อัลบะกีอ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพสุสานญันนะตุลบะกีอ์ในปีค.ศ.2008

ญันนะตุลบะกีอ์ (อาหรับ: جَـنَّـة الْـبَـقِـيْـع) เป็นสุสานในมะดีนะฮ์[1] ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของมัสยิดอันนะบะวี และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ บะกีอ์อัลฆ็อรก็อด (อาหรับ: بَـقِـيْـع الْـغَـرْقَـد)[2]

บริเวณนี้เป็นที่บรรจุคนมุสลิมที่สำคัญหลายท่านกับครอบครัวของมุฮัมหมัด โดยเมื่อก่อนมีสุสานชาวยิวอยู่ด้านหลังสุสานนี้จนกระทั่งราชวงค์อุมัยยะฮ์ได้ทำลายสุสานชาวยิวแล้วขยายสุสานนี้ให้กว้างขึ้นจนใกล้กับสุสานของเคาะลีฟะฮ์อุสมาน[3]

ประวัติ[แก้]

เมื่อมุฮัมหมัดมาที่มะดีนะฮ์ในเดือนกันยายน ค.ศ.622 อัล-บะกีอฺยังคงเป็นพื้นที่ที่มีต้นไลเซียม[4]

หลายปีผ่านไป ศพของเคาะลีฟะฮ์อุสมาน อิบนุ อัฟฟาน ถูกฝังอยู่ข้างๆ สุสานชาวยิว การขยายสุสานครั้งแรกเกิดขึ้นโดยมุอาวิยะห์เพื่อยกย่องอุสมาน มุอาวิยะห์ได้รวมสุสานชาวยิวไปอยู่ในสุสานอัล-บะกีอฺและสร้างโดมเหนือสุสานของอุสมาน โดยโดมและสิ่งก่อสร้างได้เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

การทำลาย[แก้]

สุสานนี้เคยถูกทำลายโดยกองกำลังวะฮะบีย์-ซาอุดีใน ค.ศ. 1806 และ 1925 [5] (หรือ 1926)

โดยครั้งแรกในปี 1806 กองกำลังวาฮาบีย์แห่งแคว้นนัจญ์ปกครองทั้งมักกะฮ์และมะดีนะฮ์ และทำลายศาสนสถานหลายที่ซึ่งรวมถึงสุสานและมัสยิดไม่ว่าจะด้านในหรือข้างนอกก็ตาม[6] ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ พวกเขาทำให้สุสานถูกถมให้เรียบ[7][8] และปล้นสะดมเครื่องประดับและของใช้ต่าง ๆ[9]

การทำลายครั้งที่สองถูกอธิบายในที่ปรึกษาแห่งชาติของอิหร่าน และกลุ่มคนที่ถูกส่งไปที่ฮิญาซเพื่อสอบสวนคดี โดยทั้งนิกายซุนนี่และชีอะฮ์ต้องการฟื้นฟูสุสานแห่งนี้และประนามต่อการทำลายสุสานนี้[10][11] โดยวันนั้นจึงถูกเรียกว่าวันแห่งความเศร้าโศก ("Day of Sorrow") แต่ทางซาอุดีปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและไม่ฟื้นฟูสุสาน ถึงแม้ว่าตอนนี้สุสานอัลบากีอฺมีสภาพดีกว่าตอนที่ถูกทำลาย แต่ความทรงจำของผู้ที่มาเยี่ยมสุสานในอดีตยังคงถูกทิ่มแทงในใจไปอีกนาน[12][เมื่อไร?]

บุคคลสำคัญ[แก้]

ญาติของมูฮัมหมัด[แก้]

ไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้ง[แก้]

ภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Merriam-Webster's Geographical Dictionary. 2001. p. 479. ISBN 0 87779 546 0. สืบค้นเมื่อ 2013-03-17.
  2. Werner, Ende (2010). "Baqīʿ al-Gharqad". ใน Fleet, Kate (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (Third ed.). สืบค้นเมื่อ 28 August 2016.
  3. Textual Sources for the Study of Islam, by Knappert, Jan, and Andrew Rippin
  4. Muhammad Sadiq Najmi. history of tombs of Imam in Baqi and other monuments (ภาษาเปอร์เซีย). Mashar. p. 67-68.
  5. Mohammadi, Adeel (2014–2015). "The destruction of Jannat al-Baqi': A case of Wahhabi Iconoclasm" (PDF). Undergraduate Journal of Middle East Studies. Canada (8): 47–56. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-02. สืบค้นเมื่อ 30 July 2016.
  6. Ahmed, Irfan. "The Destruction Of The Holy Sites in Mecca and Medina". Islamica Magazine. No. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2016.
  7. Madelung, Wilfred, บ.ก. (2013). "al-Baqīʿ". Encyclopaedia Islamica (Third ed.).
  8. "History of the Cemetery Of Jannat Al-Baqi". Al-Islam.org. สืบค้นเมื่อ 9 September 2016.
  9. "Baqi". The Great Islamic Encyclopedia (ภาษาเปอร์เซีย).
  10. Shahi, Afshin. The Politics of Truth Management in Saudi Arabia (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9781134653195. สืบค้นเมื่อ 14 September 2016.
  11. Hassan, Sara (27 July 2015). "Protests at Saudi Embassy in Washington". American al-Jazeera. สืบค้นเมื่อ 7 September 2016.
  12. Abdellah Hammoudi (2006). A Season In Mecca : Narrative Of A Pilgrimage. p. 95-96. ISBN 9780745601540.
  13. Lady Fatima, Islamic Insight, Accessed September 1, 2012.
  14. "Al Baqi Cemetery". Al-Mustafa International University (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-07. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
  15. "History of the Cemetery Of Jannat Al-Baqi". Al-Islam.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]