หออัครศิลปิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หออัครศิลปิน จัดตั้งขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน)[1]ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี[2] ก่อสร้างบนพื้นที่ 5 ไร่ ในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย[3] ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ตัวอาคารประกอบด้วยอาคารหลักที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติและผลงานศิลปะฝีพระหัตถ์ขององค์อัครศิลปิน รายล้อมด้วยอาคารรูปตัวยู ที่จัดแสดงนิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติภายใต้แนวคิดอัครศิลปิน ซึ่งรายล้อมด้วยศิลปินแห่งชาติที่ทรงให้การอุปถัมภ์

ประวัติ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2539 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน) ได้จัดตั้งหออัครศิลปินขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 โดยในพิธีเปิด สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานที่ควบคุมบริหารจัดการกิจการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

"อัครศิลปิน" แปลว่า "ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ" หรือ "ผู้เป็นใหญ่ในศิลปิน"[4]

หออัครศิลปิน ออกแบบโดย นาย สตวัน ฮ่มซ้าย และคณะ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร[5]

ในปี พ.ศ. 2554 ในมหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นมหาอุทกภัยน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทย ทำให้หออัครศิลปิน ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ทำให้หออัครศิลปินได้รับความเสียหายกว่า 2 ล้านบาท[6]

ส่วนจัดแสดงผลงาน[แก้]

หออัครศิลปิน มีส่วนประกอบหลักนำเสนอพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และผลงานของศิลปินแห่งชาติทุกสาขาโดยจัดแสดงเป็นหมวดหมู่สาขาของศิลปินแห่งชาติในแต่ละด้าน[7]

ส่วนประกอบของอาคาร[แก้]

หออัครศิลปินมีทั้งหมด 3 ชั้น อันได้แก่ ห้องบริหาร ห้องนิทรรศการชั่วคราว และห้องนิทรรศการถาวร โดยห้องที่มีความสำคัญที่สุดคือ ห้องอัครศิลปิน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานบุษบกไม้ประดับกระจก ปิดทองตรงกึ่งกลางห้องและภายในบุษบกประดิษฐานพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 9 จำลองบนพานแว่นฟ้า เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งฐานโดยรอบมีสื่อวีดิทัศน์แสดงพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจจำนวน 9 ตอน โดยนำเสนอเป็นสื่อคอมพิวเตอร์ระบบสัมผัส เมื่อผู้ชมคุกเข่าตามจุดต่าง ๆ จะได้รับชมอย่างต่อเนื่อง โดยมีฉากหลังเป็นจิตรกรรมฝาผนังเรื่องไตรภูมิ ด้านซ้ายและด้านขวาเป็นกระจกแกะลายเทพชุมนุม มีความหมายว่า เหล่าเทวดาต่างสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ผู้ทรงเปรียบเสมือนสมมติเทพ นอกจากพื้นที่จัดแสดงแล้วหออัครศิลปินยังมีห้องฝึกอบรม ร้านขายของที่ระลึก ห้องสมุดที่รวมพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฃ และผลงานวรรณกรรมของศิลปินแห่งชาติทุกท่าน โดยใช้สื่อผสมที่ทันสมัย มีห้องบรรยาย ห้องพักศิลปิน เวทีการแสดง โรงภาพยนตร์ และห้องคาราโอเกะ สำหรับฝึกเพลงของศิลปินแห่งชาติที่รู้จักเป็นอย่างดี โดยรายละเอียดในหออัครศิลปินในชั้นที่ 2 ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้

หออัครศิลปิน ในชั้นที่ 2[แก้]

ส่วนของชั้นที่ 2 มีการจัดแสดง โดยได้แบ่งเนื้อหาไว้เป็น  6  ส่วน ดังต่อไปนี้

หออัครศิลปิน ในชั้นที่ 3[แก้]

ส่วนของชั้นที่ 3 มีการจัดแสดง "ดนตรีและการพระราชนิพนธ์เพลง" การจัดแสดงนิทรรศการประวัติและผลงานของศิลปินแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 151 ท่าน ห้องนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 7 ส่วน ดังนี้

  • ส่วนที่ 1 "เชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติ"
  • ส่วนที่ 2 "ร้อยเรียงวรรณศิลป์"
  • ส่วนที่ 3  "รังสรรค์ผลงาน"
  • ส่วนที่ 4  "ประตูสู่โลกแห่งโลกวรรณศิลป์"
  • ส่วนที่ 5 "นิทรรศการวรรณศิลป์"
  • ส่วนที่ 6  "ห้องถ่ายทอดภูมิปัญญา"
  • ส่วนที่ 7 "ห้องพักศิลปินแห่งชาติ"

บรรณานุกรม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-22. สืบค้นเมื่อ 2018-10-11.
  2. http://www.museumthailand.com/th/museum/The-Supreme-Artist-Hall-
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-31. สืบค้นเมื่อ 2018-10-10.
  4. https://mgronline.com/travel/detail/9590000112825
  5. https://www.lib.ru.ac.th/journal2/?p=5625
  6. https://www.thairath.co.th/content/217083
  7. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หออัครศิลปิน เก็บถาวร 2016-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม[แก้]