อำเภอทุ่งยางแดง

พิกัด: 6°38′28″N 101°27′02″E / 6.64124°N 101.45050°E / 6.64124; 101.45050
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอทุ่งยางแดง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thung Yang Daeng
คำขวัญ: 
ทุ่งทองกว้างไกล พรุใหญ่แหล่งปลา ภาษาถิ่นพิเทน พี่เณรเชื้อสายเก่า ขุนเขาช้างคลาน อุทยานนางผมหอม
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอทุ่งยางแดง
แผนที่จังหวัดปัตตานี เน้นอำเภอทุ่งยางแดง
พิกัด: 6°37′3″N 101°25′33″E / 6.61750°N 101.42583°E / 6.61750; 101.42583
ประเทศ ไทย
จังหวัดปัตตานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด114.97 ตร.กม. (44.39 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด25,297 คน
 • ความหนาแน่น220.03 คน/ตร.กม. (569.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 94140
รหัสภูมิศาสตร์9406
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทุ่งยางแดง หมู่ที่ 1 ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี 94140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทุ่งยางแดง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภอทุ่งยางแดงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ[แก้]

อำเภอทุ่งยางแดงเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอมายอ ต่อมาได้ยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ต่อมามีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็น อำเภอทุ่งยางแดง ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 21 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

การปกครองของอำเภอทุ่งยางแดงมี 4 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่

1. ตะโละแมะนา (Talo Mae Na) 4 หมู่บ้าน
2. พิเทน (Phithen) 7 หมู่บ้าน
3. น้ำดำ (Nam Dam) 6 หมู่บ้าน
4. ปากู (Paku) 7 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภอทุ่งยางแดงประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่

  • องค์การบริหารส่วนตำบลตะโละแมะนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะโละแมะนาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพิเทนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำดำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำดำทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปากู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากูทั้งตำบล

ประชากร[แก้]

ศาสนาในอำเภอทุ่งยางแดง (พ.ศ. 2562)[1]

  อิสลาม (99.07%)
  พุทธ (0.93%)

อำเภอทุ่งยางแดงมีประชากรทั้งหมด 22,794 คน (พ.ศ. 2557) ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและไทยมุสลิมร้อยละ 97.67 และชาวไทยพุทธร้อยละ 2.33 มีมัสยิดทั้งหมด 29 แห่ง และสำนักสงฆ์เพียงแห่งเดียว[2] ในปี พ.ศ. 2554 มีราษฎรไทยพุทธอาศัยอยู่ 324 คน[3] ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกับชาวมุสลิมมาช้านาน[4] อย่างสงบอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยปี[5] แต่ปัจจุบันชุมชนพุทธเหล่านี้กลายเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่สีแดงซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลอบสังหารหรือทำร้าย[6] จากการสำรวจของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีเมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2562 พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน 17,318 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 99.07 และส่วนน้อยนับถือศาสนาพุทธ จำนวน 163 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.93[1] ด้วยเหตุนี้พวกเขาร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและดำรงอยู่ร่วมกันภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม[7]

กลุ่มชาวไทยพุทธจะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้และไทยตากใบ ส่วนชาวมุสลิมจะใช้ภาษาไทยพิเทนหรือใช้ภาษามลายูปัตตานี ซึ่งภาษาหลังนี้จะใช้เป็นภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างศาสนิกชนทั้งสองกลุ่ม[7] แต่กลุ่มผู้ใช้ภาษาไทยพิเทนนั้นถือเป็นภาษาถิ่นเฉพาะ เชื่อว่าตนมีบรรพบุรุษอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา[8][9][10] ตามมุขปาฐะนั้นว่าบรรพบุรุษได้เดินทางลงมาทางใต้เพื่อตามหาช้างสำคัญของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งผู้นำในการติดตามช้างสำคัญนั่นคือพี่เณร (หรือโต๊ะหยัง) แต่การติดตามช้างสำคัญนั้นไม่สำเร็จ ด้วยเกรงกลัวพระราชอาญาจึงหลบลี้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในป่า อันเป็นที่มาของชื่อตำบลพิเทนซึ่งเพี้ยนมาจากชื่อของพี่เณรนั้นเอง[8][10][11] ลูกหลานที่สืบสันดานลงมาก็แต่งงานกับคนท้องถิ่นและเข้ารับอิสลาม[9] ซึ่งภาษาไทยพิเทนนั้นจะมีลักษณะพิเศษคือเป็นภาษาไทยภาคกลางปนถิ่นใต้ มีการใช้คำราชาศัพท์[8][9][10] แต่เรียงคำต่างจากภาษาไทยภาคกลางและใต้[12] และยืมคำมลายูมากถึงร้อยละ 97[13] ดังนั้นผู้ที่จะพูดภาษานี้ได้ต้องเข้าใจทั้งภาษาไทยและมลายูปัตตานี[10] แต่ปัจจุบันนี้ภาษาดังกล่าวใกล้สูญหายและไม่เป็นที่นิยมใช้ เพราะชนนิยมใช้ภาษามลายูปัตตานีมากกว่า[8] ขณะที่ภาษาไทยถิ่นใต้และไทยตากใบก็มีแนวโน้มที่ผู้ใช้จะลดจำนวนลงเช่นกัน

ในอดีตชาวพิเทนจะมีกิจกรรมรำลึกถึงพี่เณรที่สุสาน โดยจะมีงานจอระทาให้ชาวพิเทนจุดเทียนเป็นกะทา (รูปโดม) แห่จากบ้านไปยังสุสานพี่เณรในยามกลางคืนเพื่อทำบุญให้ รวมทั้งมีการเข้าทรงและการละเล่นต่าง ๆ เช่น สิละหรือมโนราห์ และมีการตัดกิ่งไผ่ยาวสามเมตรและผูกอาหารคาวหวาน ผู้ชนะในการแข่งสิละจะใช้กริชตัดไม้ไผ่ดังกล่าว เด็ก ๆ ที่ล้อมวงชมก็จะเข้าไปแย่งอาหารกันอย่างสนุกสนาน แต่ปัจจุบันมิได้จัดพิธีดังกล่าวแล้ว[8][10]

ด้านการศึกษา มีโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาทั้งหมด 13 แห่ง, สถาบันปอเนาะ 11 แห่ง และตาดีกา 27 แห่ง[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 แผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน พ.ศ. 2564) (PDF). คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานี. 2562. p. 12.
  2. 2.0 2.1 "ข้อมูลทั่วไป". สาธารณสุขอำเภอทุ่งยางแดง. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "จำนวนประชากรแยกตามการนับถือศาสนา". สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปัตตานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้: ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูด ย้อนรอยโมเดลทุ่งยางแดง". ประชาไท. 1 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""ศาสนาพุทธ" กับ "ศาสนาอิสลาม" ที่ชาวพุทธและมุสลิมควรเรียนรู้ซึ่งกันและกัน (1)". อิศรา. 22 เมษายน 2553. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เจาะเครือข่ายคนพุทธชายแดนใต้ จับจังหวะเคลื่อนไหวประเด็นเปราะบาง". อิศรา. 7 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "อำเภอทุ่งยางแดงจัดโครงการกิจกรรมพหุวัฒนธรรม สร้างความเข้าใจในพื้นที่ 3 จชต". MGR Online. 28 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนตำบลพิเทน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-24. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 ประพนธ์ เรืองณรงค์. บุหงาปัตตานี คติชนมุสลิมชายแดนภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2554, หน้า 203-207
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 บาราย (7 มิถุนายน 2552). "ตำนานบ้านพิเทน". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ข้อมูลตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง ปัตตานี". ไทยตำบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-19. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. เจริญ สุวรรณรัตน์. "การศึกษาคำและความหมายในภาษาไทยถิ่นใต้ตำบลพิเทน กิ่งอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี". ฐานข้อมูลวิจัยชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. สุภา วัชรสุขุม. "คำยืมภาษามลายูท้องถิ่นปัตตานีในภาษาไทยถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้". ฐานข้อมูลวิจัยชายแดนใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-11. สืบค้นเมื่อ 31 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]