อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี
อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี
เกิด16 กันยายน ค.ศ. 1893(1893-09-16)
บูดาเปสต์ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต22 ตุลาคม ค.ศ. 1986(1986-10-22) (93 ปี)
วุดส์โฮล รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเซ็มเมิลไวส์ (MD)
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (PhD)
มีชื่อเสียงจากวิตามินซี, ค้นพบองค์ประกอบและปฏิกิริยาของวัฏจักรกรดซิตริก
คู่สมรส
รางวัลรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (1937)
รางวัลอัลเบิร์ต แลสเกอร์สำหรับการวิจัยทางการแพทย์พื้นฐาน (1954)
สมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (1956)
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสรีรวิทยา, ชีวเคมี
สถาบันที่ทำงานมหาวิทยาลัยแซแก็ด
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
วิทยานิพนธ์Observations on the functions of peroxidase systems and the chemistry of the adrenal cortex (1929)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกเฟรเดอริก กาวแลนด์ ฮ็อปกินส์
ลายมือชื่อ

อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี แห่งน็อจราโปลต์ (ฮังการี: nagyrápolti Szent-Györgyi Albert;[1] 16 กันยายน ค.ศ. 1893 – 22 ตุลาคม ค.ศ. 1986) เป็นนักชีวเคมีชาวฮังการี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี ค.ศ. 1937 นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลแรกที่แยกวิตามินซีและค้นพบองค์ประกอบและปฏิกิริยาของวัฏจักรกรดซิตริก

อ็อลแบร์ต แซ็นต์-เยิร์จยี เกิดที่เมืองบูดาเปสต์ ราชอาณาจักรฮังการีใน ค.ศ. 1893 ในครอบครัวแซ็นต์-เยิร์จยีที่เป็นราชสกุลมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17[2] แซ็นต์-เยิร์จยีเรียนที่มหาวิทยาลัยเซ็มเมิลไวส์ใน ค.ศ. 1911 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขารับราชการในหน่วยแพทย์ทหาร ภายหลังแซ็นต์-เยิร์จยีผู้รังเกียจสงครามยิงตัวเองที่แขนแล้วกล่าวอ้างว่าถูกศัตรูยิงทำให้เขาได้ถอนตัวออกจากสงคราม[3] จากนั้นแซ็นต์-เยิร์จยีกลับไปเรียนต่อจนเรียนจบด้านการแพทย์ในปี ค.ศ. 1917[4] หลังเรียนจบเขาทำงานเป็นนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโกรนิงเงินและมีโอกาสเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1930 แซ็นต์-เยิร์จยีทำงานที่มหาวิทยาลัยแซแก็ด ที่นั่นเขาได้ทำการศึกษากรดเฮกซูโรนิก (ต่อมาคือวิตามินซี) จนพบความสัมพันธ์ของสารนี้กับโรคลักปิดลักเปิด[5] ในปี ค.ศ. 1937 แซ็นต์-เยิร์จยีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์จากผลงานที่เกี่ยวข้องกับการหายใจระดับเซลล์ โดยเฉพาะวิตามินซีและกรดฟูมาริก[6] สิบปีต่อมา เขาย้ายไปอยู่ที่เมืองวุดส์โฮล รัฐแมสซาชูเซตส์เพื่อทำงานวิจัยด้านกล้ามเนื้อและเป็นนักวิจัยของสถาบันสุขภาพแห่งชาติในรัฐแมริแลนด์ ในช่วงบั้นปลายชีวิต แซ็นต์-เยิร์จยีสนใจด้านมะเร็งและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอนุมูลอิสระกับมะเร็ง[7]

ด้านชีวิตส่วนตัว แซ็นต์-เยิร์จยีแต่งงานครั้งแรกกับโกร์เนลิยอ แดเมญ ใน ค.ศ. 1917 ก่อนจะหย่าร้างใน ค.ศ. 1941 แล้วแต่งงานใหม่กับมาร์ตอ โบร์บีโร มิชโกลต์ซี ในปีเดียวกัน[8] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แซ็นต์-เยิร์จยีเป็นฝ่ายต่อต้านนาซีในฮังการี คอยช่วยเหลือชาวยิวในการหลบหนีออกนอกประเทศ และหลบซ่อนตัวหลังถูกเกสตาโพไล่ล่าในช่วงท้ายของสงคราม[9] แซ็นต์-เยิร์จยีเสียชีวิตจากภาวะไตวายที่เมืองวุดส์โฮล รัฐแมสซาชูเซตส์ในปี ค.ศ. 1986[10] ต่อมาใน ค.ศ. 2011 กูเกิล ดูเดิลฉลองวันเกิดครบรอบ 118 ปีให้เขา[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภาษาฮังการีเขียนชื่อสกุลก่อนแล้วตามด้วยชื่อตัว
  2. Dr.Czeizel, E.: Családfa, page 148, Kossuth Könyvkiadó,1992.
  3. Remembering Albert Szent-Györgyi เก็บถาวร 2011-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. History. 16 Sep 2011. Last accessed 16 Sep 2011.
  4. Bowden, Mary Ellen; Amy Beth Crow; Tracy Sullivan (2003). Pharmaceutical achievers: the human face of pharmaceutical research. Chemical Heritage Foundation. p. 30. ISBN 978-0-941901-30-7.
  5. "The Albert Szent-Gyorgyi Papers Szeged, 1931-1947: Vitamin C, Muscles, and WWII". nlm.nih.gov. U.S. National Library of Medicine. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-01-25.
  6. "The Nobel Prize in Physiology or Medicine 1937". NobelPrize.org. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
  7. "Albert Szent-Gyorgyi - Biographical Overview". National Institutes of Health. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
  8. "Albert Szent-Györgyi - Biographical". NobelPrize.org. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
  9. "Remembering Albert Szent-Györgyi". HISTORY. September 16, 2011. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
  10. "Albert Szent-Gyorgyi, 93, Dies; Discoverer of Vitamin C, Peace Activist". Los Angeles Times. October 26, 1986. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
  11. "Albert Szent-Gyorgyi's 118th Birthday". Google.com. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]