อำเภอเชียงคาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอเชียงคาน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Chiang Khan
ภาพเมืองเชียงคาน
ภาพเมืองเชียงคาน
คำขวัญ: 
เชียงคาน เมืองคนงาม ข้าวหลามยาว มะพร้าวแก้ว เพริศแพร้วเกาะแก่ง แหล่งวัฒนธรรม น้อมนำศูนย์ศิลปาชีพ
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอเชียงคาน
แผนที่จังหวัดเลย เน้นอำเภอเชียงคาน
พิกัด: 17°53′54″N 101°39′54″E / 17.89833°N 101.66500°E / 17.89833; 101.66500
ประเทศ ไทย
จังหวัดเลย
พื้นที่
 • ทั้งหมด867.0 ตร.กม. (334.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด60,828 คน
 • ความหนาแน่น70.16 คน/ตร.กม. (181.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 42110
รหัสภูมิศาสตร์4203
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเชียงคาน เลขที่ 44
หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เชียงคาน เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ทางเหนือของจังหวัดเลย

ประวัติ[แก้]

ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน

เดิมเป็นเมืองหน้าด่านเช่นกัน ต่อมา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย และได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมา แต่ในที่สุดเจ้าอนุวงค์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (กิ่ง ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก แล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองเชียงคาน ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก

ครั้งต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคานหรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้

ปัจจุบัน เชียงคานเป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นเมืองท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม และความสงบของวิถีชีวิตผู้ที่อาศัยในท้องถิ่น กอรปกับความงดงามของทัศนียภาพที่อยู่ติดกับแม่น้ำโขง มีเกสเฮาส์หลายแห่งให้บริการ มีถนนคนเดินให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวอีกด้วย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอเชียงคานตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอเชียงคานแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 8 ตำบล 78 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เชียงคาน (Chiang Khan) 6 หมู่บ้าน 5. ปากตม (Pak Tom) 7 หมู่บ้าน
2. ธาตุ (That) 16 หมู่บ้าน 6. บุฮม (Bu Hom) 11 หมู่บ้าน
3. นาซ่าว (Na Sao) 15 หมู่บ้าน 7. จอมศรี (Chom Si) 7 หมู่บ้าน
4. เขาแก้ว (Khao Kaeo) 13 หมู่บ้าน 8. หาดทรายขาว (Hat Sai Khao) 5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอเชียงคานประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเชียงคาน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชียงคาน
  • เทศบาลตำบลเขาแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขาแก้วทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธาตุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงคาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชียงคาน (นอกเขตเทศบาลตำบลเชียงคาน)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาซ่าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาซ่าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากตม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากตมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุฮม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุฮมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลจอมศรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจอมศรีทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหาดทรายขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดทรายขาวทั้งตำบล