อัลอิคลาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ซูเราะฮ์ อัลอิคลาศ (อาหรับ: سورة الإخلاص, "ความจงรักภักดี" หรือ "ความจริงใจ") รู้จักกันในชื่อ ซูเราะฮ์ อัตเตาฮีด (อาหรับ: سورة التوحيد, "เอกเทวนิยม") เป็นซูเราะฮ์ที่ 112 ของคำภีร์อัลกุรอาน ในช่วงแรกของศาสนาอิสลาม ซุเราะฮ์นี้เป็นที่รู้จักในชื่ออื่นตามท้องถิ่น[1] เป็นซูเราะฮ์ที่กล่าวถึงหลักเตาฮีด, พระเจ้าคือผู้ทรงเอกะเสมอ มี 4 อายะฮ์ อัลอิคลาศ หมายถึง "ความบริสุทธิ์" หรือ "การกลั่น"

ข้อความและความหมาย[แก้]

ข้อความและการทับศัพท์[แก้]

بِسْمِ ٱللَّهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ
Bismi l-lāhi r-raḥmāni r-raḥīm(i)
قُلْ هُوَ ٱللَّهُ أَحَدٌ ۝
1 Qul huwa l-lāhu ’aḥad(un)
ٱللَّهُ ٱلصَّمَدُ ۝
2 ’allāhu ṣ-ṣamad(u)
لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ ۝
3 Lam yalid walam yūlad
وَلَمْ يَكُن لَّهُۥ كُفُوًا أَحَدٌۢ ۝
4 Walam yaku l-lahū kufuwan ’aḥad(un)


بِسۡمِ اِ۬للَّهِ اِ۬لرَّحۡمَٰنِ اِ۬لرَّحِيمِ
Bismi l-lāhi r-raḥmāni r-raḥīm(i)
قُلۡ هُوَ ا۬للَّهُ اَحَدٌ ۝
1 Qul huwa l-lāhu ’aḥad(un)
اَ۬للَّهُ اَ۬لصَّمَدُ ۝
2 ’allāhu ṣ-ṣamad(u)
لَمۡ يَلِدۡ وَلَمۡ يُولَدۡ ۝
3 Lam yalid walam yūlad
وَلَمۡ يَكُن لَّهُۥ كُفُؤًا اَحَدٌۢ ۝
4 Walam yaku l-lahū kufu’an aḥad(un)

ความหมาย[แก้]

1) จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ
2) อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง
3) พระองค์ไม่ประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ
4) และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"

ฮะดีษ[แก้]

ซูเราะฮ์อัลอิคลาศในแบบเขียนมัฆริบี (แอฟริกาเหนือ) ศตวรรษที่18

มีรายงานจากฮะดีษว่าซูเราะฮ์นี้เป็นซูเราะฮ์ที่สำคัญและน่ายกย่องในอัลกุรอาน:

  • รายงานจากอบูซัยด์ อัล-คุดรี: มีชายคนหนึ่งได้ยินชายอีกคน (ที่กำลังละหมาด) อ่านว่า: 'จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด): "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ" ' (112.1) และอ่านซ้ำหลายรอบ. และในช่วงเช้านั้น ชายคนหนึ่งได้มาหามุฮัมมัดและถามว่าการอ่านซูเราะฮ์นี้ไม่เพียงพอสำหรับเขา ศาสนทูตของอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า "โดยพระองค์ผู้คุมชีวิตของฉัน (ซูเราะฮ์นี้) มีค่าเท่าหนึ่งในสามของอัลกุรอาน"[2]
  • ฮุมัยด อิบน์ อับดุลรอฮ์มาน อิบน์ เอาฟ์ได้พูดกับเขาว่า ซูเราะฮ์อัลอิคลาศ มีค่า เท่ากับหนึ่งในสามของอัลกุรอาน[3]
  • รายงานจากอาอิชะฮ์: ท่านศาสดาได้ส่ง (กองทัพ) ภายใต้ผู้นำที่ชักชวนผู้คนในกลุ่มไปละหมาด และจะจบที่ (ซูเราะฮ์ที่112): 'จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด): "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ" ' (112.1) เมื่อพวกเขากลับมา (จากสงคราม​) พวกเขาได้สอบถามท่านศาสดา. ท่านถาม (คนของพวกเขา) ว่า "ถามเขาซิว่าทำไมถึงทำอย่างนี้." พวกเขาได้ถามชายคนนั้นและเขาตอบว่า "ฉันทำเพราะซูเราะฮ์นี้มีคุณค่า และฉันรักที่จะอ่านซูเราะฮ์นี้ (ในตอนที่ฉันละหมาด)" ท่านศาสดาได้พูด (กับพวกเขา) ว่า "บอกเขาด้วยว่าอัลลอฮ์ทรงรักท่าน"[4]
  • อิหม่ามมาลิก อิบน์ อะนัสกล่าวว่า `อุบัยด์ อิบน์ ฮุนัยน์ ได้ยินอบูฮุร็อยเราะฮ์พูดว่า: "ฉันกำลังเดินกับท่านศาสดาและเราได้ยินเสียงชายคนหนึ่งอ่านว่า "จงกล่าวเถิด: "พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ" มุฮัมมัดได้กล่าวว่า: "เขาจะได้แน่นอน" ฉันถามว่า "อะไรเล่า?": ท่านตอบว่า: "สวรรค์"
  • อบูซะอีด ได้รายงานว่า เขาได้ยินท่านศาสดากล่าวว่า: "ไม่มีใครซักคนในหมู่พวกเจ้าที่สามารถอ่านหนึ่งในสามของอัลกุรอานได้หรือ?" พวกเขาคิดว่าเป็นสิ่งที่ยาก จึงถามท่านว่า: "ใครจะทำอย่างนั้นได้ โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ์?" ท่านตอบว่า: ""พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ" คือหนึ่งในสามของอัลกุรอาน"[5]
  • มีฮะดีษที่ไม่มีรายงานว่า 'การอ่านซูเราะฮ์อัลอิคลาศและอัลมุเอาวิดะตัยน์ (ซูเราะฮ์ อัล-ฟะลัก และซูเราะฮ์ อันนาส) 3 ครั้งในตอนเช้าและเย็น จะปกป้องคุณจากสิ่งชั่วร้ายทุกประการ' [บันทึกโดยอัต-ติรฺมีซี และมุฮัมหมัด นาซีรุดดีน อัล-อัลบานี: 2829[6]
  • รายงานจากอาอิชะฮ์: "เมื่อไหร่ก็ตามที่มุฮัมมัดป่วย ท่านจะอ่านมุเอาวิดาตัยน์ (ซูเราะฮ์อัลฟาลัก และซูเราะฮ์อันนาส) และเป่าลมหายใจแล้วลูบทั้งร่างกาย เมื่อท่านมีอาการป่วยอย่างหนัก ฉันจึงถูกใช้ให้อ่าน (สองซูเราะฮ์นี้) และลูบมือของท่านให้ทั่วร่างกาย โดยทำอย่างนี้ซ้ำ 3 ครั้ง[7][8]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. A.T. Welch, art. ‘al-Ḳur’ān’ in Encyclopaedia of Islam, 2nd edn. On early development of sura headings see Adam Gacek, Arabic Manuscripts: A Vademecum For Readers, Handbook of Oriental Studies (Leiden/Boston: Brill, 2009), pp. 219–20.
  2. Translation of Sahih Bukhari, Book 93: ONENESS, UNIQUENESS OF ALLAH (TAWHEED) Volume 9, Number 471
  3. Imam Malik's Muwatta Chapter No: 15, The Quran Hadith no: 19
  4. Translation of Sahih Bukhari, Book 93: ONENESS, UNIQUENESS OF ALLAH (TAWHEED) Volume 9, Number 472
  5. Translation of Sahih Bukhari, Book 61: Virtues of the Qur'an Book 61, Number 534
  6. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2011-08-18.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. (Sahih al-Bukhari Vol.6 Bk.6 No.536)
  8. Translation of Sahih Bukhari, Book 71: Medicine Volume 7, Number 644

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]