เขื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนแกรนด์แคนยอนบนแม่น้ำโคโลราโดในรัฐแอริโซนา, สหรัฐ

เขื่อน (อังกฤษ: dam) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่สำหรับกั้นทางน้ำ เพื่อใช้ในการเก็บกักน้ำและป้องกันอุทกภัยรวมถึงผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนบนของเขื่อนจะประกอบไปด้วยส่วนที่เรียกว่าทางน้ำล้น สำหรับให้น้ำที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไหลผ่านมาที่ฝั่งปลายน้ำ มากกว่าครึ่งหนึ่งของแม่น้ำสายหลักทั่วโลกจะมีเขื่อนกั้นไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง

ชนิดของเขื่อน[แก้]

ชนิดของเขื่อน จะจำแนกตามชนิดของวัสดุก่อสร้าง เช่น เขื่อนหิน เขื่อนดิน เขื่อนคอนกรีต เขื่อนหินผสมดิน เขื่อนคอนกรีตบดอัด หรือเขื่อนไม้

ประโยชน์[แก้]

ประโยชน์ของเขื่อนที่สำคัญ คือ เพื่อกักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำจากช่วงฤดูน้ำหลากและปล่อยน้ำใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภคบริโภคในช่วงขาดแคลนน้ำ เขื่อนยังคงใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วมฉับพลันในฤดูที่น้ำไหลหลากอีกทางหนึ่ง โดยเขื่อนจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำ ให้น้ำไหลผ่านได้เฉพาะตามปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันเขื่อนมีหน้าที่หลักอีกด้านคือการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งในประเทศไทยมาจากการปั่นไฟจากเขื่อน นอกจากนี้เขื่อนบางแห่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการต่าง ๆ เช่น การล่องเรือ หรือ การตกปลา

อย่างไรก็ตามเขื่อนมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การปิดกั้นทางน้ำทำให้สิ่งมีชีวิตในน้ำบางชนิด เช่น ปลาแซลมอน ไม่สามารถว่ายไปตามกระแสน้ำเพื่อวางไข่ได้ในช่วงฤดูขยายพันธุ์ เขื่อนยังคงปิดกั้นทางน้ำทำให้การเดินทางทางเรือไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้ ปัญหาของการสร้างเขื่อนที่มียังรวมถึงพื้นที่บ้านเรือนและป่าไม้ที่อยู่บริเวณเหนือเขื่อน จะถูกท่วมจมอยู่ใต้น้ำไม่สามารถใช้งาน

ด้านการชลประทาน และการเกษตร

ทำให้มีแหล่งน้ำถาวรเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เพื่อช่วยเสริมระบบการชลประทานในพื้นที่ของโครงการแม่กลองใหญ่ โดยเฉพาะทำการเพาะปลูกในฤดูแล้งจะได้ผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้น

ด้านการผลิตไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าแห่งนี้มีกำลังผลิตรวม 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 777 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง พลังงานไฟฟ้าที่ได้นอกจากจะช่วยสนองความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วย ประหยัดการใช้เชื้อเพลิง น้ำมันเตาที่ต้องสั่งจากต่างประเทศได้ปีละ 200 ล้านลิตร

ด้านการประมง

ในอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนมีพื้นที่ 388 ตารางกิโลเมตร เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดได้เป็นอย่างดี

ด้านการบรรเทาอุทกภัย

โดยปกติในฤดูฝน ทั้งในลำน้ำ แควน้อย และแควใหญ่ จะมีปริมาณมากถึงประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อไหลไปรวมกันจะทำให้เกิดน้ำท่วมลุ่มน้ำแม่กลองเป็นประจำ เมื่อเขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนเขาแหลมแล้วเสร็จ อ่างเก็บน้ำของเขื่อนทั้งสองจะช่วยเก็บกักน้ำไว้เป็นการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างถาวร

ช่วยต่อต้านน้ำเค็มและน้ำเสียในฤดูแล้ง

ก่อนนี้ที่บริเวณปากน้ำแม่กลองจะมีน้ำเค็มย้อนเข้ามาในฤดูแล้ง นอกจากนี้ยังมีน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมของสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองอีกส่วนหนึ่ง การที่มีน้ำจากเขื่อนปล่อยไปมากกว่าปกติในฤดูแล้งจะช่วยขับไล่น้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม ทำให้สภาพน้ำในแม่น้ำแม่กลองมีคุณภาพดี

ด้านการคมนาคมและการท่องเที่ยว

เมื่อมีอ่างเก็บน้ำเกิดขึ้น ชุมชนต่าง ๆ ก็ได้อาศัยเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เพื่อนำผลผลิตที่ได้ออกสู่ตลาดเป็นการช่วยกระจายรายได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้บริเวณนั้นยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกไทรโยค บึงเกริงกะเวีย ด่านเจดีย์สามองค์ ฯลฯ เป็นต้น

รายชื่อเขื่อน[แก้]

ในต่างประเทศ[แก้]

ในประเทศไทย[แก้]

ภาคเหนือ[แก้]

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[แก้]

ภาคตะวันตก[แก้]

ภาคกลาง[แก้]

ภาคตะวันออก[แก้]

ภาคใต้[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Itaipú Dam: The world's largest hydroelectric plant". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-19. สืบค้นเมื่อ 2008-05-29.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]