: Counter-Strike: Global Offensive". Destructoid. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2017. สืบค้นเมื่อ April 7, 2014.
  2. Owen, Phil (August 31, 2012). "GAME BYTES: 'Counter-Strike' Lackluster". The Tuscaloosa News. New Media Investment Group. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017 – โดยทาง Questia.
  3. Heath, Jerome; Villanueva, Jamie (4 May 2020). "CS:GO Economy Guide: How it Works, Bonuses, the Meta, and More". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  4. "Money system in CS:GO explained". Natus Vincere. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 2, 2017. สืบค้นเมื่อ January 2, 2017.
  5. "Counter-Strike: Global Offensive". blog.counter-strike.net. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  6. 6.0 6.1 Senior, Tom (August 21, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive patch adds Weapons Course and Zombie Mod support". PC Gamer. Future plc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
  7. 7.0 7.1 Villanueva, Jamie (November 15, 2017). "Several maps and game modes permanently added to CS:GO as Operation Hydra ends". Dot eSports. The Daily Dot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2019. สืบค้นเมื่อ November 16, 2017.
  8. Neigher, Eric (August 31, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive Review". GameSpot. CBS Interactive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 9, 2017. สืบค้นเมื่อ April 9, 2017.
  9. Lahti, Evan (January 19, 2015). "CS:GO competitive guide: your first match". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
  10. de Matos, Xav (August 28, 2012). "Counter-Strike Global Offensive review: Come at the king, you best not miss". Engadget. AOL Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2017.
  11. "How to find the perfect CS:GO crosshair for you". PC Gamer. April 12, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 22, 2017. สืบค้นเมื่อ June 22, 2017.
  12. Villanueva, Jamie (26 May 2017). "The Flying Scoutsman: How to play the CS:GO war game". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 8 March 2021.
  13. Lahti, Evan (December 6, 2018). "CS:GO goes Battle Royale and free to play". PC Gamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2018. สืบค้นเมื่อ March 2, 2019.
  14. Liao, Shannon. "CS:GO Battle royale gamemode info". The Verge.
  15. Redler, Jannes. "CSGO Game Modes –– Information". DOT ESPORTS.
  16. Villanueva, Jamie (September 6, 2017). "A guide to CS:GO's weapons". Dot eSports. The Daily Dot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 24, 2018. สืบค้นเมื่อ October 13, 2017.
  17. Heath, Jerome (26 January 2021). "CS:GO Spray Pattern and Recoil Compensation Guide For Every Weapon". Dot Esports. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
  18. Gaston, Martin (August 23, 2017). "Counter-Strike: Global Offensive Review". VideoGamer.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2017. สืบค้นเมื่อ April 12, 2017.
  19. Dyer, Mitch (August 27, 2012). "Counter-Strike: Global Offensive Review". IGN. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
  20. "DreamHack 2013 Champions". Counter-Strike blog. 1 ธันวาคม 2013.
  21. "EMS One 2014: Winners". Counter-Strike blog. 17 มีนาคม 2014.
  22. "ESL One Cologne 2014 – Winners". Counter-Strike blog. 18 สิงหาคม 2014.
  23. "Top Countries For Counter-Strike: Global Offensive - Competitive Player Rankings :: e-Sports Earnings". e-Sports Earnings. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2015.