หลิว ฟาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิว ฟาง
ข้อมูลพื้นฐาน
เกิด (1974-05-10) 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1974 (49 ปี)
คุนหมิง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
แนวเพลงดนตรีจีนดั้งเดิม / ดนตรีคลาสสิกร่วมสมัย / ดนตรีโลก
เครื่องดนตรีผีผา และกู่เจิง
ช่วงปี1985–ปัจจุบัน
เว็บไซต์www.philmultic.com

หลิว ฟาง (จีนตัวย่อ: 刘芳; จีนตัวเต็ม: 劉芳; พินอิน: Liú Fāng; ค.ศ. 1974 — ) เป็นนักดนตรีผีผาที่มีฝีมือโดดเด่นมากคนหนึ่งของโลก เกิดที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนาน เธอเริ่มศึกษาผีผาตั้งแต่อายุเพียง 6 ขวบ และได้เคยแสดงต่อหน้าสาธารณชนในขณะมีอายุเพียงแค่ 9 ขวบเท่านั้น และตอนอายุ 11 ขวบเธอได้เล่นให้กับสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบทที่ 2 ต่อมา เธอได้สอบเข้าสถาบัน Shanghai Conservatory of Music ซึ่งทำให้ทักษะทางด้านดนตรีของเธอได้เพิ่มพูนขึ้นเป็นอย่างมาก และเธอยังได้ศึกษากู่เจิงเพิ่มเติมอีกด้วย เมื่อหลิว ฟาง อายุ 22 ปี เธอได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศแคนาดา และตอนนี้เธอก็ได้รับสัญชาติชาวแคนาดาแล้ว โดยพักอาศัยอยู่ที่รัฐมอนทรีออล หลังจากนั้นเธอได้ตัดสินใจเปิดการแสดงที่เมืองควีเบก

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 เธอได้แสดงเครื่องดนตรีจีน ประกอบการเล่นเพลงโบราณของจีนมามากกว่าหลายร้อยคอนเสิร์ต โดยเครื่องดนตรีที่เธอใช้เล่นคือ ผีผา และ กู่เจิง ชื่อเสียงของเธอ เริ่มปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก การบรรเลงด้วยจิตวิญญาณแห่งความเป็นศิลปินของเธอ พร้อมกับมีบทเพลงที่เป็นที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และ บทเพลงที่เป็นเพลงพื้นบ้านของจีนที่หาฟังได้ยาก รวมทั้ง การผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมตะวันตก และตะวันออก ในขณะนี้ตามสื่อต่าง ๆ หลิว ฟาง ถูกจับตามองว่าเป็น ทูตวัฒนธรรมสำหรับผีผา หรือ มีคนให้ฉายาเธอว่า"จักรพรรดินีแห่งผีผา"[1] สไตล์การเล่นของเธอคือ การเล่นที่เข้าถึงจิตวิญญาณของผู้ฟัง และสามารถสื่ออารมณ์ให้ผู้ฟังเข้าใจความหมายของบทเพลงนั้น ๆ ได้ ไม่ว่าเพลง ๆ นั้น จะเป็นเพลงโบราณหรือเพลงสมัยใหม่ก็ตาม[2] เธอยังเป็นคนที่เอาใจใส่กับการแสดงของเธอมาก ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง การแสดงออก หรือ อารมณ์ของเพลง การฝึกฝนของเธอยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง เธอทุ่มเทและอุทิศตนกับการเล่นดนตรีเพื่อที่วันข้างหน้าเธอจะได้เป็นนักดนตรีที่เข้าใจศาสตร์ด้านนี้อย่างถ่องแท้"[3](in the fRoots Magazine, 06.2006).

การแสดงคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่ช่วงหนึ่งของชีวิตนักดนตรีของเธอ ซึ่งเธอได้นำวัฒนธรรมทั้ง 2 ฝั่งมาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว ภายใต้ชื่อคอนเซปที่ว่า "Silk and Steel Projects"[4] ซึ่ง silk (เส้นไหม) เป็นตัวแทนแห่งวัฒนธรรมจีน ส่วน Steel (เหล็ก) เป็นคำอุปมาที่ใช้เปรียบเทียบวัฒนธรรมตะวันตก อัลบั้มล่าสุดของเธอมีชื่อว่า "Silk Sound" โดยร่วมงานกับศิลปินที่มาจาก 3 ทวีปที่แตกต่าง และได้รับรางวัล the grand prize of L'Académie Charles Cros และ [5] the French equivalent of the US Recording Academy

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 2001 หลิว ฟาง คือ นักดนตรีเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ "Future Generation Millennium Prize"[6] ของกระทรวงวัฒนธรรม ประเทศแคนาดา จากคำกล่าวที่กล่าวมา คงสรุปสั้นๆได้ใจความว่า หลิว ฟาง คือ ศิลปินที่อายุยังน้อยแต่มีสามารถเหลือล้นและเป็นผู้ที่สื่อความหมายของดนตรีจีนอีกทั้งยังเป็นผู้เผยแพร่ผีผา และ กู่เจิง ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก หลิว ฟาง ยังมีความต้องการที่จะนำความรู้ของเธอทั้งดนตรีตะวันตกและดนตรีตะวันออกมาแต่งเพลง และ สร้างแนวเพลงใหม่ ๆ กับวัฒนธรรมที่แตกต่างให้แก่ผู้ฟังอีกด้วย

หลิว ฟาง ได้ถูกเชิญให้ไปออกรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น BBC World Service สำหรับการแสดง คอนเสิร์ตในวันที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เพื่อวันเอดส์โลก และ เธอได้แสดงเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี ขององค์กรยูเนสโก ณ กรุงปารีส ในวันที่ 16 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 และได้รับการยกย่องจาก รัฐบาลแคนาดา เธอยังได้แสดงร่วมกับวงออร์เคสตรา วงดนตรีเครื่องสาย และ เครื่องดนตรีที่หลากหลาย ร่วมกับ นักแต่งเพลงร่วมสมัย ได้แก่ R. Murray Schafer, Tan Dun, Philip Glass, Ian Wilson, José Evangelista, Zhou Long, Melissa Hui, Diego Luzuriaga, Chen Yi, Toshiyuki Hiraoka, Yoshiharu Takahashi, David Loeb, Hugue Leclair, Simon Bertrand and Chantale Laplante และร่วมแสดงบ่อยครั้งกับนักกีตาร์ Michael O'Toole และนักไวโอลิน Malcolm Goldstein

ผลงาน[แก้]

'อัลบั้มเดี่ยว :'

  • The soul of pipa, vol. 3 : Pipa Music from Chinese folk traditions, Philmultic, 2006
  • Emerging Lotus : Chinese traditional guzheng music, Philmultic, 2005
  • The soul of pipa, vol. 2 : Chinese classical Pipa Music: from the ancient to the recent, Philmultic, 2003
  • The soul of pipa, vol. 1 : Chinese Pipa Music from the classical tradition, Philmultic, Canada, 2001
  • Chinese Traditional Pipa Music : Oliver Sudden Productions Inc, Canada/USA, 1997

'ผลงานร่วม :'

  • Along the Way - Duo pipa & violin : Philmultic, 2010
  • Changes - Duo pipa & Guitar : Philmultic, 2008
  • Le son de soie : Accords-Croisés/Harmonia Mundi, Paris, 2006
  • Mei Hua - Fleur de prunier : ATMA Classique, Canada, 2004
  • Arabic and Chinese music : Liu Fang et Farhan Sabbagh, Philmultic, 2000
  • Musique chinoise : Solo, duo, et avec orchestre de chambre, Philmultic, 1999

อ้างอิง[แก้]

  1. L'actualité, 15.11.2001 (in the List of press reviews)
  2. All music guide
  3. The review article of the fROOTS Magazine, 06.2006
  4. The Silk and Steel Projects
  5. "Prix de l'Académie Charles-Cros, 2006". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2010-07-24.
  6. "Future Generation Millennium Prize". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2010-07-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]