อัซซิซตานีย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อะลี อัซซิซตานีย์
علی حسینی سیستانی
อะลี อัซซิซตานีย์ ในปีค.ศ.2009
ชื่ออื่นเปอร์เซีย: علی حسینی سیستانی
อาหรับ: علي الحسيني السيستاني
ส่วนบุคคล
เกิด (1930-08-04) 4 สิงหาคม ค.ศ. 1930 (93 ปี)
ศาสนาชีอะฮ์สิบสองอิมาม
สัญชาติอิหร่าน, เปอร์เซีย
ชื่ออื่นเปอร์เซีย: علی حسینی سیستانی
อาหรับ: علي الحسيني السيستاني
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่นะญัฟ, ประเทศอิหร่าน
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง1992–ปัจจุบัน
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าอบูกอซิม อัลคูอี
ตำแหน่งแกรนอายะตุลลอฮ์, มัรญะอ์
เว็บไซต์sistani.org

อายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา ซัยยิด อะลีย์ ฮุซัยนีย์ อัซซิซตานีย์ (นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "อายะตุลลอหฺ ซิซตานีย์" อาหรับ: السيد علي الحسيني السيستاني เปอร์เซีย: سید علی حسینی سیستانی) ผู้นำคนสำคัญที่สุดในโลกอิสลามชีอะหฺ เป็นมัรญิอฺตักลีดที่มีผู้ตามมากที่สุดในโลก และเริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกหลังจากสหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองอิรักในปี ค.ศ. 2003

ถือกำเนิดในปี ฮ.ศ. 1349 (ค.ศ. 1930) ในเมืองมัชฮัด ประเทศอิหร่าน ในครอบครัวของนักการศาสนาที่มีพื้นเพเดิมมาจากซิซตาน ในอิหร่าน ซึ่งสืบเชื้อสายจากนบีมุฮัมมัด หลังจากได้ศึกษาวิชาการศาสนาขั้นพื้นฐานจบเรียบร้อยแล้ว ได้ศึกษาวิชาปรัชญา และศาสนศาสตร์ต่อ และจบหลักสูตรการศึกษาในระดับสูงเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม (ฟิกหฺ) ที่เมืองมัชฮัด ประเทศอิหร่าน ซึ่งวิชาการส่วนมากท่านได้รับการถ่ายทอดจากท่านมิรฺซา มะหฺดีย์ อิศฟะฮานีย์

ในปี ฮ.ศ. 1368 ท่านได้เข้าศึกษาวิชา ฟิกฮฺ และอุศูลต่อ กับท่านซัยยิดฮุซัยนฺ บุรูญิดดี ซึ่งเป็นมัรฺญิอฺตักลีดในสมัยนั้น และท่านยังได้ทำการศึกษาวิชาการแขนงต่าง ๆ จากผู้ทรงคุณวุฒิมากมายในสมัยนั้น ท่านอายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ถือว่าเป็นลูกศิษย์เอกคนหนึ่งของท่านอายะตุลลอหฺ บุรูญิดดี ด้านวิชาฟิกห,ฺ อุศูล, อิลมุ อ้รริญาล และวิชาฮะดีษซึ่งนอกจากจะศึกษาจากท่านอายะตุลลอหฺบุรูญิรฺดี แล้วท่านยังได้ศึกษากับผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายอิสลาม และเป็นนักปราชญ์ผู้ทรงเกียรติท่านหนึ่งในสมัยนั้น คือท่านซัยยิด ฮุจญะติกูฮฺ กอมารีและศึกษากับนักปราชญ์ท่านอื่น ๆ

หลังจากปี ฮ.ศ. 1371 ท่านได้ออกจากเมืองกุม ประเทศอิหร่าน มุ่งหน้าไปยังเมืองนะญัฟ ในอิรัก อันเป็นศูนย์วิชาการความรู้ของชีอะหฺในสมัยนั้น เพื่อศึกษาวิชาฟิกหฺ และอุศูลเพิ่มเติมจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่ว่าจะเป็นท่านอายะตุลลอหฺ ฮะกีม, เชคฮุเซน อัลฮิลลีย์ และอายะตุลลอหฺ อัลคูอีย์ ท่านใช้เวลาศึกษาอยู่นานนับ 10 ปี ตั้งแต่นั้นมา อายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ ก็ได้ถือสัญชาติอิรัก

ในปี ฮ.ศ. 1381 อายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ได้เริ่มสอนวิชาฟิกหฺในระดับสูงโดยใช้หนังสือ มะกาซิบ ของเชค อัลอันศอรีย์เป็นพื้นฐานในการสอน หลังจากนั้นได้เริ่มสอน ชัรฮุ อุรฺวะตุลวุษกอ บทที่ว่าด้วยเรื่องฏอฮาเราะหฺแต่ส่วนมากท่านจะสอนบทที่เป็นเครื่อข่ายของนมาซและบางส่วนที่ว่าด้วยเรื่องคุมซุหลังจากนั้นในปีฮ.ศ. 1384 ท่านได้เริ่มสอนวิชาอุศูลในระดับสูง ซึ่งรอบที่สามของการสอนได้จบลงเมื่อ เดือนชะอฺบาน ปี ฮ.ศ. 1411 ซึ่งส่วนมากของบรรดาศานุศิษย์ของท่านได้ทำการจดบันทึก ท่านได้สมรสกับบุตรีของอายะตุลลอหฺ อัลคูอีย์

งานประพันธุ์และการสอน[แก้]

อายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ ได้เริ่มสอนวิชาฟิกหฺ อุศูลในระดับสูงเมื่อมีอายุกว่า 40 ปี ท่านได้สอนอุศูลในดับสูงจบเป็นครั้งที่สาม ซึ่งได้มีศานุศิษย์ของท่านบางคนเช่น ซัยยิดมุรฺตะฎอ อิศฟะฮานี อัลลามะหฺ ซัยยิด อะฮฺมัด มะดัดดี อัลลามะฮฺเชคบากิรฺ อีระวานี เชคมะฮฺดีมูรฺวารีด ซัยยิดหะบีบ ฮุซัยนียาน และบรรดาคณาจารย์บางส่วนของสถาบันศาสนาได้ทำการตรวจทานและพิมพ์เป็นรูปเล่มท่านอายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ ระหว่างที่ทำการสอนท่านได้เขียนตำราไว้หลายเล่มด้วยกัน นอกจากนั้นแล้วท่านยังได้ทำการเขียนชัรฮุ(อรรถกถา) ตำราต่าง ๆ ไว้หลายเล่ม

แนวทางการสอน และการวิพากษ์[แก้]

วิธีการสอนของท่านแตกต่างไปจากวิธีการสอนของบรรดาคณาจารย์ทั่วๆ ไป เช่นการสอนอุศูลในระดับสูงท่านได้ใช้วิธีเช่นนี้

  1. อันดับแรกท่านจะกล่าวถึงประวัติของอุศูล และรากฐานที่มาของมัน ซึ่งไม่ต่างไปจากที่มาของปรัชญา บางครั้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับความศรัทธา ในมุมมองของความยุติธรรม และความประเสริฐ บางครั้งเป็นเรื่องการเมืองที่เกี่ยวพันกับบรรดาอิมามในยุคก่อนกน้านี้ ความขัดแย้งของอิมามที่มีต่อบรรดาผู้ปกครองทั้งหลาย ผลของการยืนหยัดของอิมาม และเงื่อนไขทางการเมืองในสมัยของท่านอิมามมะหฺดีย์ (อ)
  2. ท่านได้ทำการประยุกต์แนวความคิดของสถาบันศาสนา เข้ากับวัฒนธรรมในปัจจุบัน
  3. ท่านเป็นผู้ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เสมอ ขณะที่นักวิชาการและบรรดาคณาจารย์ศาสนาทั้งหลายยังเป็นผู้ที่ยึดถือตามซุนนะฮฺแบบเดิม การสอนของท่านจะนำเอาเฉพาะทรรศนะใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาทำการวิพากษ์และประยุกต์ให้เข้ากับสังคมที่เป็นอยู่

การเป็นมัรฺญิอฺ[แก้]

อายะตุลลอหฺ อัลคูอีย์ ได้เลือกอายะตุลลอหฺ อัซซิซตานีย์ ให้เป็นมัรฺญิอฺคนต่อมาหลังจากท่านเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1992