อำเภอปักธงชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอปักธงชัย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Pak Thong Chai
คำขวัญ: 
ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม
ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหมี หมี่ตะคุ
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอปักธงชัย
แผนที่จังหวัดนครราชสีมา เน้นอำเภอปักธงชัย
พิกัด: 14°43′11″N 102°1′17″E / 14.71972°N 102.02139°E / 14.71972; 102.02139
ประเทศ ไทย
จังหวัดนครราชสีมา
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,374.3 ตร.กม. (530.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด116,184 คน
 • ความหนาแน่น84.54 คน/ตร.กม. (219.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 30150
รหัสภูมิศาสตร์3014
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอปักธงชัย ถนนสืบศิริ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ปักธงชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด เป็นแหล่งทอผ้าไหมมัดหมี่ที่สวยงาม

ประวัติศาสตร์[แก้]

สมัยโบราณ เดิมปักธงชัยเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ขอมเรืองอำนาจ ทั้งนี้สันนิษฐานได้จากเขตอำเภอปักธงชัยมีซากปรักหักพังของปรางค์ หรือ เทวาลัยหลายแห่งที่เป็นศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ขอมนิยมสร้างตามเมืองต่างๆ ที่ตนปกครองอยู่ใหญ่บ้าง เล็กบ้างตามความสำคัญของแต่ละเมือง เช่น ปรางค์นาแค ปราสาทสระหิน ปรางค์บ้านปรางค์ ปรางค์กู่เกษม

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏตามแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฏชื่อ เมืองปักว่าตั้งอยู่ใกล้เมืองนครราชสีมา ความสำคัญก็คือ เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นกองระวังหน้าคอยสอดแนมข้าศึกและคอยปะทะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ข้าศึกยกทัพประชิดเมืองนครราชสีมาเร็วเกินไป เมืองปักในสมัยนี้จึงถูกตั้งและเรียกว่า “ด่านจะโปะ” เช่นเดียวกับ ด่านเกวียน ด่านจอหอ ด่านขุนทด เป็นต้น

ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกกองทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์และได้รับชัยชนะขากลับ จึงได้กวาดต้อนเชลยชายหญิงพร้อมกับเพี้ยอุปราช และ ให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ด่านจะโปะครั้นชาวเมืองเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) จึงกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งด่านจะโปะเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองปัก” (ยังไม่มีคำว่าธงชัย) และได้กราบบังคมทูลขอให้เพี้ยอุปราชเป็นเจ้าเมืองปักคนแรก พระราชทานนามว่า “พระยาวงศาอรรคราช” (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นตระกูลวรธงไชย ขณะนี้) เมืองปักในสมัยนี้เป็นเมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2323

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาวเมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทานนามว่า “ ท้าวสุรนารี ” การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และ ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งชาวเวียงจันทร์ได้อพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่างก็มีที่ทำมาหากินสุขสบายมาเป็นเวลา 47 ปี จึงพร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป (ปัจจุบันชาวเวียงจันทน์เป็นบรรพบุรุษ ของชาวตำบลตะคุทั้งตำบล ตำบลเมืองปักบางหมู่บ้าน ตำบลธงชัยเหนือบางหมู่บ้าน ตำบลบลสะแกราชบางหมู่บ้าน ตำบลตะขบบางหมู่บ้าน)

  • พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระเบียบราชการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองปักธงชัยจึงถูกยุบลงเป็นอำเภอปักธงชัย ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา โดยมีพระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) ชาวไทยมุสลิม เป็นนายอำเภอปักธงไชยคนแรก[1]
  • พ.ศ. 2451 ตั้งอำเภอ เรียกว่า อำเภอปักธงไชย
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2482 ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช โดยให้ตำบลสะแกราช และ ตำบลสำโรง ขึ้นกับอำเภอปักธงไชย (ในขณะนั้น) และ ตำบลครบุรี ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอแซะ อำเภอกระโทก (โชคชัย) ปัจจุบันคือ อำเภอครบุรี [2]
  • วันที่ 30 สิงหาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองปัก ในท้องที่บางส่วนของตำบลเมืองปัก [3]
  • พ.ศ. 2508 เปลี่ยนชื่อจากอำเภอปักธงไชย เป็น อำเภอปักธงชัย เพื่อให้ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสถาน
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2518 ตั้งตำบลวังน้ำเขียว แยกออกจากตำบลสะแกราช [4]
  • วันที่ 1 กันยายน 2521 ตั้งตำบลลำนางแก้ว แยกออกจากตำบลตะขบ [5]
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ตั้งตำบลวังหมี แยกออกจากตำบลตะขบ [6]
  • วันที่ 1 เมษายน 2524 ตั้งตำบลระเริง แยกออกจากตำบลตะขบ [7]
  • วันที่ 6 กันยายน 2528 ตั้งตำบลอุดมทรัพย์ แยกออกจากตำบลวังน้ำเขียว [8]
  • วันที่ 1 สิงหาคม 2529 ตั้งตำบลภูหลวง แยกออกจากตำบลสะแกราช [9]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลธงชัยเหนือ แยกออกจากตำบลเมืองปัก และ ตั้งตำบลสุขเกษม แยกออกจากตำบลตูม [10]
  • วันที่ 10 สิงหาคม 2532 ตั้งตำบลเกษมทรัพย์ แยกออกจากตำบลสำโรง [11]
  • วันที่ 1 เมษายน 2535 ยกพื้นที่ตำบลวังน้ำเขียว ตำบลวังหมี ตำบลอุดมทรัพย์ และตำบลระเริง แยกออกจากอำเภอปักธงชัย ไปตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว ขึ้นกับอำเภอปักธงชัย [12]
  • วันที่ 24 กันยายน 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลตะขบ ในท้องที่บางส่วนของตำบลตะขบ และ บางส่วนของตำบลลำนางแก้ว [13]
  • วันที่ 20 มกราคม 2537 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองปัก [14]
  • วันที่ 7 กันยายน 2538 ตั้งตำบลบ่อปลาทอง แยกออกจากตำบลลำนางแก้ว [15]
  • วันที่ 5 ธันวาคม 2539 ยกฐานะเป็นอำเภอวังน้ำเขียว [16]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองปัก และ สุขาภิบาลตะขบ เป็น เทศบาลตำบลเมืองปัก และ เทศบาลตำบลตะขบ
  • วันที่ 9 มีนาคม 2555 ยกฐานะเทศบาลตำบลเมืองปัก เป็นเทศบาลเมืองเมืองปัก

ทำเนียบรายนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปักธงชัย[แก้]

  • 1. พระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) (พ.ศ. 2451-2460)
  • 2. พระชนูปกาลกิจ (ทัสน์ มาศรัตน์) (พ.ศ. 2461-2465)
  • 3. พระพลราษฎร์บำรุง (แสง อุเทนสุด) (พ.ศ. 2466-2468)
  • 4. หลวงนิวาส วัฒนกิจ (พ.ศ. 2469-2477)
  • 5. ขุนศรีนรารักษ์ (พ.ศ. 2478-2479)
  • 6. นายเคลื่อน จิตสำเริง (พ.ศ. 2479-2480)
  • 7. นายขำ ทูลศิริ (พ.ศ. 2480-2483)
  • 8. นายพล จุฑางกูล (พ.ศ. 2484-2486)
  • 9. นายโชติ เชื้อศรีแก้ว (พ.ศ. 2487-2489)
  • 10. นายชิน ราชพิตร (พ.ศ. 2490-2494)
  • 11. นายประธาน วุฒิประไพ (พ.ศ. 2495-2496)
  • 12. ร.ต.ต.คลี่ วัลลิภากร (พ.ศ. 2497-2499)
  • 13. นายสัญทัด บุญประคอง (พ.ศ. 2499-2501)
  • 14. ร.ต.ต.คลี่ วัลลิภากร (พ.ศ. 2501-2505)
  • 15. นายอนันต์ อนันตกูล (พ.ศ. 2505-2506)
  • 16. นายสงวน รักษ์สุจริต (พ.ศ. 2506-2507)
  • 17. นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ (พ.ศ. 2507-2511)
  • 18. นายสงวน ประพันธ์โรจน์ (พ.ศ. 2511-2514)
  • 19. นายไพทูรย์ สุนทรวิภาค (พ.ศ. 2514-2516)
  • 20. นายจำรัส พรรังสฤษฎ์ (พ.ศ. 2516-2519)
  • 21. นายบุญธรรม ใจรักพันธุ์ (พ.ศ. 2519-2520)
  • 22. นายประศาสน์ สุวรรณคำ (พ.ศ. 2520-2523)
  • 23. นายประยูร ห่อประทุม (พ.ศ. 2523-2527)
  • 24. นายไพบูลย์ จินดารัตน์ (พ.ศ. 2527-2529)
  • 25. นายปัญญารัตน์ ปานทอง (พ.ศ. 2529-2530)
  • 26. ร.ต.ประพันธ์ สุนทรมณี (พ.ศ. 2530-2533)
  • 27. นายเจริญ พรหมพนิต (พ.ศ. 2533-2535)
  • 28. นายเผด็จ โสมจะบก (พ.ศ. 2535-2536)
  • 29. นายเอกสิทธิ์ บุตรคล้าย (พ.ศ. 2536-2539)
  • 30. นายไชยยศ ปิติฤกษ์ (พ.ศ. 2539-2540)
  • 31. นายขวัญชัย วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ (พ.ศ. 2540-2543)
  • 32. นายสุเมธ ศรีพงษ์ (พ.ศ. 2543-2545)
  • 33. นายนพดล ชินะจิตร (พ.ศ. 2545-2548)
  • 34. นายชัยยงค์ ฮมภิรมย์ (พ.ศ. 2548-2550)
  • 35. นายสุรพจน์ รัชชุศิริ (พ.ศ. 2550-2551)
  • 36. นายปิยะ ปรีดารมย์โรจน์ (พ.ศ. 2551-2553)
  • 37. นายสิทธิศักดิ์ พรประสิทธิ์สุข (พ.ศ. 2554-28 กันยายน 2555)
  • 38. นายสุรพันธ์ ศิลปะสุวรรณ (รักษาการแทน) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2555- 2556)
  • 39. นายภูมิสิทธิ์ วังคีรี (พ.ศ. 2556-2558)
  • 40. นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ (พ.ศ. 2558-2559)
  • 41. นายวิสูตร ชัชวาลวงศ์ (พ.ศ. 2559-2562)
  • 42. นายอำนวย ปองนาน (พ.ศ. 2562-2563)
  • 43. นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ (พ.ศ. 2563-2565)
  • 44.ร้อยโทอนุชา ตั้งพาณิชย์ (13 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2565 -2 มกราคม พ.ศ. 2566)
  • 45. นายสุพจน์ แสนมี (3 มกราคม พ.ศ. 2566 - 28 มกราคม พ.ศ.2567)
  • 46. นายกฤษณธร เลิศสำโรง (29 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอปักธงชัยตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอปักธงชัยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 16 ตำบล 215 หมู่บ้าน

ลำดับที่ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด
(พ.ศ. 2560)[17]
ประชากรแยกตามส่วนท้องถิ่น
(พ.ศ. 2560)[17]
1. เมืองปัก Mueang Pak 18 18,228 13,020
5,208
(ทม.เมืองปัก)
(ทต.ปักธงชัย)
2. ตะคุ Takhu 21 12,289 12,289 (อบต.ตะคุ)
3. โคกไทย Khok Thai 11 4,809 4,809 (อบต.โคกไทย)
4. สำโรง Samrong 10 3,500 3,500 (อบต.สำโรง)
5. ตะขบ Takhop 22 14,539 4,287
10,252
(ทต.ตะขบ)
(อบต.ตะขบ)
6. นกออก Nok Ok 10 5,888 5,888 (ทต.นกออก)
7. ดอน Don 12 4,251 4,251 (อบต.ดอน)
8. ตูม Tum 16 5,536 5,536 (อบต.ตูม)
9. งิ้ว Ngio 16 6,731 6,731 (อบต.งิ้ว)
10. สะแกราช Sakae Rat 15 8,601 8,601 (อบต.สะแกราช)
11. ลำนางแก้ว Lam Nang Kaeo 9 5,282 493
4,789
(ทต.ตะขบ)
(ทต.ลำนางแก้ว)
12. ภูหลวง Phu Luang 9 5,783 5,783 (อบต.ภูหลวง)
13. ธงชัยเหนือ Thong Chai Nuea 16 9,428 1,101
8,327
(ทม.เมืองปัก)
(อบต.ธงชัยเหนือ)
14. สุขเกษม Suk Kasem 11 4,780 4,780 (อบต.สุขเกษม)
15. เกษมทรัพย์ Kasem Sap 9 3,629 3,629 (อบต.เกษมทรัพย์)
16. บ่อปลาทอง Bo Pla Thong 10 4,316 589
3,727
(ทต.ตะขบ)
(ทต.บ่อปลาทอง)
รวม 215 117,589 34,313 (เทศบาล)
83,276 (อบต.)

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอปักธงชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองเมืองปัก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองปักและตำบลธงชัยเหนือ
  • เทศบาลตำบลตะขบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลตะขบ ตำบลลำนางแก้ว และตำบลบ่อปลาทอง
  • เทศบาลตำบลลำนางแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำนางแก้ว (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
  • เทศบาลตำบลบ่อปลาทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อปลาทอง (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
  • เทศบาลตำบลนกออก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนกออกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปักธงชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองปัก (นอกเขตเทศบาลเมืองเมืองปัก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะคุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะคุทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกไทย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกไทยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสำโรง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสำโรงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะขบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะขบ (นอกเขตเทศบาลตำบลตะขบ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสะแกราช ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสะแกราชทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลภูหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลธงชัยเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลธงชัยเหนือ (นอกเขตเทศบาลเมืองเมืองปัก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสุขเกษม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสุขเกษมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกษมทรัพย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกษมทรัพย์ทั้งตำบล

สถานศึกษา สถานที่ราชการ ธนาคาร และการคมนาคม[แก้]

สถาบันอุดมศึกษา[แก้]

สถาบันการอาชีวศึกษา[แก้]

โรงเรียนระดับประถมศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร เก็บถาวร 2020-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • โรงเรียนชุมชนบ้านตะขบ
  • โรงเรียนธงชัยเหนือวิทยา (โคกศิลา)
  • โรงเรียนบ้านเขาพญาปราบ
  • โรงเรียนบ้านโคกเกษม (สหรัฐ-ราษฎร์สามัคคี)
  • โรงเรียนบ้านดอน (สหรัฐ-ราษฎร์อุทิศ)
  • โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา)
  • โรงเรียนบ้านโคกสำราญ
  • โรงเรียนบ้านนางเหริญ
  • โรงเรียนบ้านโนนแดง
  • โรงเรียนบ้านบ่อปลา
  • โรงเรียนแหลมรวกบำรุง
  • โรงเรียนอาจวิทยาคาร
  • โรงเรียนหนองไผ่ผดุงกิจวิทยา
  • โรงเรียนหนองประดู่
  • โรงเรียนหนองนกเขียนสามัคคี
  • โรงเรียนหนองชุมแสงศรัทธาคาร
  • โรงเรียนสะแกราชวิทยาคม
  • โรงเรียนสวนหมากสงเคราะห์
  • โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 2
  • โรงเรียนบ้านอ่างเก็บน้ำห้วยยาง
  • โรงเรียนบ้านเมืองปักสามัคคี
  • โรงเรียนบ้านโกรกหว้า

โรงเรียนมัธยมและหน่วยงานราชการ[แก้]

หน่วยงานราชการ[แก้]

  • ที่ว่าการอำเภอปักธงชัย
  • สถานีตำรวจภูธรปักธงชัย
  • สาธารณสุขอำเภอปักธงชัย
  • โรงพยาบาลปักธงชัย
  • สำนักงานประปาส่วนภูมิภาค สาขาปักธงชัย
  • การไฟฟ้าอำเภอปักธงชัย
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา สาขาอำเภอปักธงชัย
  • หน่วยสัสดีอำเภอปักธงชัย
  • กิ่งกาชาดอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
  • สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปักธงชัย
  • ด่านกักกันสัตว์จังหวัดนครราชสีมา สาขาปักธงชัย
  • ค่ายปักธงชัย (กรมทหารพรานที่ 26)
  • สำนักเกษตรอำเภอปักธงชัย
  • สำนักงานประถมศึกษาเขต 3 นครราชสีมา

ธนาคาร[แก้]

การคมนาคม[แก้]

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดหน้าพระธาตุ (วัดตะคุ) ตำบลตะคุ
  • วัดม่วงสระน้อย ตำบลนกออก
  • วัดปทุมคงคา (วัดนกออก) ตำบลนกออก
  • วัดพระเพลิง (วัดหงษ์) ตำบลนกออก
  • วัดป่านางเหริญ ตำบลเกษมทรัพย์
  • วัดเขาตะกุดรัง ตำบลสะแกราช
  • ปราสาทบ้านปรางค์ ตำบลนกออก
  • ปราสาทสระหิน ตำบลตะคุ
  • ปราสาทนาแค ตำบลเมืองปัก
  • ปราสาทกู่เกษม ตำบลสะแกราช
  • พิพิธภัณฑ์วัดพรมราช ตำบลตูม
  • เขื่อนลำพระเพลิง ตำบลตะขบ
  • อ่างเก็บน้ำลำสำลาย ตำบลตะขบ
  • อ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตำบลธงชัยเหนือ
  • จิม ทอมป์สัน ฟาร์ม ตำบลตะขบ

บุคคลที่มีชื่อเสียงของอำเภอปักธงชัย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ปัก
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบกิ่งอำเภอสะแกราช ขึ้นอำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56: 3380. 12 กุมภาพันธ์ 2482.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเมืองปัก อำเภอปักธงไชย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (พิเศษ 75 ง): 20–21. 20 กันยายน 2499.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (109 ง): 1405–1411. 10 มิถุนายน 2518.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอบัวใหญ่และอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3717–3732. 31 ตุลาคม 2521.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 97 (118 ง): 2660–2662. 5 สิงหาคม 2523.
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอครบุรี อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (68 ง): 1296–1303. 5 พฤษภาคม 2524.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอชุมพวง อำเภอปักธงชัย อำเภอพิมาย อำเภอครบุรี อำเภอบัวใหญ่ อำเภอจักราช และอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (192 ง): 6095–6133. 17 ธันวาคม 2528.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (พิเศษ 219 ง): 16–20. 12 ธันวาคม 2529.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอจักราช ชุมพวงบัวใหญ่ ประทาย ปักธงชัย และสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (140 ง): 5122–5146. 23 กรกฎาคม 2530.
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (พิเศษ 154 ง): 101–110. 15 กันยายน 2532.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป็นกิ่งอำเภอวังน้ำเขียว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 53 ง): 13. 22 เมษายน 2535. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (พิเศษ 175 ง): 15–16. 26 ตุลาคม 2536.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 111 (20 ง): 9–11. 10 มีนาคม 2537.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเสิงสาง อำเภอหนองบุนนาก และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (91 ง): 68–90. 14 พฤศจิกายน 2538.
  16. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. 2539" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. 20 พฤศจิกายน 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2010-05-12.
  17. 17.0 17.1 [1] กรมการปกครอง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]