หน่วยข่าวกรองลับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยข่าวกรองลับ
ตราหน่วยข่าวกรองลับ
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งกรกฎาคม 1909 (114 ปีที่แล้ว) (1909-07)
ก่อนหน้า
ประเภทหน่วยข่าวกรองต่างประเทศ
เขตอำนาจรัฐบาลสหราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่ตึกเอสไอเอส
ลอนดอน, อังกฤษ
สหราชอาณาจักร
51°29′16″N 0°07′29″W / 51.48778°N 0.12472°W / 51.48778; -0.12472
คำขวัญSemper Occultus ("เป็นความลับตลอดไป")
บุคลากร2,594 (31 มีนาคม ค.ศ. 2016)[1]
งบประมาณประจำปีบัญชีข่าวกรองเดี่ยว (2.6 พันล้านปอนด์ สำหรับปีงบประมาณ 2014–15)[2][nb 1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์SIS.gov.uk
เชิงอรรถ
  1. เป็นงบประมาณสำหรับหน่วยงานด้านข่าวกรองทุกหน่วย แต่ละหน่วยใช้จ่ายเท่าใดไม่มีเปิดเผย

หน่วยข่าวกรองลับ (อังกฤษ: Secret Intelligence Service) ย่อว่า เอสไอเอส (SIS) และยังเรียกว่า เอ็มไอ 6 (MI6) เป็นหน่วยสืบราชการลับของรัฐบาลสหราชอาณาจักร มีหน้าที่หลักเป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวกรองจากมนุษย์ (human intelligence) ในต่างแดนและด้วยวิธีการลับ เพื่อส่งเสริมความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักร เอสไอเอสเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมข่าวกรองของสหราชอาณาจักร และหัวหน้าของเอสไอเอสต้องรายงานตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหราชอาณาจักร[4]

เอสไอเอสก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1909 เป็นแผนกหนึ่งของสำนักงานราชการลับ (Secret Service Bureau) โดยมีความชำนัญพิเศษในด้านข่าวกรองต่างประเทศ และเจริญก้าวหน้าอย่างเด่นชัดในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันอย่างเป็นทางการในราว ค.ศ. 1920[5] ส่วนชื่อ "เอ็มไอ 6" นั้น ย่อมาจาก "Military Intelligence, Section 6" (ข่าวกรองทหาร แผนก 6) เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อใช้เป็นชื่อเรียกเพื่อความสะดวก เพราะเวลานั้น หน่วยงานนี้มีชื่อเรียกหลายชื่อ ชื่อ "เอ็มไอ 6" นี้ยังใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน[5] อย่างไรก็ดี การมีอยู่ของเอสไอเอสไม่เป็นที่รับรองอย่างเป็นทางการจนกระทั่ง ค.ศ. 1994[6] ซึ่งมีการเสนอพระราชบัญญัติราชการข่าวกรอง ค.ศ. 1994 (Intelligence Services Act) หรือไอเอสเอ (ISA) ต่อรัฐสภา เพื่อวางรากฐานให้แก่หน่วยงานนี้เป็นครั้งแรก ปัจจุบัน เอสไอเอสอยู่ในการกำกับดูแลของคณะตุลาการอำนาจสืบสวน (Investigatory Powers Tribunal) กับคณะกรรมาธิการข่าวกรองและความมั่นคงของรัฐสภา (Parliamentary Intelligence and Security Committee) และตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 เอสไอเอสมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตึกเอสไอเอสในลอนดอน ตรงฝั่งใต้ของแม่น้ำเทมส์

บทบาทที่สำคัญกว่าบทบาทอื่นของเอสไอเอส ตามที่มีระบุไว้ คือ การต่อต้านการก่อการร้าย การต่อต้านการแพร่กระจายของอาวุธร้ายแรง การให้ข่าวกรองเพื่อสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการสนับสนุนเสถียรภาพในต่างแดนเพื่อทำลายการก่อการร้ายและอาชญากรรมอื่น ๆ[7] แต่เอสไอเอสต่างจากหน่วยงานพี่น้อง ซึ่งได้แก่ หน่วยความมั่นคง (Security Service: MI5) และกองบัญชาการสื่อสารของรัฐบาล (Government Communications Headquarters: GCHQ) ตรงที่เอสไอเอสทำงานเฉพาะที่เกี่ยวกับการประมวลข่าวกรองจากต่างประเทศ พระราชบัญญัติไอเอสเอกำหนดให้เอสไอเอสปฏิบัติการต่อบุคคลที่อยู่นอกเกาะบริติชเท่านั้น[8] การดำเนินการบางอย่างของเอสไอเอสนับแต่คริสต์ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมา ก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ในประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนรู้เห็นในการทรมานและลักพาตัวบุคคล[9][10]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Intelligence and Security Committee of Parliament "Annual Report 2016–2017" เก็บถาวร 2020-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 77. House of Commons (20 December 2017). Retrieved 1 June 2018.
  2. House of Commons (5 July 2016). Intelligence and Security Committee of Parliament Annual Report 2015–2016 เก็บถาวร 2020-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 10. Retrieved 12 January 2017.
  3. "The Chief". SIS – MI6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 เมษายน 2012. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014.
  4. Whitehead, Jennifer (15 July 2016). "Our Chief". SIS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  5. 5.0 5.1 "1920: What's in a Name". SIS website. สืบค้นเมื่อ 12 April 2017.
  6. Whitehead, Jennifer (13 October 2005). "MI6 to boost recruitment prospects with launch of first website". Brand Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 10 July 2010.
  7. "Our Mission". SIS website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  8. แม่แบบ:Cite legislation UK
  9. Foster, Peter (5 April 2014). "Tony Blair 'knew all about CIA secret kidnap programme'". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.
  10. Norton-Taylor, Richard (1 June 2016). "Public need answers in 'shocking' MI6 rendition scandal, says senior Tory". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 August 2017.