อำเภอบางปะหัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอบางปะหัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Bang Pahan
คำขวัญ: 
งอบสวยวิจิตร อิฐทนทาน
มันเทศหอมหวาน งามตระการ
บ้านทรงไทย เมืองชัยพระเจ้าตาก
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางปะหัน
แผนที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เน้นอำเภอบางปะหัน
พิกัด: 14°27′45″N 100°32′41″E / 14.46250°N 100.54472°E / 14.46250; 100.54472
ประเทศ ไทย
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พื้นที่
 • ทั้งหมด121.9 ตร.กม. (47.1 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด41,197 คน
 • ความหนาแน่น337.96 คน/ตร.กม. (875.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 13220
รหัสภูมิศาสตร์1407
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอบางปะหัน เลขที่ 139 หมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13220
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

บางปะหัน เป็นอำเภอหนึ่ง ใน 16 อำเภอของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อ อำเภอนครใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน[1]

ประวัติ[แก้]

อำเภอบางปะหัน เดิมชื่อว่า อำเภอนครใน เคยตั้งอยู่ริมคลองบางนางร้า บริเวณหลังวัดอินกัลยา (ปัจจุบันคือ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านลี่) พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาอยู่ที่บริเวณริมแม่น้ำลพบุรี ฝั่งตะวันออกในท้องที่ตำบลเกาะเลิ่งขณะนี้ (ปัจจุบัน คือหมู่ที่ 6 ตำบลบางปะหัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางปะหัน ประมาณ 100 เมตร ไปทางทิศใต้เพื่อความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ แลเพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมในสมัยนั้น ซึ่งแต่เดิมต้องใช้เรือเป็นพาหนะในการเดินทางรูปแบบของอำเภอเป็นแบบปั้นหยา ทรงเตี้ยเสาก่อด้วยอิฐ แบบอาคารสมัยรัชการที่ 5 และยังคงใช้ชื่อว่า “อำเภอนครใน”ตามเดิม

พ.ศ. 2459 ในสมัยรัชการที่ 6 ได้เปลี่ยนคำว่า ”เมือง” ให้เป็น “จังหวัด” แบ่งจังหวัดเป็นอำเภอ และแบ่งอำเภอออกเป็นตำบลให้เหมาะสม ตำบลเกาะเลิ่งซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ ได้ถูกเปลี่ยนแปลงออกเป็น 2 ตำบล โดยถือแนวคลองเกาะเลิ่งเป็นแนวเขตแบ่งตำบล ฝั่งตะวันออกของคลอง ที่อยู่ฝั่งเดียวกับหมู่บ้านบางปะหัน ให้เป็นตำบลบางปะหัน ตำบลเกาะเลิ่งเดิมนั้นยกเลิก ไม่เป็นตำบลอีกต่อไป ส่วนชื่ออำเภอ ทางราชการมีนโยบายให้เปลี่ยนชื่อตามตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ จึงได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอนครใน มาเป็นอำเภอบางปะหัน ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พ.ศ. 2464 ที่ว่าการอำเภอหลังเก่าชำรุดทรุดโทรม และได้สร้างใหม่ในบริเวณใกล้เคียง ห่างจากที่เดิมไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร (คือที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน) และได้รื้อหลังเก่าออก เพื่อใช้เป็นที่สร้างบ้านพักของข้าราชการ ดังปัจจุบัน คือ บางปะหัน เป็นชื่อเก่าแก่ของหมู่บ้าน ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอตามชื่อดังกล่าวข้างต้น พ.ศ. 2536 อำเภอได้รับงบประมาณจากกรมการปกครองให้สร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ในที่เดิม[2]

  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอนครใน จังหวัดกรุงเก่า เป็น อำเภอบางปะหัน[1]
  • วันที่ 15 พฤษภาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางนางร้า ไปขึ้นกับตำบลทับน้ำ กับโอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางนางร้า ไปขึ้นกับตำบลบ้านลี่ และโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลหันสัง ไปขึ้นกับตำบลตานิม[3]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลขยาย แยกออกจากตำบลบางเดื่อ และตำบลโพธิ์สามต้น ตั้งตำบลบ้านลี่ แยกออกจากตำบลขวัญเมือง ตั้งตำบลบ้านม้า แยกออกจากตำบลทับน้ำ ตั้งตำบลตานิม แยกออกจากตำบลบางนางร้า ตั้งตำบลทางกลาง แยกออกจากตำบลเสาธง ตั้งตำบลตาลเอน แยกออกจากตำบลบ้านขล้อ ตั้งตำบลบางเพลิง แยกออกจากตำบลบ้านขล้อ และตำบลเสาธง[4]
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2496 โอนพื้นที่หมู่ 8 (ในขณะนั้น) ของตำบลบางปะหัน ไปขึ้นกับตำบลเสาธง กับโอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลตาลเอน ไปขึ้นกับตำบลบ้านขล้อ และโอนพื้นที่หมู่ 4 (ในขณะนั้น) ของตำบลขยาย ไปขึ้นกับตำบลบางเดื่อ[5]
  • วันที่ 28 พฤศจิกายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน ในท้องที่บางส่วนของตำบลบางปะหัน ตำบลบางนางร้า และตำบลขวัญเมือง[6][7]
  • วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทเลา ในท้องที่ตำบลพุทเลา[8]
  • วันที่ 3 พฤศจิกายน 2507 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางปะหัน[9] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2519 โอนพื้นที่หมู่ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลขวัญเมือง ไปตั้งเป็นหมู่ 5 ของตำบลบ้านลี่[10]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะสุขาภิบาลบางปะหัน เป็น เทศบาลตำบลบางปะหัน[11] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ยุบสภาตำบลทางกลาง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเสาธง ยุบสภาตำบลตาลเอน และสภาตำบลบางเพลิง รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขล้อ ยุบสภาตำบลบางนางร้า รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลตานิม[12]
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลขวัญเมือง รวมกับเทศบาลตำบลบางปะหัน[13] ยุบสภาตำบลบ้านม้า รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทับน้ำ[14]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม 2548 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลขยาย รวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น[15]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอบางปะหันตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภอบางปะหันแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 17 ตำบล 94 หมู่บ้าน ได้แก่

1. บางปะหัน (Bang Pahan) 7 หมู่บ้าน 10. ทับน้ำ (Thap Nam) 5 หมู่บ้าน
2. ขยาย (Khayai) 6 หมู่บ้าน 11. บ้านม้า (Ban Ma) 4 หมู่บ้าน
3. บางเดื่อ (Bang Duea) 6 หมู่บ้าน 12. ขวัญเมือง (Khwan Mueang) 5 หมู่บ้าน
4. เสาธง (Sao Thong) 5 หมู่บ้าน 13. บ้านลี่ (Ban Li) 5 หมู่บ้าน
5. ทางกลาง (Thang Klang) 4 หมู่บ้าน 14. โพธิ์สามต้น (Pho Sam Ton) 8 หมู่บ้าน
6. บางเพลิง (Bang Phloeng) 3 หมู่บ้าน 15. พุทเลา (Phutlao) 12 หมู่บ้าน
7. หันสัง (Hansang) 7 หมู่บ้าน 16. ตาลเอน (Tan En) 3 หมู่บ้าน
8. บางนางร้า (Bang Nang Ra) 5 หมู่บ้าน 17. บ้านขล้อ (Ban Khlo) 5 หมู่บ้าน
9. ตานิม (Ta Nim) 4 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอบางปะหันประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

สถานศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนบางปะหัน สถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาขนาดกลางเป็นโรงเรียนประจำอำเภอบางปะหัน

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

  • วัดไก่ ตั้งอยู่ที่ตำบลหันสัง จากตัวเมืองไปประมาณ 25 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ทางขวามือ (ปากทางเข้าจะมีป้ายสัญลักษณ์เป็นรูปลิง) วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาต่อมากลายเป็นวัดร้างภายหลังจากการเสียกรุงแก่พม่า ประมาณปีพ.ศ. 2535 มีพระสงฆ์มาบูรณะและตั้งเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น และในปีพ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัด และให้ชื่อว่า “วัดไก่” เนื่องจากมีไก่โดนโรคระบาดตายไปจำนวนมาก ส่วนฝูงลิงป่าที่อาศัยอยู่ที่วัดนี้ไม่มีใครบอกว่าอยู่มาตั้งแต่เมื่อใดเป็น ลิงแสม หรือลิงกัง มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่เป็นลิงที่มีนิสัยน่ารัก เชื่องไม่ดุร้าย
  • วัดตาลเอน สำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ ๑๕ เป็นวัดที่มีฝูงค้างคาวแม่ไก่และนกน้ำนานาชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากเช่น นกกาน้ำ นกเป็ดน้ำ นกกระยาง เป็นต้น แวดล้อมด้วยบรรยากาศร่มรื่นและธรรมชาติอันเงียบสงบ ด้านหลังของวัดติดกับคลองชลประทานมีฝูงปลาน้ำจืดอาศัยอยู่นานาชนิด การเดินทางไปวัดตาลเอนสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 32 ถนนสายเอเชีย ไปจนถึงแยกอำเภอบางปะหันแล้วเลี้ยวขวา จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 3196 (สายบางปะหัน-บ้านแพรก-ลพบุรี) อีกประมาณ 5 กิโลเมตร ปากทางเข้าวัดจะอยู่ทางขวามือและเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 20 กิโลเมตร

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460
  2. [1] เก็บถาวร 2020-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอำเภอบางปะหัน (Amphoe Bang Pahan)
  3. [2]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. 10 มิถุนายน 2490.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 70 (15 ง): 718–719. 24 กุมภาพันธ์ 2496.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (99 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-48. 28 พฤศจิกายน 2499.
  7. "แก้คำผิด ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๙๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (19 ง): 602. 26 กุมภาพันธ์ 2500.
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. 1 มีนาคม 2501.
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบางปะหัน อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 81 (107 ง): 2708–2709. 3 พฤศจิกายน 2507.
  10. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (84 ง): 1455–1457. 15 มิถุนายน 2519.
  11. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-08.
  12. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). 1 กรกฎาคม 2547: 1–3. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  13. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาลตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 21–24. 15 กันยายน 2547.
  14. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 102 ง): 9–12. 15 กันยายน 2547.
  15. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลขยายกับองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์สามต้น" (PDF). 11 กันยายน 2548: 1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]