อำเภอโพทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอโพทะเล
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pho Thale
คำขวัญ: 
หัตถกรรมดี ประเพณีสงกรานต์
ผลไม้รสหวาน นครไชยบวรคู่บ้าน
วัดบางคลานคู่เมือง ลือเลื่องหลวงพ่อเงิน
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอโพทะเล
แผนที่จังหวัดพิจิตร เน้นอำเภอโพทะเล
พิกัด: 16°4′30″N 100°18′12″E / 16.07500°N 100.30333°E / 16.07500; 100.30333
ประเทศ ไทย
จังหวัดพิจิตร
พื้นที่
 • ทั้งหมด484.4 ตร.กม. (187.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด58,350 คน
 • ความหนาแน่น120.46 คน/ตร.กม. (312.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 66130
รหัสภูมิศาสตร์6606
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอโพทะเล เลขที่ 170
หมู่ที่ 6 ตำบลท่าบัว อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร 66130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

โพทะเล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร

ประวัติ[แก้]

เดิมเรียกว่า อำเภอบางคลาน มีที่ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำพิจิตร (น่านสายเก่า) บรรจบกับแม่น้ำยม ในท้องที่ตำบลบางคลานปัจจุบัน และต่อมาได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้ง ณ ฝั่งขวาของแม่น้ำยม ในท้องที่ตำบลโพทะเล จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอโพทะเล จนถึงปัจจุบัน แต่ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอโพทะเลหลังเดิมได้ใช้เป็นสำนักงานเทศบาลตำบลโพทะเล ส่วนที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ได้ย้ายไปตั้งอยู่บริเวณบึงสรรพงายในท้องที่ตำบลท่าบัว ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1067 (โพทะเล-บางมูลนาก) ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมไปทางทิศตะวันออกประมาณ 5 กิโลเมตร

  • วันที่ 14 มีนาคม 2480 โอนพื้นที่บ้านหนองคล้า ซึ่งเดิมอยู่ในหมู่ที่ 6 ของตำบลทนง ที่ได้แยกออกเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลท่าขมิ้น[1]
  • วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลท่าขมิ้น และหมู่ที่ 6 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[2]
  • วันที่ 16 มกราคม 2481 ย้ายที่ว่าการอำเภอบางคลาน จากตำบลบางคลาน ไปตั้งที่บ้านโพทะเล ตำบลบ้านตาล[3]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านตาล อำเภอบางคลาน เป็น ตำบลโพทะเล และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็น อำเภอโพทะเล[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลท่าบัว แยกออกจากตำบลบ้านน้อย ตั้งตำบลท่านั่ง แยกออกจากตำบลบางคลาน ตั้งตำบลวัดขวาง แยกออกจากตำบลทุ่งน้อย ตั้งตำบลบึงนาราง แยกออกจากตำบลบางลาย และตำบลไผ่ท่าโพ[5]
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ โดยโอนพื้นที่หมู่ 5 ตำบลท่านั่ง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ไปขึ้นกับตำบลท่าไม้ อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์[6]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลโพทะเล ในท้องที่บางส่วนของตำบลโพทะเล[7]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2510 ตั้งตำบลท้ายน้ำ แยกออกจากตำบลโพทะเล ตำบลบางลาย ตำบลบึงนาราง และตำบลทนง[8]
  • วันที่ 23 พฤศจิกายน 2510 โอนพื้นที่ตำบลไผ่ท่าโพ อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง[9]
  • วันที่ 6 สิงหาคม 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเสา ในท้องที่บางส่วนของตำบลท่าขมิ้น[10]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2512 ตั้งตำบลท่าเสา แยกออกจากตำบลท่าขมิ้น[11]
  • วันที่ 13 ตุลาคม 2513 โอนพื้นที่หมู่ 3,4,5,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล ไปขึ้นกับตำบลไผ่ท่าโพ กิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง[12]
  • วันที่ 28 ตุลาคม 2523 ตั้งตำบลโพธิ์ไทรงาม แยกออกจากตำบลบึงนาราง ตำบลทนง และตำบลท้ายน้ำ[13]
  • วันที่ 27 พฤศจิกายน 2535 ตั้งตำบลแหลมรัง แยกออกจากตำบลบึงนาราง[14]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลห้วยแก้ว แยกออกจากตำบลโพธิ์ไทรงาม[15]
  • วันที่ 26 มิถุนายน 2539 แยกพื้นที่ตำบลห้วยแก้ว ตำบลโพธิ์ไทรงาม ตำบลแหลมรัง ตำบลบางลาย และตำบลบึงนาราง อำเภอโพทะเล มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอบึงนาราง ขึ้นกับอำเภอโพทะเล[16]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโพทะเล และสุขาภิบาลท่าเสา เป็นเทศบาลตำบลโพทะเล และเทศบาลตำบลท่าเสา ตามลำดับ[17]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอบึงนาราง อำเภอโพทะเล เป็น อำเภอบึงนาราง[18]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอโพทะเลตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอโพทะเลแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 11 ตำบล 97 หมู่บ้าน ได้แก่

1. โพทะเล (Pho Thale) 9 หมู่บ้าน 7. ท่าเสา (Tha Sao) 9 หมู่บ้าน
2. ท้ายน้ำ (Thai Nam) 10 หมู่บ้าน 8. บางคลาน (Bang Khlan) 6 หมู่บ้าน
3. ทะนง (Thanong) 11 หมู่บ้าน 9. ท่านั่ง (Tha Nang) 6 หมู่บ้าน
4. ท่าบัว (Tha Bua) 13 หมู่บ้าน 10. บ้านน้อย (Ban Noi) 6 หมู่บ้าน
5. ทุ่งน้อย (Thung Noi) 7 หมู่บ้าน 11. วัดขวาง (Wat Khwang) 8 หมู่บ้าน
6. ท่าขมิ้น (Tha Khamin) 12 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอโพทะเลประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าขมิ้นและตำบลท่าเสา
  • เทศบาลตำบลโพทะเล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลโพทะเล
  • เทศบาลตำบลทุ่งน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งน้อยทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบางคลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคลานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพทะเล (นอกเขตเทศบาลตำบลโพทะเล)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท้ายน้ำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทะนง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทะนงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าบัวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าขมิ้น (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าเสา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าเสา (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าเสา)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่านั่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่านั่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดขวางทั้งตำบล

สถานศึกษา[แก้]

โรงเรียนโพธิธรรมสุวัฒน์

สถานที่สำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ง): 3096. 14 มีนาคม 2480.
  2. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. 1 เมษายน 2480. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการอำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3400. 16 มกราคม 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29.
  4. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 354–363. 17 เมษายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-15.
  6. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (10 ก): 196–198. 14 กุมภาพันธ์ 2493.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโพทะเล อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 97-98. 17 กันยายน 2498.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพทะเล และอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (26 ง): 977–982. 21 มีนาคม 2510.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโพทะเลและกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๑๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 84 (114 ก): (ฉบับพิเศษ) 32-34. 23 พฤศจิกายน 2510.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าเสา อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (70 ง): 2506–2507. 6 สิงหาคม 2511.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพิจิตรและอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 86 (60 ง): 2062–2066. 1 กรกฎาคม 2512.
  12. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอโพทะเลและกิ่งอำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร พ.ศ. ๒๕๑๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (94 ก): 687–689. 13 ตุลาคม 2513.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (166 ง): 3699–3704. 28 ตุลาคม 2523.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (151 ง): (ฉบับพิเศษ) 80-84. 27 พฤศจิกายน 2535.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางมูลนาก อำเภอโพทะเล อำเภอตะพานหิน และกิ่งอำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (3 ง): 25–47. 9 มกราคม 2539.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอบึงนาราง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (พิเศษ 18 ง): 21. 26 มิถุนายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29.
  17. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-06-06.
  18. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2019-08-29.