จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดสิบสองปันนา

西双版纳州 ·

ສິບສອງພັນນາ
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา
西双版纳傣族自治州 · စစ်ဆောင်ပန္နား
ᩈᩥ᩠ᨷᩈᩬᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ
เมืองเชียงรุ่ง
เมืองเชียงรุ่ง
ที่ตั้งของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน
ที่ตั้งของจังหวัดปกครองตนเองสิบสองปันนาในมณฑลยูนนาน
พิกัด: 22°00′N 100°48′E / 22.000°N 100.800°E / 22.000; 100.800พิกัดภูมิศาสตร์: 22°00′N 100°48′E / 22.000°N 100.800°E / 22.000; 100.800
ประเทศจีน
มณฑลยูนนาน
รหัส GB/T 2260[1]532800
เมืองหลวงเชียงรุ่ง
หน่วยปกครอง
การปกครอง
 • ประเภทจังหวัดปกครองตนเอง
 • เลขาธิการ CCPZheng Yi
 • ประธานสภาประชาชนXu Jiafu
 • ผู้ว่าการDao Wen
 • ประธาน CPPCCZhang Xing
พื้นที่
 • ทั้งหมด19,700 ตร.กม. (7,600 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010)
 • ทั้งหมด1,133,515 คน
 • ความหนาแน่น58 คน/ตร.กม. (150 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+08:00 (เวลามาตรฐานจีน)
รหัสไปรษณีย์666100[2]
รหัสพื้นที่+959[2]
รหัส ISO 3166CN-YN-28
เว็บไซต์www.xsbn.gov.cn
"สำนักงานสถิติมณฑลยูนนาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-12. สืบค้นเมื่อ 2018-12-09.
"Yunnan Portal".
จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ西双版纳傣族自治州
อักษรจีนตัวเต็ม西雙版納傣族自治州
ชื่อภาษาจีนเดิม (1)
อักษรจีนตัวย่อ车里
อักษรจีนตัวเต็ม車里
ชื่อภาษาจีนเดิม (2)
อักษรจีนตัวย่อ允景洪
อักษรจีนตัวเต็ม允景洪
ชื่อภาษาไทลื้อ
ภาษาไทลื้อᩈᩥ᩠ᨷᩈᩬᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ
(síp.sɔ́ŋ.pân.nâː)
ชื่อภาษาฮานี
ภาษาฮานีXisual banaq
ชื่อภาษาอาข่า
ภาษาอาข่าSǐsǎwpâna

จังหวัดปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (อักษรธรรม: ᩈᩥ᩠ᨷᩈᩬᨦᨻᩢ᩠ᨶᨶᩣ, อักษรไทลื้อใหม่: ᦈᦹᧈᦈᦹᧈᦵᦋᦲᧁᧈᦘᦱᦉᦱᦺᦑ᧑᧒ᦗᧃᦓᦱ, จื้อจื้อเชิวภาสาไท 12 พันนา; จีน: 西双版纳傣族自治州; ไทใหญ่: သိပ်းသွင်ပၼ်းၼႃး; พม่า: စစ်ဆောင်ပန္နား) หรือชื่อย่อว่า ซีไต่ (จีน: 西傣; พินอิน: Xīdǎi) เป็นเขตปกครองตนเองระดับจังหวัดของชาวไทลื้อ ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีเมืองหลวง คือ เมืองเชียงรุ่ง เมืองที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่และมีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ซึ่งในประเทศจีนเรียกว่า "แม่น้ำหลานชาง"[3]

ในประเทศจีน พื้นที่แห่งนี้มีวัฒนธรรมที่แตกต่างทางไปจากชาวจีนฮั่น ทั้งประชากร สถาปัตยกรรม ภาษา และวัฒนธรรม ชาวไทลื้อ นั้นมีความคล้ายคลึงกับของชาวไทใหญ่ ชาวไทเขิน และชาวไทยวน เป็นอย่างมาก รวมไปถึงชาวไทยและชาวลาว

นิรุกติศาสตร์[แก้]

สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา เป็นคำภาษาไทลื้อ มีความหมายว่า "สิบสองเมือง"[4][5] คำว่า "พันนา" เป็นหน่วยการปกครองของคนไทในอดีต ตามหนังสือพงศาวดารโยนก[ต้องการอ้างอิง] ชื่อนี้สอดคล้องกับเขตปกครองตนเองของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทในอินโดจีนของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 ถึง พ.ศ. 2488 ซึ่งก็คือสิบสองจุไท

ภูมิประเทศ[แก้]

เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนามีเนื้อที่ประมาณ 19,700 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดกับแขวงหลวงน้ำทา แขวงพงสาลี ของประเทศลาว และรัฐฉานของพม่า โดยมีชายแดนยาวถึง 966 กิโลเมตร และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านตอนกลาง

ประวัติ[แก้]

ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมืองต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน

สิบสองปันนานั้นได้เป็นราชอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง เมื่อประมาณ 825 ปีก่อน โดย พญาเจือง หรือสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 1 ในตำราของไทย เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 ชาวมองโกลได้รุกรานอาณาจักรล้านนา ส่วนสิบสองปันนานั้นจึงได้เป็นของมองโกล และก็ได้เป็นของจีนต่อมา (ตามประวัติศาสตร์จีน)[ต้องการอ้างอิง]

การอ่อนแอของราชวงค์อาฬโวสวนตาลครั้งแรกเริ่มคราวสมัยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 3 (ท้าวอ้ายปุง) รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงค์อาฬโวสวนต๋าน จากนั้นเกิดความวุ่นวายเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ สุดท้ายถึงรัชกาลที่ 24 ท้าวอินเมิง (ท้าวอินเมือง) อาณาจักรสิบสองปันนาเริ่มเป็นปึกแผ่นมากที่สุด การขยายอาณาเขตเข้าไปยึดถึงเมืองเชียงตุง เมืองแถง (เดียนเบียนฟู) เชียงแสน ล้านช้าง จึงเป็นเหตุให้การอพยพชาวไทลื้อจากเชียงรุ่งและอีกหลายหัวเมืองลื้อเข้าไปสู่ดินแดนดังกล่าว เพื่อเข้าไปตั้งชุมชนปกครอง หัวเมืองประเทศราช ซึ่งหากมองมาถึงปัจจุบันมีชาวไทลื้อกระจายไปทั่วทั้งเมืองแถน หัวเมืองทางเหนือของลาว ทุกเมือง รัฐฉานของพม่า จนถึงเชียงตุง และแถบใต้คง

สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ 100 กว่าปี ก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวมองโกล และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 การสิ้นสุดอำนาจการปกครอง และการยอมรับอำนาจของมองโกล เมื่อรัชกาลที่ 33 เมื่อพระเจ้ากรุงจีนส่งตราหัวเสือ (จุ่มกาบหลาบคำ) มาให้เป็นตราแผ่นดินแทนตรานกหัสดีลิงก์ การเปลี่ยนชื่อเจ้าผู้ครองนคร จากชื่อภาษาไทลื้อ เป็นภาษาจีน เริ่มขึ้นในยุคนี้ เจ้าผู้ครองนครชาวไทลื้อถูกเรียกว่าเจ้าแสนหวีฟ้า[2]

เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 21 พม่าได้ก่อตั้งอาณาจักรตองอู และขยายอาณาเขตของตนไปทางตะวันออก พม่าได้โจมตีสิบสองปันนา ต่อจากนั้นจึงได้แบ่งเมืองเชียงรุ่งเป็น สิบสองปันนา และก็เป็น เมืองในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และ เชียงรุ่ง จึงเรียกเรียกเมีองแถว ๆ นี้รวมกันว่า สิบสองปันนา ในช่วงสมัยนี้เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมพม่า และ ศาสนาได้เข้าไปในสิบสองปันนา[ต้องการอ้างอิง]

พันนาในอดีตทั้งหมดของสิบสองปันนามีทั้งหมด ดังนี้[ต้องการอ้างอิง]

  1. เมืองเชียงรุ่ง เมืองยาง เมืองฮำ รวมเป็น 1 พันนา
  2. เมืองแจ เมืองมาง (ฟากตะวันตก) เมืองเชียงลู เมืองออง เป็น 1 พันนา
  3. เมืองลวง เป็น 1 พันนา
  4. เมืองหน เมืองพาน เชียงลอ เป็น 1 พันนา
  5. เมืองฮาย เชียงเจือง เป็น 1 พันนา
  6. เมืองงาด เมืองขาง เมืองวัง เป็น 1 พันนา
  7. เมืองหล้า เมืองบาน เป็น 1 พันนา
  8. เมืองฮิง เมืองปาง เป็น 1 พันนา
  9. เชียงเหนือ เมืองลา เป็น 1 พันนา
  10. เมืองพง เมืองมาง (ฟากตะวันออก) เมืองหย่วน เป็น 1 พันนา
  11. เมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เป็น 1 พันนา
  12. เมืองเชียงทอง อีงู อีปาง เป็น 1 พันนา
  13. เมืองภูแถนหลวง เวียงคำแถน เป็น 1 พันนา

สมัยหลังราชวงศ์มังราย[แก้]

หลังจากพระเจ้ากาวิละได้ปลดปล่อยเชียงใหม่ และ อาณาจักรล้านนา จาก พม่าแล้ว พระเจ้ากาวิละทรงพิจารณาเห็นว่าเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นเป็นเมืองร้าง เพราะผู้คนหนีภัยสงคราม อีกทั้งในกำแพงตัวเมืองเชียงใหม่ยังมีต้นไม้เถาวัลย์ปกคลุม ชุกชุมด้วยเสือ สัตว์ป่านานาพันธุ์ ผู้คนของพระองค์มีน้อยไม่อาจบูรณะซ่อมแซมเมืองใหญ่ได้ ดังนั้นจึงยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนโดยไปตีเมืองไตในดินแดน ๑๒ ปันนา ทั้งไตลื้อ ไตโหลง (ไทใหญ่) ไตขึน (คนไตลื้อในเมืองเชียงตุง) ไตลื้อเมืองยอง ไตลื้อเมืองลวง ไตลื้อเมืองพน เมืองหย่วน เมืองล่า มาอยู่ที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ น่านเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกกันว่ายุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" อันเป็นวิธีฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง เพราะในช่วงก่อนนั้น พม่าได้กวาดต้อนชาวล้านนาไปอยู่ที่ พุกาม และ มัณฑะเลย์ ไปจำนวนมาก[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงสงครามโลกสิบสองปันนานั้น ตกอยู่ในแผ่นดินจีน ถูกยุบเมืองเชียงรุ่งจากเมืองหลวงเป็นแค่เมือง พร้อม ๆ กับเจ้าทั้งหลายด้วย โดยเคยมีเจ้าปกครองอยู่ถึง 44 พระองค์ โดยสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 44 หรือเจ้าหม่อมคำลือ (刀世勋) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรไทลื้อ เป็นราชบุตรของเจ้าหม่อมแสนเมือง ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อนนั้นมีศักดิ์เป็นอาของเจ้าหม่อมคำลือ แต่พระองค์ท่านเองไม่มีบุตร จึงได้ขอเจ้าหม่อมคำลือเป็นราชบุตรบุญธรรม เจ้าหม่อมคำลือเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1928 และไปเรียนหนังสือที่เมืองฉงชิ่งเมื่ออายุ 16 ปี จนถึงปี ค.ศ. 1944 ได้เข้า “พิธีฮับเมือง” แต่ในช่วงนั้นเกิด สงครามมหาเอเชียบูรพา (ค.ศ. 1939-1945) พิธีฮับเมืองจึงไม่สมบูรณ์ ท่านได้กลับไปเรียนหนังสือ และกลับมาทำพิธีฮับเมืองครั้งที่สอง เมื่อ ค.ศ. 1948 ขณะอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตาม ช่วงนั้นได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครองภายในประเทศจีน ราวปี ค.ศ. 1949-1950 ท่านจึงกลายเป็น “กษัตริย์องค์สุดท้าย” โดยเปลี่ยนฐานันดรศักดิ์จากกษัตริย์เป็นสามัญชน โดยที่ยังมิได้บริหารราชการแผ่นดินเลย เนื่องจากหลังจากทำพิธีฮับเมืองครั้งแรกแล้วท่านได้แต่งตั้งให้เจ้าหม่อมแสนเมือง พระราชบิดาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จากนั้นท่านก็ไปเรียนหนังสือต่อ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้วท่านได้เรียนหนังสือ ในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยยูนนาน และได้แต่งงานกับ สิว์ จิ๊ว เฟิน ชาวจีนคุนหมิง ในปี ค.ศ.1953 ก่อนที่ จะทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาศาสตร์ อีก 8 ปี ที่สถาบันวิจัยชนชาติส่วนน้อยแห่งชาติ สังกัดสภาวิทยาศาสตร์ประเทศจีน ในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ต่อมาเจ้าหม่อมแสนเมืองได้ขอให้รัฐบาลจีนย้ายทั้งสองกลับมาที่คุนหมิง โดยมาทำงานเป็นนักวิจัยด้านภาษาซึ่งรวมถึงอักษรไทลื้อ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลจีนมีคำสั่งให้เจ้าหม่อมคำลือและภรรยาไปทำงานในชนบททำงานในสวนอ้อย ใน อ.เชียงกุ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของสิบสองปันนา เป็นเวลานาน ถึง 9 ปี การใช้เวลาในสวนอ้อยนี้ สิว์ จิ๊ว เฟิน เล่าว่า สามารถพกหนังสือหรือตำราเข้าไปอ่านได้ด้วยและหลังจาก เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของจีนแล้ว เห็นว่านโยบายเอียงซ้าย นโยบายที่ให้เจ้านายไปใช้แรงงานในชนบท เป็นนโยบายที่ผิดพลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเจ้าหม่อมคำลือและภรรยาจึงมีโอกาสกลับคุนหมิง โดยทำงานเป็นนักวิจัยที่สถาบันวิจัยชนชาติในมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานจนกระทั่งเกษียณอายุ โดยมีคุณวุฒิทางวิชาการคือ “ศาสตราจารย์” อย่าง ไรก็ดี หลังจากเกษียณอายุแล้วทางการจีนได้ให้ฐานะทางสังคมแก่ เจ้าหม่อมคำลือในฐานะเจ้านายเก่าคือเป็น รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองระดับมณฑล และ กรรมการสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งชาติ ซึ่งมี ที่พัก และ รถประจำตำแหน่งให้ แต่ปัจจุบันท่านก็ ได้เกษียณจากทุกตำแหน่งแล้ว โดยคนที่มีแซ่เต๋า (刀) ในสิบสองปันนาก็คือ เจ้าในสิบสองปันนาที่เคยครองเมืองทั้งหลายเหล่านี้

เชิงอรรถ[แก้]

1.ใต้คง คือเขตปกครองตนเองชนชาติไทและจิ่งโพเต๋อหง หรือในอดีตคือที่ตั้งของ "อาณาจักรหมอกขาวมาวหลวง" หรือชื่อในเอกสารจีนว่า "อาณาจักรหลู่ชวนแสนหวี" ของชาวไทเหนือ

2.เจ้าแสนหวีฟ้าคือตำแหน่งที่ทางราชสำนักจีนพระราชทานให้กับประมุขชนกลุ่มน้อย คำว่าแสนหวี เป็นคำภาษาจีน คำว่า ชวนเว่ย หรือ แซ่นหวี่ (宣慰) แปลว่าผู้ปลอบประโลม

เขตการปกครอง[แก้]

ประชากรแบ่งตามคริสต์ทศวรรษ
ปีประชากร±%
2000 993,397—    
2010 1,133,515+14.1%
แหล่งที่มา:[6]

สิบสองปันนาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น นครระดับอำเภอ 1 แห่ง และอำเภอ 2 แห่ง

แผนที่
ชื่อ อักษรจีน พินอิน ประชากรทั้งพื้นที่
(คริสต์ทศวรรษ 2000)
ประชากรทั้งพื้นที่
(คริสต์ทศวรรษ 2010)
ประชากรเขตเมือง
(คริสต์ทศวรรษ 2000)
ประชากรเขตเมือง
(คริสต์ทศวรรษ 2010)
พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น
(คน/ตร.กม.)
นครเชียงรุ่ง 景洪市 Jǐnghóng Shì 443,600 519,935 138,939 205,523 7,133 73
อำเภอเมืองฮาย 勐海县 Měnghǎi Xiàn 314,100 331,850 34,241 94,945 5,511 60
อำเภอเมืองล้า 勐腊县 Měnglà Xiàn 235,700 281,730 55,632 84,625 7,056 40
  • อ้างอิง: Xishuangbanna Gov,[7] Citypopulation.de ประชากรเขตเมืองมณฑลยูนนาน[8]

กลุ่มชาติพันธุ์[แก้]

หมู่บ้านปะหล่องในสิบสองปันนา

จำนวนประชากรแบ่งตามกลุ่มชาติพันธุ์ในสิบสองปันนา จากสำรวจปี ค.ศ. 2000

กลุ่มชาติพันธุ์ ประชากร (คน) ร้อยละ
ไท (ไทลื้อ, ไทหย่า, ไทเหนือ, ไทยวน, ลาว) 296,930 29.89%
จีนฮั่น 289,181 29.11%
อาข่า 186,067 18.73%
อี๋ 55,772 5.61%
ลาหู่ 55,548 5.59%
ปะหล่อง 36,453 3.67%
จินัว 20,199 2.03%
เย้า 18,679 1.88%
ม้ง 11,037 1.11%
ไป๋ 5,931 0.60%
จิ่งเผาะ 5,640 0.57%
หุย 3,911 0.39%
ว้า 3,112 0.31%
จ้วง 2,130 0.21%
อื่น ๆ 2,807 0.30%

อ้างอิง[แก้]

  1. 行政区划代码. 中华人民共和国国家统计局. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-21. สืบค้นเมื่อ 2009-01-29.
  2. 2.0 2.1 "Area Code and Postal Code in Yunnan Province". China National Philatelic Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-07.
  3. Lionel M. Jensen, Timothy B. Weston (2007). China's transformations: the stories beyond the headlines. Rowman & Littlefield. Sandra Teresa Hyde, Ch. 11: Jinghong is a piaocheng or city of prostitution. It provides Han Chinese male tourists with a sex-oriented tourist destination.
  4. Davis (2006), Premodern Flows in Postmodern China, p. 106
  5. Mette Hansen (1999), "History of Chinese Education in Sipsong Panna", Lessons in Being Chinese: Minority Education and Ethnic Minority in Southwest China, p. 90
  6. "CHINA: Administrative Population". Citypopulation.de. 2012-05-12. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.
  7. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2013. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  8. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 2, 2013. สืบค้นเมื่อ October 31, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)

วรรณกรรม[แก้]

  • Davis, Sara (2006). "Premodern Flows in Postmodern China: Globalisation and the Sipsongpanna Tais". Centering The Margin: Agency And Narrative In Southeast Asian Borderlands. Berghahn Books. pp. 87–110.
  • Giersch, Charles Patterson (2006). Asian Borderlands: The Transformation of Qing China's Yunnan Frontier. Harvard University Press.
  • Forbes, Andrew; Henley, David (2011). China's Ancient Tea Horse Road. Chiang Mai: Cognoscenti Books. ASIN B005DQV7Q2.
  • Hsieh, Shih-Chung (July 1989). Ethnic-political adaptation and ethnic change of the Sipsong Panna Dai: an ethnohistorical analysis (PhD). The University of Washington.
  • Hansen, Mette Halskov (1999). "Teaching Backwardness or Equality: Chinese State Education Among the Tai in Sipsong Panna". China's National Minority Education: Culture, Schooling, and Development. Routledge. pp. 243–279.
  • Hansen, Mette Halskov (2004). "The Challenge of Sipsong Panna in the Southwest: Development, Resources, and Power in a Multiethnic China". Governing China's Multiethnic Frontiers. University of Washington Press. pp. 53–83.
  • Sethakul, Ratanaporn (2000). "Tai Lue of Sipsongpanna and Müang Nan in the Nineteenth-Century". Civility and Savagery: Social Identity in Tai States. Curzon Press.
  • 云南省编辑委员会 [Yunnan Editors Committee], บ.ก. (2009). 景洪县哈尼族社会调查 [Social Survey of Hani Nationality in Jinghong County]. 哈尼族社会历史调查 [Social History Survey of Hani Nationality]. 民族出版社. ISBN 9787105087754. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]