อำเภอพลับพลาชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอพลับพลาชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Phlapphla Chai
คำขวัญ: 
ตำนานหลักหิน ถิ่นมโหรี มีผ้าไหมงาม ลุ่มลำตาเตียว
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอพลับพลาชัย
แผนที่จังหวัดบุรีรัมย์ เน้นอำเภอพลับพลาชัย
พิกัด: 14°43′48″N 103°10′6″E / 14.73000°N 103.16833°E / 14.73000; 103.16833
ประเทศ ไทย
จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด306.67 ตร.กม. (118.41 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด44,971 คน
 • ความหนาแน่น146.64 คน/ตร.กม. (379.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 31250
รหัสภูมิศาสตร์3115
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพลับพลาชัย หมู่ที่ 9 ถนนประโคนชัย-กระสัง ตำบลสะเดา อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 31250
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พลับพลาชัย เป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอพลับพลาชัย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2530 พื้นที่ด้านทิศเหนือของอำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ห่างไกลจากอำเภอเดิม มีประชากรจำนวนมาก ยากแก่การปกครองและพัฒนา เจ้าหน้าที่ของรัฐออกตรวจตราและเยี่ยมเยียนราษฎรไม่ทั่วถึง และเป็นชุมชนที่มีแนวโน้มว่าจะมีความเจริญต่อไปในอนาคต และเพื่อเป็นการอำนวยความความสะดวก และ ให้บริการแก่ประชาชนในด้านต่างๆ และมีสถานที่เพียงพอที่จะจัดตั้งสถานที่ราชการได้ กระทรวงมหาดไทยและผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์มีความเห็นสอดคล้องต้องกันว่าควรจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้น ปีต่อมา พ.ศ. 2531 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอพลับพลาชัยในท้องที่อำเภอประโคนชัย ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2532 - 2537)

จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ทางราชการได้ประกาศแยกพื้นที่ตำบลจันดุม ตำบลโคกขมิ้น ตำบลป่าชัน ตำบลสะเดา และตำบลสำโรง ของอำเภอประโคนชัย ออกเป็น กิ่งอำเภอพลับพลาชัย[1] และจังหวัดบุรีรัมย์ได้ทำพิธีเปิดป้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 โดยใช้ สถานที่คือ ศาลาการเปรียญวัดบ้านสะเดา เป็นที่ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอพลับพลาชัย (ชั่วคราว) โดยใช้ชื่อกิ่งอำเภอว่า "พลับพลาชัย" เป็นการนำคำว่า พลับพลา ซึ่งมาจากชื่อหมู่บ้านพลับพลา มาผนวกกับคำว่า "ชัย" ซึ่ง เป็นนามคำท้ายของอำเภอประโคนชัย ซึ่งเป็นอำเภอเดิมนำมารวมกันเป็น "พลับพลาชัย"

ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อพื้นที่มีความเจริญ เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ ไปรษณีย์โทรเลข[2] รวมทั้งศูนย์ราชการ และเป็นที่ประชุมชนมากขึ้น จึงกำหนดเขตพื้นที่หมู่ 2 บ้านพลับพลา หมู่ 1,9,12 บ้านสะเดา หมู่ 4,10 บ้านนกเกรียน หมู่ 5 บ้านโคกกี่ หมู่ 7 บ้านโคกตะเคียน ตั้งเป็น สุขาภิบาลพลับพลาชัย[3] ก่อนที่ในวันที่ 3 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอพลับพลาชัย[4] เป็นอำเภอลำดับที่ 15 ของจังหวัดบุรีรัมย์

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอพลับพลาชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 67 หมู่บ้าน

1. จันดุม (Chan Dum) 18 หมู่บ้าน
2. โคกขมิ้น (Khok Khamin) 15 หมู่บ้าน
3. ป่าชัน (Pa Chan) 10 หมู่บ้าน
4. สะเดา (Sadao) 13 หมู่บ้าน
5. สำโรง (Samrong) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอพลับพลาชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลพลับพลาชัย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลสะเดา
  • เทศบาลตำบลจันดุม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจันดุมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโคกขมิ้น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกขมิ้นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าชันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะเดา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะเดา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพลับพลาชัย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอพลับพลาชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1887. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
  2. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขบ้านพลับพลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (6 ง): 119. วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2535
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลพลับพลาชัย กิ่งอำเภอพลับพลาชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (36 ง): 16–18. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
  4. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเปือยน้อย อำเภอภูผาม่าน อำเภอราชสาส์น อำเภอเกาะสีชัง อำเภอไชยปราการ อำเภอนาหมื่น อำเภอสันติสุข อำเภอพลับพลาชัย อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอนาหม่อม อำเภอท่าแพ อำเภอชัยบุรี และอำเภอศรีวิไล พ.ศ. ๒๕๓๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (21 ก): 32–34. วันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537