อำเภอปากพะยูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอปากพะยูน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pak Phayun
คำขวัญ: 
ทะเลสาบงาม เมืองสามแผ่นดิน
ถิ่นรังนกนางแอ่น แท่นพระนอนยอดเขา
ภูมิลำเนาสัตว์น้ำกร่อย
แผนที่จังหวัดพัทลุง เน้นอำเภอปากพะยูน
แผนที่จังหวัดพัทลุง เน้นอำเภอปากพะยูน
พิกัด: 7°20′30″N 100°19′0″E / 7.34167°N 100.31667°E / 7.34167; 100.31667
ประเทศ ไทย
จังหวัดพัทลุง
พื้นที่
 • ทั้งหมด433.3 ตร.กม. (167.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด50,660 คน
 • ความหนาแน่น116.92 คน/ตร.กม. (302.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 93120
รหัสภูมิศาสตร์9306
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปากพะยูน หมู่ที่ 3 ถนนปากพะยูน-หารเทา ตำบลปากพะยูน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง 93120
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปากพะยูน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพัทลุง เดิมชื่อ อำเภอทักษิณ[1] ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2445 ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่ออำเภอปากพะยูน ตามชื่อที่ราษฎรในท้องที่เรียก ท้องที่อาณาเขตเดิมของอำเภอปากพะยูน ครอบคลุมพื้นที่ 6 อำเภอในปัจจุบัน คือ อำเภอเขาชัยสน[2][3] อำเภอตะโหมด[4] อำเภอบางแก้ว[5] อำเภอป่าบอน[6][7] จังหวัดพัทลุง รวมไปถึงเขตอำเภอรัตภูมิ[8] และอำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา ซึ่งได้แบ่งแยกเขตการปกครองออกเรื่อยมา

ประวัติ[แก้]

"ปากพะยูน" หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ปากยูน" เป็นอำเภอเก่าแก่ ที่ตั้งขึ้นในยุคแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบจตุสดมภ์ หรือ ระบบกินเมือง เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล การเป็นอยู่ของประชากร เดิมทีมีประชากรอาศัยอยู่น้อยมาก แต่เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยปลาในทะเลจำนวนมากทำให้ต่อมาเมื่อประชาชนเข้ามาอาศัยจับสัตว์น้ำได้รับผลประโยชน์อย่างมากทำให้ประชาชนจากถิ่นต่างๆ ก็เริ่มอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนตามริมฝั่งทะเลสาบมากขึ้น เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้นมากแล้ว เจ้าเมืองพัทลุงจึงตั้งหัวหน้าคอยควบคุมดูแล เรียกว่า "หัวเมือง" มีหน้าที่ปกครองระงับทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในเขตนี้ ทั้งมีหน้าที่เป็นนายด่านตรวจคนเข้าออกระหว่างเมืองพัทลุงกับเมืองสงขลา

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น ประกอบด้วย เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา เมืองพัทลุง และหัวเมืองแขก 7 หัวเมือง ซึ่งเมืองพัทลุงได้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร และอำเภอทักษิณ

  • วันที่ - 2435 ยกฐานะตำบลรัตตภูมิ อำเภอทักษิณ ขึ้นเป็น กิ่งอำเภอรัตภูมิ ขึ้นกับอำเภอทักษิณ และโอนไปขึ้นกับจังหวัดสงขลา
  • วันที่ - 2477 โอนพื้นที่ตำบลคูหาใต้ ตำบลกำแพงเพชร และตำบลท่าชะมวง อำเภอปากพะยูน ไปขึ้นกับอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองจีน อำเภอปากพะยูน เป็น ตำบลโคกทราย[9]
  • วันที่ 6 พฤศจิกายน 2482 โอนพื้นที่ตำบลท่ามะเดื่อ และตำบลจองถนน อำเภอปากพะยูน ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอลำปำ[5]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2490 ตั้งตำบลเกาะนางคำ แยกออกจากตำบลเกาะหมาก ตั้งตำบลฝาละมี แยกออกจากตำบลปากพะยูน และตำบลป่าบอน ตั้งตำบลห้วยลึก แยกออกจากตำบลปากพะยูน และตำบลโคกทราย[10]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลห้วยลึก อำเภอปากพะยูน เป็น ตำบลดอนประดู่[11]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลปากพะยูน ในท้องที่บางส่วนของตำบลปากพะยูน[12]
  • วันที่ 6 ธันวาคม 2498 โอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลตะโหมด ไปขึ้นกับตำบลป่าบอน และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาปะขอ ไปขึ้นกับตำบลฝาละมี[13]
  • วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2499 โอนพื้นที่ตำบลนาปะขอ และตำบลตะโหมด อำเภอปากพะยูน ไปขึ้นกับอำเภอเขาชัยสน[4]
  • วันที่ 25 กันยายน 2522 ตั้งตำบลหนองธง แยกออกจากตำบลโคกทราย และตำบลป่าบอน[14]
  • วันที่ 23 กันยายน 2523 ตั้งตำบลหารเทา แยกออกจากตำบลฝาละมี[15]
  • วันที่ 26 เมษายน 2526 แยกพื้นที่ตำบลป่าบอน ตำบลหนองธง และตำบลโคกทราย อำเภอปากพะยูน มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอป่าบอน ขึ้นกับอำเภอปากพะยูน[6]
  • วันที่ 20 กันยายน 2526 โอนพื้นที่หมู่ 1,2,3,4 (ในขณะนั้น) ของตำบลโคกทราย กิ่งอำเภอป่าบอน อำเภอปากพะยูน มาตั้งเป็นหมู่ที่ 12,13,14,15 ของตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน[16]
  • วันที่ 23 มิถุนายน 2530 ตั้งตำบลทุ่งนารี แยกออกจากตำบลหนองธง[17]
  • วันที่ 21 พฤษภาคม 2533 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอป่าบอน อำเภอปากพะยูน เป็น อำเภอป่าบอน[7]
  • วันที่ 7 กันยายน 2533 ตั้งตำบลดอนทราย แยกออกจากตำบลดอนประดู่[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากพะยูน เป็นเทศบาลตำบลปากพะยูน[19] ด้วยผลของกฎหมาย

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอปากพะยูนตั้งอยู่ทางตอนล่างของจังหวัด ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 63 กิโลเมตร เป็นอำเภอที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมากที่สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอปากพะยูนแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 ตำบล 63 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ปากพะยูน (Pak Phayun) 6 หมู่บ้าน 5. ฝาละมี (Falami) 11 หมู่บ้าน
2. ดอนประดู่ (Don Pradu) 11 หมู่บ้าน 6. หารเทา (Han Thao) 9 หมู่บ้าน
3. เกาะนางคำ (Ko Nang Kham) 9 หมู่บ้าน 7. ดอนทราย (Don Sai) 6 หมู่บ้าน
4. เกาะหมาก (Ko Mak) 10 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอปากพะยูนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

อ้างอิง[แก้]

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เปลี่ยนชื่ออำเภอ]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 19 (52): 1010. 15 มีนาคม 2445. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-04. สืบค้นเมื่อ 2011-09-16.
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [หลวงทิพกำแหงสงคราม พร้อมด้วยพันฤทธิ์, พันสงกำนันและพระครูการามเจ้าคณะแขวงอำเภอปากพยูนได้ขอแรงราษฎรในตำบลนาโตนด ตำบลควรขนุน ๒ หมู่บ้านขุดคลองคอกช้างในตำบลหารโพธิ์ แขวงเมืองพัทลุง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 22 (49): 1114. 4 มีนาคม 2448.
  3. "ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง งดเก็บเงินอากรค่านาตำบลต่าง ๆ ท้องที่อำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน พระพุทธศักราช ๒๔๕๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 83–84. 20 พฤษภาคม 2460.
  4. 4.0 4.1 "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในท้องที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดพัทลุง พ.ศ. ๒๔๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (16 ก): 147–150. 21 กุมภาพันธ์ 2499.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอและกิ่งอำเภอ จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 2379–2380. 6 พฤศจิกายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  6. 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ตั้งเป็นกิ่งอำเภอป่าบอน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (65 ง): 1318. 26 เมษายน 2526. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  7. 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอหนองนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. 21 พฤษภาคม 2533. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  8. "ประกาศ ยกเลิกเก็บเงินอากรค่านาวิธีนาคู่โค ใน มณฑล นครศรีธรรมราชเปลี่ยนเก็บเป็นวิธีนาฟางลอย ทั่วไป และตั้งอัตราชั้นที่นาบางตำบลใหม่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ก): 46–50. May 21, 1912.
  9. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอและตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 877–882. 25 กันยายน 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (33 ง): 1930–1974. 29 กรกฎาคม 2490.
  11. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอและตำบลบางแห่ง พ.ศ. ๒๔๙๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (25 ก): 492–496. 14 เมษายน 2496. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-08.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากพยูน อำเภอปากพยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 146-147. 17 กันยายน 2498.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่จังหวัดขอนแก่น แม่ฮ่องสอน อุทัยธานี ปัตตานี สงขลา นครราชสีมา และพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (94 ง): 2918–2920. 6 ธันวาคม 2498.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (167 ง): 3282–3288. 25 กันยายน 2522.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (147 ง): 3330–3345. 23 กันยายน 2523.
  16. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอป่าบอน อำเภอปากพะยูน กับอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (149 ง): 3393–3399. 20 กันยายน 2526.
  17. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอป่าบอน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (118 ง): 4240–4243. 23 มิถุนายน 2530.
  18. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (168 ง): (ฉบับพิเศษ) 93-97. 7 กันยายน 2533.
  19. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.