อำเภอราชสาส์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอราชสาส์น
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ratchasan
คำขวัญ: 
อำเภอราชสาส์น ตำนานเมืองเก่า
ใบโพธิ์สีขาว ข้าวหอมมะลิ
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น
แผนที่จังหวัดฉะเชิงเทรา เน้นอำเภอราชสาส์น
พิกัด: 13°46′56″N 101°16′54″E / 13.78222°N 101.28167°E / 13.78222; 101.28167
ประเทศ ไทย
จังหวัดฉะเชิงเทรา
พื้นที่
 • ทั้งหมด134.9 ตร.กม. (52.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด12,696 คน
 • ความหนาแน่น94.11 คน/ตร.กม. (243.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 24120
รหัสภูมิศาสตร์2407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอราชสาส์น เลขที่ 87
หมู่ที่ 2 ถนนราชสาส์น-พนมสารคาม ตำบลบางคา อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา 24120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ราชสาส์น เป็นอำเภอจังหวัดฉะเชิงเทรา

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอราชสาส์นมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

เดิมบ้านราชสาสน์ หมู่ 2 ตำบลบางคา อยู่ในเขตการปกครองของท้องที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ต่อมากระทรวงมหาดไทยมีประกาศให้แยกตำบลบางคา ตำบลดงน้อย และตำบลเมืองใหม่ ออกจากอำเภอพนมสารคาม และได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520[1] โดยมีที่ว่าการกิ่งอำเภอราชสาส์นตั้งอยู่ในหมู่ที่ 2 ตำบลบางคา ในที่ดินที่นายอั๋น มันทสูตร์ ยกให้แก่ทางราชการจำนวน 25 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา

โดยชื่อ ราชสาส์น (อ่านว่า ราด-ชะ-สาน) มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพระรถเมรี เนื่องจากที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่บ้านราชสาส์น หมู่ที่ 2 ตำบลบางคา ราษฎรในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียงเรียกกันว่า บ้านราชสาส์น ตอนพระรถนำราชสาส์นของนางยักษ์แม่เลี้ยงไปให้นางเมรีลูกสาวนางยักษ์ เมื่อพระรถนำพระราชสาส์นผ่านบริเวณหมู่ที่ 2 ตำบลบางคา พระรถพบพระฤษีองค์หนึ่งจำศีลภาวนาอยู่ จึงขอพักอาศัยเพราะเป็นเวลาใกล้ค่ำเมื่อพระรถหลับสนิทพระฤษีเห็นกล่องราชสาส์นก็เอามาอ่านดูเห็นข้อความโดยสรุปว่าเมื่อพระรถถึงเช้าให้กินเช้า ถึงเย็นให้กินเย็น หมายถึง ให้พวกยักษ์กินพระรถ พระฤษีเข้าฌาณดูก็รู้ความเป็นมา และเรื่องที่จะเป็นไป ประกอบกับรู้สึกเมตตาสงสารพระรถ พระฤษีจึงทำการเปลี่ยนข้อความในราชสาส์นใหม่ว่า เมื่อพระรถถึงเช้าให้แต่งเช้า ถึงเย็นให้แต่งเย็น หมายความว่า เมื่อพระรถพบนางเมรีเมื่อใด ให้นางเมรีแต่งงานกับพระรถทันที สถานที่ที่พระฤษีแปลงสาส์นให้กับพระรถนี้ จึงใช้เป็นชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า "บ้านราชสาส์น" สืบมาจนถึงทุกวันนี้ และคำว่า "ราชสาส์น" เป็นชื่อที่เป็นมงคลเพราะเป็นสถานที่ที่เปลี่ยนสถานการณ์จากร้ายให้กลายเป็นดี จึงใช้คำว่า "อำเภอราชสาส์น" เป็นชื่อกิ่งอำเภอเพื่อเป็นสิริมงคล มาจนกระทั่งเป็นชื่ออำเภอในปัจจุบัน

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอราชสาส์น ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537[2] โดยมีระยะเวลาในการเป็นกิ่งอำเภอทั้งหมด 17 ปี 101 วัน

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอราชสาส์นแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 3 ตำบล 31 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางคา (Bang Kha) 6 หมู่บ้าน
2. เมืองใหม่ (Mueang Mai) 9 หมู่บ้าน
3. ดงน้อย (Dong Noi) 16 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอราชสาส์นประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางคา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางคาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองใหม่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดงน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงน้อยทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอราชสาส์น" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (13 ง): 773. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537