หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชนาวิกโยธินแห่งราชอาณาจักรไทย
เครื่องหมายราชการของนาวิกโยธินไทย
ประจำการ2 มีนาคม พ.ศ. 2456; 111 ปีก่อน (2456-03-02)
ประเทศ ไทย
เหล่า กองทัพเรือไทย
รูปแบบนาวิกโยธิน
บทบาทสงครามสะเทินน้ำสะเทินบก
กองทัพผสม
สงครามภาคพื้นดิน
กำลังรบ23,000 นาย[1]
ขึ้นกับ กองทัพเรือไทย
กองบัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ค่ายกรมหลวงชุมพร ตำบลสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 20180
สมญานย. ย่อมาจาก นาวิกโยธิน
คำขวัญกาย ใจ ชีวิต มอบเป็นราชพลี เป็นนย. สักครั้งไซร้ จักฝังหฤทัยจนวายปราณ
สีหน่วยเหลืองและแดง
เพลงหน่วยมาร์ชราชนาวิกโยธิน
วันสถาปนา30 กรกฎาคม
ปฏิบัติการสำคัญ
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.ร.อ. อะดุง พันธุ์เอี่ยม
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน พล.ร.ท.[2] สมรภูมิ จันโท​[3]
ผบ. สำคัญพล.ร.ต.ทหาร ขำหิรัญ
พล.ร.จ.ประสงค์ พิบูลสงคราม
พล.ร.ต.สนอง นิสาลักษณ์
พล.ร.ท.พงศ์ศักดิ์ ภูรีโรจน์
พล.ร.ท.สนธยา น้อยฉายา
พล.ร.ท.รณรงค์ สิทธินันทน์
พล.ร.อ.สุวิทย์ ธาระรูป
พล.ร.อ.รัตนะ วงษาโรจน์
เครื่องหมายสังกัด
ธงสัญลักษณ์หน่วย
ธงตำแหน่ง ผบ.นย.

หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (อักษรย่อ: นย.; อังกฤษ: Royal Thai Marine Corps) คือหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือ มีหน้าที่รับผิดชอบในการบุกยึดพื้นที่ศัตรู ยกพลขึ้นบกและยึดพื้นที่สถาปนาหัวหาด เปรียบเสมือนหน่วยทหารราบของกองทัพเรือ ทหารนาวิกโยธินได้รับการฝึกพิเศษเพื่อการรบบุกยึดหัวหาดโดยการยกพลขึ้นบกจากเรือในทะเลขึ้นสู่ฝั่ง ทำให้นาวิกโยธินเป็นหน่วยรบแรก ๆ ที่เข้าสู่สนามรบแนวหน้าซึ่งจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงอยู่เสมอ ทหารนาวิกโยธินขึ้นชื่อว่าเป็นหน่วยรบที่มีระเบียบวินัยและประสิทธิภาพในการรบสูงเมื่อเทียบกับทหารเหล่าปกติ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินได้แก่ พลเรือโท[4] สมรภูมิ จันโท​[5] รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธินได้แก่ พลเรือตรี วีระชัย หลีค้า[6] และ พลเรือตรี อุทัย ยังวิลัย[7]

ประวัติ[แก้]

ทหารมะรีน ประเทศสยาม พ.ศ. 2367[แก้]

กิจการทหารนาวิกโยธินในประเทศไทยนั้นมีความเป็นมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่สมัยประเทศไทยยังเป็นชื่อประเทศสยาม ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2367 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยในยุคนั้นเรียกทหารนาวิกโยธินว่า "ทหารมะรีน" ซึ่งเป็นการเรียกทับศัพท์มาจากคำว่า "Marines" ที่แปลว่านาวิกโยธินในภาษาอังกฤษ กิจการทหารมะรีนในยุคสยามไม่มั่นคงมากนัก เนื่องจากมีการก่อตั้งและยุบไปหลายครั้ง

สงครามปราบฮ่อ พ.ศ. 2417[แก้]

ผลงานที่โดดเด่นที่สุดของทหารมะรีนในยุคประเทศสยามคือสงครามปราบฮ่อ ในช่วงปี พ.ศ. 2417 ยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กลุ่มกบฏจีนไท้ผิง (ฮ่อ) ที่ต่อต้านราชวงศ์แมนจูในประเทศจีนได้ทำการก่อกบฏและแตกพ่าย บางส่วนหลบหนีลงมาในตังเกี๋ย ทางตังเกี๋ยได้ปราบปรามกลุ่มฮ่อ ขับไล่ฮ่อทำให้ต้องล่อถอยลงใต้มาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเกิดทำการตีหัวเมืองต่างๆของสยาม นับตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 การเข้าตีหัวเมืองภาคอีสานในปี พ.ศ. 2417 ของพวกฮ่อส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้ทำการปราบปรามฮ่อ โดยทางราชการได้ส่งทหารมะรีนจำนวน 25 นาย ประกอบด้วย นายร้อยตรี 1 นาย พลทหาร 24 นาย พร้อมด้วยปืนกลปืนแก็ตลิง 2 กระบอก ร่วมไปกับกองทัพที่ไปปราบปรามพวกฮ่อทางภาคเหนือ โดยมี เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นแม่ทัพ

ราชนาวิกโยธิน ประเทศไทย พ.ศ. 2498[แก้]

กระทั่งเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 กองทัพเรือได้ดำเนินการสถาปนากรมนาวิกโยธินขึ้นอีกครั้ง ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยใช้ตึกซึ่งเป็นที่ทำงานของกองกิจการพิเศษ ภายใต้คำแนะนำของกองทัพอเมริกันถึงความจำเป็นที่ต้องมีนาวิกโยธิน ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นที่ตั้ง และได้สืบต่อกิจการนาวิกโยธินอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งทหารนาวิกโยธินได้ถือเอาวันที่ 30 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วยสืบมา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2532 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วยราชการของกองทัพเรือ เป็นผลให้ "กรมนาวิกโยธิน" แปรสภาพเป็น "หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน"

ทหารนาวิกโยธิน ได้ถือเอาวันที่ 28 มิถุนายน ของทุกปีเป็น "วันทหารนาวิกโยธิน" โดยกำหนดให้เป็น วันแห่งประวัติศาสตร์ของทหารนาวิกโยธิน ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเพลงพระราชนิพนธ์ "มาร์ชราชนาวิกโยธิน" เป็นเพลงประจำหน่วย ทหารนาวิกโยธินเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2502 และต่อมาคณะนายทหารนาวิกโยธินก็ได้ร่วมกัน ประพันธ์คำร้องขึ้น เพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เนื่องในวันทหารนาวิกโยธิน สืบต่อไป

ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกรอบของสหประชาชาติ[แก้]

    • 1 มว.ทหารช่างในอิรัก (2 ผลัด)
    • 1 มว.ทหารช่างในบุรุนดี (3 ผลัด)
    • 1 มว.ลาดตระเวนในซูดาน (ผลัดที่ 1)
    • 1 มว.ยานเกราะในซูดาน (ผลัดที่ 2)
    • ผู้สังเกตการณ์ในติมอร์ตะวันออก, เซียร์ราลีโอน
    • นายทหารประสานงานในซูดาน
กองพันทหารราบที่ ๑ รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ กองพลนาวิกโยธินในสังกัดกองพลนาวิกโยธิน ในชุดทหารรักษาพระองค์

หน่วยงานในบังคับบัญชา[แก้]

หน่วยขึ้นตรง หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน[แก้]

หน่วยเฉพาะกิจนาวิกโยธิน[แก้]

หน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือ[แก้]

หน่วยงานในสังกัดกองพลนาวิกโยธิน[แก้]

ยุทโธปกรณ์[แก้]

ปืนเล็ก[แก้]

อาวุธปืนเล็กของนาวิกโยธินไทยเน้นมาตรฐานอาวุธแบบนาโต้ ส่วนใหญ่มาจากชาติตะวันตก เช่นสหรัฐอเมริกา, อิสราเอล, สหภาพยุโรป อีกทั้งยังรวมถึงอาวุธมาตรฐานนาโต้จากประเทศจีนบางส่วน

ชื่อ ประเทศ ประเภท ขนาด รูป ข้อมูล
Colt M16  สหรัฐ ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56x45 มม. นาโต้ ปืนเล็กยาวมาตรฐาน ปัจจุบันใช้รุ่น M16A2 เป็นหลัก บางส่วนได้รับ M16A4 ไปใช้งาน
H&K G36 ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56x45 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวน มี G36KV และ G36C ไว้ใช้งาน
IWI TAR21 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56x45 มม. นาโต้ ปัจจุบันถูกโอนย้ายให้ทหารพรานนาวิกโยธินใช้งาน แต่ยังคงใช้งานในหน่วยรบหลักบางส่วน
Colt M4  สหรัฐ ปืนเล็กสั้น 5.56x45 มม. นาโต้ ปืนเล็กสั้นมาตรฐาน มีรุ่น M4A1 กับ M4A3 ใช้ในทุกหน่วยรบและรุ่น SOPMOD ใช้โดยกองพันลาดตระเวน
IWI X95 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ปืนเล็กสั้น 5.56x45 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวนเป็นหลัก บางส่วนถูกใช้งานในหน่วยรบหลักและทหารพรานนาวิกโยธิน
Norinco CQ-A ธงของประเทศจีน จีน ปืนเล็กสั้น 5.56x45 มม. นาโต้ ใช้โดยทหารพรานนาวิกโยธินและหน่วยรบรองบางส่วน กำลังถูกทดแทนด้วย IWI TAR21
SIG Sauer SIG516 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ปืนเล็กสั้น 5.56x45 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวน มีรุ่น SIG516 Carbine ลำกล้อง 14.5 นิ้วใช้งาน
SIG Sauer MPX ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ปืนกลมือ 9x19 มม. พาราเบลลั่ม ใช้โดยกองพันลาดตระเวน
SIG Sauer SSG 3000 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ปืนไรเฟิลซุ่มยิง 7.62x51 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวน
KAC SR-25  สหรัฐ ปืนไรเฟิลซุ่มยิง 7.62x51 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวน
FN Minimi ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม ปืนกลเบา 5.56x45 มม. นาโต้ ปืนกลเบามาตรฐานประจำหมู่สำหรับหน่วยรบหลัก
FN M249  สหรัฐ ปืนกลเบา 5.56x45 มม. นาโต้ ใช้โดยกองพันลาดตระเวนและในหน่วยรบหลัก
US Ordnance M60  สหรัฐ ปืนกลอเนกประสงค์ 7.62x51 มม. นาโต้ ปืนกลอเนกประสงค์มาตรฐาน ใช้ในทุกหน่วยรบ โดยเดิมมีรุ่น M60 กับ M60E4 ปัจจุบันกำลังทยอยอัพเกรด M60 ให้เป็นรุ่น M60E6 ทั้งหมด
M2 Browning  สหรัฐ ปืนกลหนัก 12.7×99 มม. นาโต้ ปืนกลหนักมาตรฐาน ติดตั้งกับยานเกราะต่าง ๆ

ระบบจรวดและเครื่องยิงลูกระเบิด[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท ขนาดลำกล้อง ประเทศ ข้อมูล
M203 เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม.  สหรัฐ
Armbrust จรวดต่อต้านรถถัง 67 มม. ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
M47 Dragon จรวดต่อต้านรถถังนำวิถี 140 มม.  สหรัฐ
BGM-71 TOW จรวดต่อต้านรถถังนำวิถี 152 มม.  สหรัฐ ติดตั้งบนรถฮัมวี่
M40A2 ปืนใหญ่ไร้แรงสะท้อน 105 มม.  สหรัฐ ติดตั้งบนรถ M151
QW-18 MANPAD ? ธงของประเทศจีน จีน
M72 LAW จรวดต่อต้านรถถัง สหรัฐ

ยานพาหนะสาธารณูปโภคและรถหัวลาก[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
Humvee Utility vehicle ?  สหรัฐ RTMC use M998,M1097A2,M997,M1025,M1045A2,M966.
M151 Utility vehicle ?  สหรัฐ RTMC use M151A2, M151A2 mounting TOW,M718A1,M825.
M813 Prime Mover ?  สหรัฐ RTMC use M54A2,M543A2.
M35 2-1/2 ton cargo truck Prime Mover ?  สหรัฐ RTMC use M35A2,M50A2,M49A2,M109A2.
Isuzu Prime Mover ? ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น/ ไทย RTMC use SBR,TXD 4x2,TSD 4x4,TWD 6x6,HTW,FTR 4x4.

ยานเกราะ[แก้]

ปืนใหญ่สนาม[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M101A1 mod 105 mm towed howitzer 6  สหรัฐ รุ่นปรับปรุงจาก M101A1 ธรรมดา โดยใช้ลำกล้อง LG1 ของบริษัท Nexter ฝรั่งเศส
M101A1 105 mm towed howitzer 30  สหรัฐ
GC-45 howitzer 155 mm towed howitzer 12 ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
GHN-45 A1 APU howitzer 155 mm towed howitzer 6 ธงของประเทศออสเตรีย ออสเตรีย
M19 mortar 60 mm mortar ?  สหรัฐ
M224 mortar 60 mm mortar ?  สหรัฐ
M29A1 mortar 81 mm mortar ?  สหรัฐ
M120 mortar 120 mm mortar ? ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล
ATMOS 2000 155 mm/52 caliber Self-propelled howitzer 6 ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล/ ไทย สั่งซื้อในเดือนเมษายน 2561 จำนวน 6 ระบบ ผลิตในไทยภายใต้การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัท Elbit อิสราเอล กำหนดรับมอบภายใน 2 ปี 4 เดือน[8]

ยุทโธปกรณ์ในอดีต[แก้]

ยุทโธปกรณ์ในอดีตของหน่วยนาวิกโยธินนั้นส่วนมากมาจากโครงการความช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และบางส่วนถูกจำหน่ายให้กองทัพบกไทยหลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน[ต้องการอ้างอิง]

ปืนเล็ก[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท กระสุน ประเทศ ข้อมูล
M1918 Browning Automatic Rifle ปืนเล็กยาวอัตโนมัติ .30-06 Springfield  สหรัฐ รหัสในกองทัพไทย ปลก.88 หรือชื่อเต็มคือ ปืนเล็กกล 88

ยานเกราะ[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
LVT-4 ยานสะเทินน้ำสะเทินบก 16  สหรัฐ
M3 Half-track ยานเกราะลำเลียง 12+  สหรัฐ

ปืนใหญ่[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M1A1 75mm Pack Howitzer 16+  สหรัฐ รหัสในกองทัพไทยคือ ปบค.97 หรือชื่อเต็มคือ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง แบบ 97
Bofors L/40 Model 1934 75mm field gun ? ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน รหัสในกองทัพไทยคือ ปบร.80 หรือชื่อเต็มคือ ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีราบ แบบ 80 กองทัพเรือไทยสั่งซื้อในปี พ.ศ. 2475 เข้าประจำการในกรมนาวิกโยธินในปี พ.ศ. 2482 และจำหน่ายให้กองทัพบกไทยในวันที่ 29 มิ.ย. พ.ศ. 2494 หลังจากเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน

รถส่งกำลังบำรุงและรถหัวลาก[แก้]

รูป ชื่อ ประเภท จำนวน ประเทศ ข้อมูล
M274 1⁄2 ton (454kg) 4x4 platform truck ?  สหรัฐ เป็นรถนอกอัตราโครงการช่วยเหลือทางทหารจากสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง[แก้]

  1. บำรุงสุข, สุรชาติ (18 July 2019). "เปิดข้อมูลอำนาจกำลังรบไทย". www.matichonweekly.com. สืบค้นเมื่อ 17 November 2019.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 8 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 34 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 38 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 38 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  8. Latest defence news

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]