สเปซชิปทู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สเปซชิปทู
สเปซชิปทู (ส่วนลำตัวเครื่องบินหลัก) อยู่ภายใต้ยานแม่ ไวท์ไนท์ทู
หน้าที่ เครื่องบินอวกาศโดยสาร
ประเทศผู้ผลิต สหรัฐ
ผู้ผลิต สเกลด์คอมโพสิตส์ (ลำแรก)
เดอะสเปซชิปคอมปะนี
เที่ยวบินแรก 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (ร่อนครั้งแรก)
29 เมษายน พ.ศ. 2556 (บินด้วยเครื่องครั้งแรก)
ผู้ใช้หลัก เวอร์จินกาแลกติก
จำนวนที่ถูกผลิต 2
พัฒนาจาก สเปซชิปวัน

สเกลด์คอมโพสิตส์ รุ่น 339 สเปซชิปทู หรือ เอสเอสทู (อังกฤษ: Scaled Composites Model 339 SpaceShipTwo, SS2) เป็นเครื่องบินอวกาศแบบวงโคจรย่อยออกแบบสำหรับการท่องเที่ยวอวกาศ ผลิตโดยเดอะสเปซชิปคอมปะนี

สเปสชิปทูถูกขนไปยังความสูงปล่อยตัวโดยสเกลด์คอมโพสิตส์ไวท์ไนท์ทู (Scaled Composites White Knight Two) ก่อนถูกปล่อยตัวให้บินไปยังชั้นบรรยากาศส่วนบนด้วยเครื่องยนต์จรวด จากนั้นจึงร่อนกลับมายังโลกและจอดบนรันเวย์แบบเครื่องบินปกติ[1] ยานอวกาศนี้เปิดตัวสู่สาธารณะเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552[2] เกือบสามปีหลังจากการทดสอบบินโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ก็ได้มีการทดสอบบินแบบใช้เครื่องยนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556[3]

เวอร์จินกาแลกติกวางแผนจะบริหารหมู่กองบินเครื่องบินอวกาศประกอบด้วยสเปซชิปทูจำนวนห้าลำให้เป็นบริการขนส่งผู้โดยสารเอกชน[4][5][6][7] และได้เริ่มเปิดรับจองแล้วบางส่วน โดยมีราคาตั๋วเที่ยวแบบวงโคจรย่อยอยู่ที่ 250,000 ดอลลาห์สหรัฐ[8] เครื่องบินอวกาศนี้ยังสามารถใช้ขนส่งสิ่งของทางวิทยาสตร์สำหรับนาซาและองค์กรอื่น ๆ[9]

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ระหว่างเที่ยวบินทดสอบ VSS Enterprise เครื่องบินสเปสชิปทูลำแรกหักกลางอากาศและตกลงบนทะเลทรายโมฮาวี[10][11][12][13] การตรวจสอบเบื่องต้นชี้ว่าอาจเป็นเพราะระบบลดระดับได้ทำงานก่อนกำหนด[14][15] นักบินหนึ่งคนเสีนชีวิตส่วนอีกคนบาดเจ็บสาหัดที่หัวไหล่ระหว่างกระโดดร่มชูชีพลงมาจากเครื่องบิน[16]

เครื่องบินสเปซชิปทูลำที่สอง VSS Unity เปิดตัวเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.​ 2559[17][18] ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการทดลองบิน[19][20][21]

อ้างอิง[แก้]

  1. "sRLV platforms compared". NASA. 7 March 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-20. สืบค้นเมื่อ 10 March 2011. SpaceShipTwo: Type: HTHL/Piloted
  2. Amos, Jonathan (8 December 2009). "Richard Branson unveils Virgin Galactic spaceplane". BBC News. สืบค้นเมื่อ 23 March 2010.
  3. "Sir Richard Branson's Virgin Galactic spaceship ignites engine in flight". BBC. 29 April 2013. สืบค้นเมื่อ 29 April 2013.
  4. "Space Ship Completes 24th Test Flight in Mojave". HispanicBusiness.com. 4 เมษายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2013.
  5. "Virgin Galactic to Launch Passengers on Private Spaceship in 2013". Space.com. 8 June 2012. สืบค้นเมื่อ 11 June 2012.
  6. "Virgin Galactic space tourism could begin in 2013". BBC. 26 October 2011.
  7. John Schwartz (23 January 2008). "New Tourist Spacecraft Unveiled". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 January 2008.
  8. Fly With Us เก็บถาวร 2015-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Virgin Galactic. Retrieved 5 November 2015.
  9. "Virgin spaceship aims to be science lab". BBC. 4 December 2012. สืบค้นเมื่อ 4 December 2012.
  10. Chang, Kenneth; Schwartz, John (31 October 2014). "Virgin Galactic's SpaceShipTwo Crashes in New Setback for Commercial Spaceflight". New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 November 2014.
  11. Foust, Jeff (2014-10-31). "SpaceShipTwo Destroyed in Fatal Test Flight Accident". Space News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-31. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
  12. "Virgin Galactic's SpaceShipTwo Crashes During Flight Test". October 31, 2014.
  13. Durden, Rick (31 October 2014). "Virgin Galactic's SpaceShipTwo Crashes". AVweb. สืบค้นเมื่อ 31 October 2014.
  14. Chang, Kenneth (November 3, 2014). "Investigators Focus on Tail Booms in Crash of Space Plane". New York Times. สืบค้นเมื่อ November 3, 2014.
  15. Melley, Brian (November 3, 2014). "Spaceship's descent device deployed prematurely". AP News. สืบค้นเมื่อ November 3, 2014.
  16. "Virgin Galactic's SpaceShipTwo rocket plane crashes". October 31, 2014.
  17. "New SpaceShipTwo Rollout Friday". AVweb. สืบค้นเมื่อ 19 February 2016.
  18. "Virgin Galactic unveils new space tourism rocket plane". CBC News. 19 February 2016. สืบค้นเมื่อ 20 February 2016.
  19. Weston Williams (5 December 2016). "Space tourism: Virgin Galactic makes successful glide test". Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 5 December 2015.
  20. "Update from Mojave: Testing Testing 1-2-3". Virgin Galactic. 2016-03-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2016-03-15.
  21. "Update from Mojave: VSS Unity's First Flight Test Completed - Virgin Galactic". virgingalactic.com. 9 September 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.