หงอนไก่เทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หงอนไก่เทศ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Core eudicots
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Amaranthaceae
สกุล: Celosia
สปีชีส์: C.  argentea
Varietas: C.  argentea var. cristata
Trinomial name
Celosia argentea var. cristata
(L.) Kuntze[1]
ชื่อพ้อง

หงอนไก่เทศ (Celosia argentea var. cristata) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของสปีชีส์ Celosia argentea เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดที่อินเดีย และได้รับการอนุรักษ์ไว้ด้วยความเชื่อทางศาสนาในอินเดีย พม่า และจีน โดยนิยมปลูกในวัด ชื่อ หงอนไก่ ของต้นหงอนไก่เทศนั้นมาจากดอกที่มีลักษณะเหมือนหัวของไก่ตัวผู้ หงอนไก่เทศเป็นพืขที่มีความทนทานและทนต่อโรคส่วนใหญ่ และเติบโตได้ดีทั้งในร่มและกลางแจ้ง แม้ว่าสถานที่ที่เหมาะต่อการเจริญจะเป็นที่โล่งแจ้งไม่มีเงาบดบังและดินที่ระบายน้ำได้ดีก็ตาม เนื่องจากหงอนไก่เทศมีความอ่อนไหวต่อโรคเชื้อรา[3]

ส่วนมากหงอนไก่เทศถูกปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกที่มีความงดงาม และยังได้รับความนิยมอย่างสูงจากนักการสวน เนื่องจากความแปลกของช่อดอกที่มีลักษณะเป็นหงอนหยัก ตัวดอกยังสามารถตัดออกมาทำช่อดอกไม้แห้งซึ่งมักใช้ประดับในอาคาร นอกจากนี้ใบและดอกยังสามารถใช้เป็นพืชผักได้อีกด้วย โดยมักถูกใช้เป็นอาหารในประเทศอินเดีย แอฟริกาตะวันตก และ อเมริกาใต้[4]

จำนวนโครโมโซมร่างกายของสายพันธุ์นี้เป็น 2n = 36 ในขณะที่มาตรฐานของสปีชีส์นี้มีจำนวนโครโมโซมเป็น 2n = 72[5]

ลักษณะ[แก้]

หงอนไก่เทศเป็นพืชฤดูเดียวที่มีต้นกำเนิดในเขตร้อนและเป็นไม้ล้มลุก หมายถึง ไม่มีลำต้นที่เป็นไม้ ตั้งตรง ชุ่มน้ำและไม่แตกสาขา ใบเชิงวงรีรูปหอก มีสีเขียวหรือมีสีแดงไหม้ มีช่อดอกอยู่ที่ปลาย ดอกหนาและแบน นุ่มเหมือนกำมะหยี่ ลักษณะเป็นยอดสัน มีสีแดง สีซีด สีกุหลาบ และ สีเหลืองครีม[6] เจริญเติบโตได้ดีทั้งในสภาพอากาศชื้นและแห้งแล้ง และตัวดอกสามารถอยู่ได้นานถึง 8 สัปดาห์ แต่ละดอกสามารถผลิตเมล็ดได้เป็นจำนวนมากถึง 1,500 เมล็ดต่อกรัมหรือ 43,000 เมล็ดต่อออนซ์[7]

หงอนไก่เทศมีความสูงได้ถึง 30 ซม. แต่โดยทั่วไปจะเตี้ยกว่านั้น ใบมีทั้งสีเขียว สีทองสัมฤทธิ์/น้ำตาลแดง ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ตัวดอกแบ่งออกได้เป็นสามส่วน ได้แก่ ช่อเชิงลด (spike), ขนนก (plume) และ สัน (crest) แตกต่างจากดอกชนิดอื่นแต่มีความสามัญมาตรฐาน นั่นคือ ดอกหงอนไก่เทศมักมีสีสันสดใส มักเป็นสีแดง, เหลือง, ชมพู หรือ ส้ม แม้ว่าอาจมีสีอื่น ๆ อีกก็ตาม ในบางกรณี อาจมีลักษณะของลูกผสมดอกหลายสีด้วย[8]

การเพาะปลูก[แก้]

หงอนไก่เทศมีความแข็งแรงและสามารถเพาะได้ง่ายจากเมล็ด เนื่องจากหงอนไก่เทศมีต้นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน จึงเจริญได้ดีในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อย่างไรก็ตาม ในบริเวณที่ภูมิอากาศมีอากาศหนาวเย็นกว่าก็สามารถเพาะปลูกได้ในช่วงฤดูร้อน หงอนไก่เทศเป็นพืชฤดูเดียว จึงเจริญเติบโตได้เพียงหนึ่งในสี่ของปี โดยอุณหภูมิดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 16 องศาเซลเซียส[9] พืชชนิดนี้ชอบดินที่มีความสมบูรณ์ อุดมไปด้วยอินทรียสาร และต้องการแดดจัดหรือมีร่มเงาบางส่วน เริ่มหว่านเมล็ดได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมในบริเวณที่อบอุ่น และจะทำการย้ายปลูกครั้งเดียวหรือสองครั้งในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน โดยมีระยะห่างจากต้นอื่น 30–35 ซม. ในทุกทิศทาง ในช่วงฤดูร้อนจำเป็นต้องรดน้ำให้กับหงอนไก่เทศในปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โคนต้น และดอกจะบานจนกว่าจะเกิดน้ำค้างแข็งมาเกาะในฤดูหนาว

พืชชนิดนี้ง่ายต่อการเจริญเติบโตและดูแลรักษา มีแมลงไม่กี่ชนิดที่ทำลายต้นหงอนไก่เทศ อย่างไรก็ดี ตัวไรนั้นกินพืชนี้ หงอนไก่เทศยังมีความอ่อนไหวต่อการเกิดจุดบนใบ, รากเน่า และการไหลเวียนถูกหยุดเพราะรากถูกบีบรัดด้วย[10] อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันการเกิดลักษณะดังกล่าวได้ โดยการหลีกเลี่ยงไม่ให้ดินชื้นและกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ และควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ใบและดอกเปียกน้ำ เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคเชื้อราได้

พันธุ์ปลูก ได้แก่ "Jewel box", "Century mix", "New Look" และ "Pink Castle" ด้วยความหลากหลายของรูปทรงและสีของดอกและใบ ทำให้พันธุ์ปลูก "silver firecracker" นั้นเป็นที่นิยมนำปลูกเป็นไม้ประดับไปทั่วโลก กระทั่งปี พ.ศ. 2539 พันธุ์ส่วนใหญ่ของ Celosia argentea var. Plumosa ถูกขายเป็นไม้ประดับในยุโรป ขณะที่หงอนไก่เทศและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Celosia argentea 'Caracas' ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลัง[11][5]

ช่วง[แก้]

รูปแบบอ็อคโทพลอยด์ของความผกผันของ argentea นั้นสามารถพบได้ทั่วโลกทั้งในเขตร้อนและเขตกึ่งเขตร้อน ส่วนรูปแบบเตตระพลอยด์เกิดขึ้นเฉพาะในอินเดียใต้และอินเดียกลางเท่านั้น โดยเรื่องเกี่ยวกับพันธุ์ของ cristata และ plumosa นั้นถูกอ้างอิงทางวัฒนธรรมจากอินเดีย พม่า และ จีนเท่านั้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปลูกหงอนไก่เทศมาอย่างยาวนานในบริเวณสวนและศาสนสถาน ในธรรมชาติ ดูเหมือนว่าหงอนไก่เทศจะไม่ได้มีอยู่ เพราะตัวต้นมีเมล็ดเล็ก ๆ เป็นผลผลิตจากดอก โดยรูปแบบของการเพาะปลูกเหล่านี้ยังไม่แน่ชัด แม้ว่าจะมีการตรวจสอบหาความจริงอยู่หลายครั้งก็ตาม[12]

การใช้งาน[แก้]

คล้ายกับสกุล amaranth หงอนไก่เทศถูกใช้เป็นผัก โดยใช้ใบเป็นผักกันอย่างแพร่หลายในตอนใต้ของประเทศไนจีเรีย และยังใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารในประเทศเบนิน, ประเทศคองโก และ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมันถูกปลูกไว้ในสวนหรือฟาร์มขนาดเล็กของตัวเองและในเชิงพาณิชย์ แม้แต่ลำต้นและดอกอ่อนก็ยังถูกนำมาใช้เป็นอาหาร เมล็ดก็ยังสามารถนำมารับประทานได้ โดยจัดอยู่ในหมวดหมู่ธัญพืชเทียม (pseudogetreids) เนื่องจากความต้านทานต่อศัตรูพืชและโรคและจำนวนผลผลิตที่สูง โดยปรากฏเป็นพืชทางเลือกที่ดีของสกุล amaranth

ส่วนประกอบ[แก้]

ส่วนประกอบของหงอนไก่ ได้แก่ น้ำ, วิตามินซี, แคโรทีนอยด์, โปรตีน, ไนเตรต และ ออกซาเลต นอกจากนี้ยังสามารถพบไตรเทอร์พีนอยด์ ซาโพนินได้ในรากและเมล็ดด้วย ยังอาจพบน้ำตาลได้ในรากและฟลาโวนอยด์ในใบและลำต้นด้วย เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนช่อดอกสีเหลืองของ cristata และ plumosa อาจมีโดพามีนอยู่ในปริมาณสูง[13] เคโลเซียน เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ที่พบได้ในกระจุกเมล็ดของหงอนไก่เทศ จากการศึกษาในสัตว์พบว่ามีผลในการกระตุ้นการปกป้องตับจากสารพิษ (hepatoprotective) และกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่นเดียวกับน้ำสกัดที่ได้จากเมล็ด และยังตรวจพบฤทธิ์ในการต้านการแพร่กระจายในตับของหนูได้อีกด้วย สารสกัดแอลกอฮอล์ของเมล็ดยังมีฤทธิ์เป็นยาต้านเบาหวานในหนูบางชนิดด้วย[14]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Plant Name Details for Celosia argentea var. cristata". International Plant Names Index (IPNI). International Organization for Plant Information (IOPI). สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  2. "Plant Name Details". International Plant Names Index (IPNI). International Organization for Plant Information (IOPI). สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  3. E. Tanne, L. Kuznetsova, J. Cohen, S. Alexandrova, A. Gera: Phytoplasmas as Causal Agents of Celosia Disease in Israel . In: HortScience . Vol. 35, No. 6, October 2000, pp. 1103-1106
  4. "Celosia cristata". Flora of China. 1 September 2014 – โดยทาง eFloras.org, Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO & Harvard University Herbaria, Cambridge, MA.
  5. 5.0 5.1 Grant, William F. 1954. A cytological study of Celosia argentea, C. argentea var. cristata, and their hybrids. Botanical Gazette, 115(4): 323-336.
  6. Colin W. Wrigley, Harold Corke, Koushik Seetharaman, Jon Faubion: Encyclopedia of Food Grains. Vol. 1, Second Edition, Academic Press, 2016, ISBN 978-0-12-803537-5, p. 275.
  7. WF Grant: A Cytological Study of Celosia argentea, C. argentea var. Cristata, and Their Hybrids. In: Botanical Gazette. 115 (4), 1954, pp. 323-336.
  8. Georg August Pritzel, Carl Jessen : The German folk name of the plants. New contribution to the German language treasure. Philipp Cohen, Hanover 1882, page 86.
  9. "Celosia Flower". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09.
  10. "Flowers Gallery".
  11. L. Arriola et al .: Border Cells and Arbuscular Mycorrhizae in four Amaranthaceae species. In: Phytopathology. 87 (12), 1997, pp. 1240-1242
  12. JR Olupot et al .: The effectiveness of Celosia argentia (Striga chaser) to control Striga on sorghum in Uganda. Crop Protection 22 / - / 2003. Pp. 463-8
  13. Hayakawa et al .: Anti-metastatic and immunomodulating properties of the water extract from Celosia argentea seeds. In: Biol Pharm Bull. 21 (11), 1998, p. 1154-9
  14. Mamta B. Shah, KN Patel, Malati G. Chauhan: Contribution to Indigenous Drugs Part I: Celosia Argentea . In: Pharmaceutical Biology . Vol. 31, No. 3, 1993, pp. 223-234