อิสมาอีลียะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อิสมาอีลียะฮ์ คือกลุ่มหนึ่งจากนิกายชีอะฮ์ ที่มีความเชื่อว่าระบบการปกครองโดยอิมามจบลงที่บุตรชายของท่านอิมาม ญะอฺฟัร ซอดิก(อฺ) พวกเขาเชื่อว่าบุตรชายของอิมาม ญะอฺฟัร ศอดิก (อฺ) เป็นอิมามท่านที่เจ็ด พวกเขาอยู่ร่วมสมัยกับซามานิยะห์ (Samanid)ในเปอร์เซีย และได้เผยแพร่แนวความคิดของตนอย่างกว้างขว้าง ปัจจุบันจำนวนของพวกเขาลดน้อยลง โดยปรากฏอยู่ในประเทศอิหร่านเพียงเล็กน้อยและ กระจัดกระจายอยู่ในประเทศอื่นๆ บ้าง เช่น อัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน อินเดีย แทนซาเนีย เคนยา ฯลฯ [1]

ตามคำกล่าวของเฮนรี คอร์บิน ชาวอิสมาอีลียะฮ์กลุ่มนิซารี สูญเสียตำราซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงสำคัญของตนภายหลังจากการบุกรุกของมองโกลและการทำลาย Alamut Castle รวมถึงการทำลายตำราโบราณต่าง ๆ ส่วนกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์ มุสตะอ์ละวี ซึ่งอยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ฟาติมียะฮ์ และเคยอยู่ในอียิปต์ ปัจจุบันนี้อยู่ในอินเดีย พวกเขาสามารถดูแลรักษาตำราและแหล่งอ้างอิงของตนไว้ได้แม้ว่าพวกเขาไม่เคยมีเจตนาในการเผยแพร่ตำราของตนก็ตาม

ในปัจจุบันกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์ นิซารี ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ในเขต Almut ถูกเรียกว่ากะรีมออฆอ คาน (Karim Aga Khan)[2]ซึ่งกำเนิดในเจนีวา และปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ ในปารีส เป็นบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

ฉายาอื่น ๆ[แก้]

ยุคเริ่มต้นมีผู้ไม่เห็นด้วยกับแนวทางอิสมาอีลียะฮ์เรียกพวกเขาว่า “มุลาฮิดะฮ์” หลังจากศตวรรษที่สาม (ฮิจเราะห์ศักราช)ถูกเรียกว่า กิรอมิเฏาะฮ์ แต่พวกเขาขนานนามตนเองว่า “ดะอ์วัต”หรือ “ดะอ์วัตฮาดียะฮ์” หมายถึงเชิญชวนจากผู้ชี้นำ ในยุคการปกครองราชวงศ์ฟาติมียะฮ์พวกเขาหลีกเลี่ยงที่จะเรียกตนเองว่ากลุ่มอิสมาอีลียะฮ์[3]

ชาวอาหรับเรียกชาวอิสมาอีลียะฮ์ว่า กลุ่ม บาฏินียะฮ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่พวกเขาแปลและอธิบายความหมายเนื้อหาของอัล-กุรอานในเชิงภายในของกุรอาน และหน้าที่ในการแปลจะถูกมอบให้แก่บุคคลที่อิสมาอีลียะฮ์เรียกพวกเขาว่า “อาจารย์” (มุอัลลิม)เท่านั้น พวกเขาไม่ยอมรับความหมายภายนอกของอัล-กุรอานโดยมีความเชื่อว่าอัล-กุรอานมีจิตวิญญาณและความหมายในเชิงลึก หรือ ความหมายภายใน และความหมายภายนอกเป็นเพียงความในเชิง เปรียบเทียบเท่านั้น

จุดกำเนิดอิสมาอีลียะฮ์[แก้]

ขบวนการอิสมาอีลียะฮ์มีจุดกำเนิดในอียิปต์ ภายในราชวงศ์ฟาติมียะฮ์ ชาวอิสมาอีลียะฮ์ ได้เผยแพร่แนวความคิดของตนและราชวงศ์ฟาตีมียะฮ์เป็นเวลายาวนาน ซึ่งมีเมือง เรย์ และ โคราซานในประเทศอิหร่านเป็นศูนย์กลาง ในศตวรรษที่สี่ การเผยแพร่ของอิสมาอียะฮ์มีอิทธิพลเป็นอย่างมากจึงส่งผลให้ผู้มีอำนาจจากซามานิยะฮ์หลายท่านเข้าร่วมกับพวกเขา ผู้ที่มีอำนาจที่สุดที่เข้าร่วมกับอิสมาอีละยะฮ์คือ อามีร นัศร์ ซามานี การยอมรับ ของอามีรนัศร์ สร้างกระแสต่อต้านจากบุคคลรอบข้างที่เป็นชาวเติร์กผู้ยึดติดในแนวทางของตนจึงสร้างแรงกดดันต่อต้านอามีรนัศร์ โดยการนำของผู้รู้ซุนนีเพื่อโค่นล้มแนวความคิดอิสมาอีลียะฮ์ จนทำให้อามีร นัศร์ต้องลงจากบัลลังก์ของตนและมอบให้ นูห์ พระราชโอรสของเขาครองบัลลังก์แทน หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวการกดดันจากชาวเติร์ก และ ผู้รู้ซุนนี่ ทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ขบวนการอิสมาอีลียะฮ์ ต้องจบลงพร้อมกับการจับและทารุณกรรมแกนนำทั้งหลาย ภายหลังจากยุคดังกล่าวการเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะฮ์จึงเป็นไปอย่างลับ ๆ

อิสมาอีลียะฮ์ และ สุลต่านมะห์มุด[แก้]

ภายหลังจากการโค่นล้ม ซามานียะฮ์ และ ชาวเติร์กก็ขึ้นปกครองแทนสภาพของกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์แย่ลงกว่าเดิม พวกเขาถูกเข่นฆ่า ทรมาน โดยสุลต่านมะห์มุด ฆัษนาวี ซึ่งร่วมมือกับราชวงศ์คอลีฟะฮ์ในแบกแดด จากการรายงานของบัยฮะกี

ผู้มีอิทธิพลมากที่สุดจากกลุ่มอิสมาอีลียะฮ์และถูกสังหารในยุคดังกล่าว คือ Hasanak the Vizier เขาถูกแขวนคอ เนื่องจากถูกใส่ร้ายว่าเป็น กิรอมิเฏาะฮ์

อำนาจของฮัสซัน อิ ซับบาห์[แก้]

ในยุคจักรวรรดิเซลจุค ฮัสซัน ซับบาห์ ได้ขึ้นเป็นผู้นำของอิสมาอีลียะฮ์ในอิหร่าน เขาย้ายถิ่นฐานของตนไปยังหุบเขาและเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะฮ์ ส่วนตนได้พักอยู่ใน Almut ภายหลังจากที่รู้สึกแข็งแกร่งขึ้นแล้วเขาย้ายออกจากอียิปต์และทำการเผยแพร่โดยลำพัง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่อิสมาอีลียะฮ์สามารถสร้างอิทธิพลได้มากที่สุด ฮัสซัน ซับบาห์ขับเคลื่อนขบวนการของตนโดยการเข่นฆ่า ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการลอบสังหาร นิซาม อัล มุลก Nizam al-Mulk.

อิสมาอีลียะฮ์ และ มองโกล[แก้]

หลังจากที่ฮัสซัน ซับบาห์ จากไป ตัวแทนของเขาได้ยึดถือแนวทางการต่อสู้ และสู้รบกับชาวเติร์ก จนทำให้เขาต้องร่วมทัพกับสุลต่าน ญะลาลุดดีน คอรัซมชา เพื่อต่อสู้กับมองโกลที่กำลังบุกรุกอิหร่าน แต่สุดท้ายหัวหน้าของ Almut ถูกสังหารลงโดยชาวมองโกลเมื่อปี ๖๕๑

อ้างอิง[แก้]

แม่แบบ:پانویس

  1. راوندی، مرتضی. تاریخ اجتماعی ایران، رویه دوم
  2. Introduction to Ismailism - The Nizari Ismaili da’wa « Ismaili Mail
  3. دائرةالمعارف بزرگ اسلامی، مدخل اسماعیلیه