สีในวัฒนธรรมจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Red paper lanterns for sale in เซี่ยงไฮ้, 2012. The color red symbolizes luck and is believed to ward away evil.

สีในวัฒนธรรมจีน หมายถึง สีต่าง ๆ ที่มีความหมายทั้งในทางที่ดี (auspicious; 吉利) และไม่ดี (inauspicious; 不利) ตัวอักษรภาษาจีนของคำว่า สี คือ 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (yánsè) ในสมัยจีนโบราณมักใช้ตัวอักษร 色 (sè) เพียงตัวเดียวเท่านั้น ซึ่งมีความหมายโดยตรงถึงสีบนใบหน้า (color in the face) หรือ อารมณ์ความรู้สึก (emotion) เพราะคำว่า 'เหยียน' หมายถึงพื้นที่ระหว่างคิ้ว 'เซอะ' หมายถึงลมปราณ ปราชญ์จีนโบราณกล่าวว่า เมื่อคนเราเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ที่ใจ พลังงาน หรือ 'ชี่' จะไปแสดงออกที่หว่างคิ้ว กลายเป็นอารมณ์หรือสีหน้า[1]

เริ่มมีการใช้คำว่า หยานเซอะ (yánsè) ในความหมายของสีทุกสีในช่วงสมัยราชวงศ์ถัง อีกทั้งมีสำนวนจีนที่กล่าวว่า “wǔ (ห้า) yán liù (หก) sè” ใช้ในการอธิบายถึงความหลากหลายของสี จึงเป็นการใช้คำว่า 顏色 หรือ เหยียนเซอะ (สี) ในความหมายทั่วไป

ทฤษฎีเบญจธาตุ[แก้]

ในศิลปะและวัฒนธรรมของจีนโบราณมีการใช้สีพื้นฐาน 5 สี คือ สีน้ำเงิน หรือที่เรียกว่า ชิง (qing; ; ซึ่งเป็นการผสมสีเขียวและสีน้ำเงินเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "grue" ซึ่งมาจากคำว่า "blue" และคำว่า "green") สีแดง สีเหลือง สีขาว และสีดำ ซึ่งมีความนัยถึงธาตุทั้ง 5 ธาตุ คือ น้ำ ไฟ ไม้ โลหะ และดิน ตามลำดับ โดยตลอดสมัยราชวงศ์ซาง (อังกฤษ: Shang dynasty; จีน: 商朝; พินอิน: Shāng cháo) ราชวงศ์ถัง (อังกฤษ: Tang dynasty; จีน: 唐朝; พินอิน: Táng Cháo) ราชวงศ์โจว (อังกฤษ: Zhou dynasty; จีน: 周朝; พินอิน: Zhōu Cháo) และราชวงศ์ฉิน (อังกฤษ: Qin dynasty; จีน: 秦朝; พินอิน: Qín Cháo) สมเด็จพระจักรพรรดิได้ทรงใช้ทฤษฎีเบญจธาตุ หรือธาตุทั้ง 5 (อังกฤษ: Theory of the Five Elements หรือ Wu Xing; จีน: 五行; พินอิน: wŭ xíng) ในการเลือกใช้สีทั้งสิ้น

ธาตุ ไม้ ไฟ ดิน โลหะ (ทอง) น้ำ
สี สีเขียว สีแดง สีเหลือง สีขาว สีดำ
ทิศ ทิศตะวันออก ทิศใต้ จุดศูนย์กลาง ทิศตะวันตก ทิศเหนือ
ดาวเคราะห์ ดาวพฤหัสบดี ดาวอังคาร ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ ดาวพุธ
Heavenly creature มังกรสีน้ำเงิน

(Azure Dragon)
青龍

หงส์ไฟ

(Vermilion Bird)
朱雀

มังกรสีเหลือง

(Huang Long (Four Symbols), Yellow Dragon)
黃龍

เสือขาว

(White Tiger)
白虎

เต่าสีนิล

(Black Tortoise)
玄武

Heavenly Stems , , , , ,
ระยะ

(Phase)

New Yang Full Yang Yin/Yang balance New Yin Full Yin
พลังงาน Generative Expansive Stabilizing Contracting Conserving
ฤดูกาล ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ช่วงการเปลี่ยนฤดู
(ทุก ๆ 3 เดือน)
ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว
ภูมิอากาศ ลม ร้อน ชุ่มชื้น (Damp) แห้ง หนาว
ชีววิทยาการเจริญ แตกกอหรือต้นใหม่ (Sprouting) ดอกไม้บาน (Blooming) ผลไม้สุก (Ripening) เหี่ยวแห้งหรือร่วงโรย (Withering) หยุดหรือพัก (Dormant)
ปศุสัตว์ (Livestock) หมา แกะ/แพะ วัว ไก่ หมู
ผลไม้ พลัม แอปริคอต พุทราจีน ท้อ เกาลัด
เมล็ดพันธุ์พืช (Grain) ข้าวสาลี ถั่ว ข้าว ปอ (hemp) ข้าวฟ่าง (millet)

สีดำ[แก้]

สีดำ เป็นสีที่มีความหมายถึง น้ำ และเป็นสีกลาง (neutral color) ทำให้มีคุณสมบัติลึกลับไม่แน่นอนแต่สามารถอยู่หลอมรวมกับทุกสิ่งได้มีทั้งพลังอำนาจและความอ่อนไหวไปพร้อมๆกัน ให้ทั้ง คุณประโยชน์มากมาย และยังสามารถนำมาซึ่งภัยพิบัติที่ยากจะประเมินค่าได้ดังนั้น สีดำจึงหมายถึงความคลุมเครือไม่แน่นอนเช่นเดียวกับกระแสน้ำ หมายถึงความลึกล้ำที่ยากจะหยั่งถึง ในทางจิตวิทยา สีดำเป็นสีที่เร้นลับ เคร่งขรึม โศกเศร้า ในหนังสืออี้จิง (Book of Changes) อ้างถึงสีดำว่าเป็นสีของสวรรค์ ด้วยคำกล่าวที่ว่า“สวรรค์และโลกแห่งสีดำอันลึกลับ (heaven and earth of mysterious black)” ที่มีที่มาจากการสังเกตท้องฟ้าทางทิศเหนือซึ่งเป็นสีดำมืด นำมาซึ่งความเชื่อที่ว่าองค์จักรพรรดิ์ หรือ เทียนตี้ (Tian Di, Heavenly Emperor; 天帝) คือผู้ที่มาจากดาวเหนือ จักรพรรดิในสมัยโบราณจึงใช้สีดำเป็นสีของเครื่องทรงมาโดยตลอด จนถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นจึงมีการเปลี่ยนไปใช้สีเหลืองแทน

สัญญลักษณ์ไท่จิ (อังกฤษ:Taiji symbol; จีนตัวย่อ: 太极; จีนตัวเต็ม: 太極; พินอิน: tàijí; แปลตามตัวอักษรว่า "great pole") ใช้สีดำและสีขาวเป็นตัวแทนแห่งความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างหยินและหยาง (Yin and Yang) ในสมัยจีนโบราณถือว่าสีดำเป็นราชาแห่งสีทั้งหลาย (king of colors) และยังให้เกียรติสีดำมากกว่าสีอื่น ๆ เล่าจื๊อเคยกล่าวไว้ว่า "ห้าสีทำให้คนตาบอด (five colors make people blind)" ดังนั้นสถาบันเต๋าจึงใช้สีดำเป็นสีสัญญลักษณ์ประจำของเต๋า (Dao) นอกจากนั้นสีดำยังมีความหมายโดยนัยถึงความเศร้าโศก และความตายด้วย

สีแดง[แก้]

Contemporary อั่งเปา

สีแดงเป็นสีที่เกี่ยวเนื่องกับไฟ ธาตุไฟในแผนภูมิโป้ยก่วย (八卦) ของจีน หมายถึงแสงสว่าง ความอบอุ่น พละกำลัง และความรุ่งโรจน์ สีแดงจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีและความสุข สามารถพบการใช้สีแดงได้ทุกที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่จีน วันหยุดอื่น ๆ และในการพบปะของครอบครัว ซองอั่งเปาซึ่งเป็นเงินของขวัญที่จะได้รับในสังคมจีนช่วงวันหยุดหรือโอกาสพิเศษมีการใช้สีแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีเช่นกัน

สีแดงจึงเป็นที่ต้องห้ามในงานศพในฐานะที่เป็นสีสัญลักษณ์ของความสุข[2] และชื่อของผู้ตายมักถูกเขียนขึ้นโดยใช้สีแดง จึงถือว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสมที่จะใช้หมึกสีแดงสำหรับเขียนชื่อบุคคลในบริบทอื่น ๆ

ประเทศจีนในปัจจุบัน สีแดงยังคงเป็นสีที่นิยมมากและนำมาใช้โดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ แม้ในตลาดหุ้นของจีน สีแดงก็เข้ามามีบทบาทด้วยเช่นกัน กระดานหุ้นของประเทศในแถบตะวันตก เช่น ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา หรือในประเทศอื่นอีกหลาย ๆ ประเทศ เมื่อตัวเลขเป็นสีแดงหมายถึงราคาหุ้นที่ร่วงหรือลดลงจากเดิม แต่สำหรับในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง หากตัวเลขราคาหุ้นเป็นสีแดง กลับหมายถึงราคาหุ้นที่กำลังขึ้นหรือเพิ่มขึ้นกว่าเดิม จึงมีคำว่า "เปิดกระดานแดง (开红盘)" ที่หมายถึงหุ้นดีดตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงเปิดตลาด

สีชิง (เขียวอมน้ำเงิน)[แก้]

แม้ว่าขณะนี้ประเทศจีนจะมีคำแยกต่างหากสำหรับ "สีฟ้า" () แต่ในสมัยโบราณมีการจัดเฉดสีฟ้าเข้ารวมกับสีเขียว โดยใช้ชื่อเรียกว่า (qing) ซึ่งมีที่มาจากการเกิดต้นใหม่ของพืช สีนี้เป็นสีที่มีความเกี่ยวเนื่องกับธาตุไม้ (อาทิ ชีวิตของพึช) มันจึงหมายถึงความเจริญเติบโตหรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า สีแทนความหม่นหมอง แต่เมื่อมันมาอยู่ รวมกันก็จะเกิดความหมายใหม่ที่ดีๆเพราะสีเขียวอมน้ำเงินนั้นไปพ้องกับสีของใบไผ่ เป็นไม้มงคลของชาวจีน ชาวจีนมีความเชื่อว่าสีเขียวอมน้ำเงินเป็นสีแห่งความ อ่อนเยาว์ในทางจิตวิทยา ได้รวมเอาคุณลักษณะของหลายสีเข้าด้วยกัน ได้แก่ สีเหลือง สีน้ำเงิน สีขาว แม้สีฟ้าจะถูกมองว่าหม่นหมอง แต่เมื่อได้ความสดใสจากสีเหลือง เข้ามาช่วยแล้ว ก็ทำให้สีเขียวอมน้ำเงินช่วยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกให้สดชื่นได้

สีเขียว[แก้]

สีเขียว เป็นสีที่แทนธาตุไม้ ซึ่งมีความหมายเกี่ยวเนื่องถึงการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น การเจริญเติบโต ความรุ่งเรือง และความสามัคคี เมื่อไม่นานมานี้ สีเขียวยังถูกใช้เป็นสีสัญญลักษณ์ในการสร้างความสมานสามัคคี (harmonization efforts) โดยรัฐบาลประเทศจีนด้วย

นอกจากนั้นสีเขียวยังมีความหมายในทางลบสำหรับซึ่งมีที่มาจากสำนวนว่า "สวมหมวกสีเขียว " หมายถึงการที่ภรรยานอกใจไปมีสามีคนใหม่

สีขาว[แก้]

สีขาว มีความหมายถึงโลหะ โดยมี "ทอง (gold)" เป็นตัวแทน เป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงความสว่าง บริสุทธิ์ และสมปรารถนา ในวัฒนธรรมจีนสีขาวยังเป็นสีแห่งความโศกเศร้าที่ใช้ในงานศพ เกี่ยวเนื่องกับความตายและความโศกเศร้า[3] จึงเป็นสีต้องห้ามสำหรับงานมงคล

สีเหลืองหรือสีทอง[แก้]

สีเหลือง เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุดิน ซึ่งหมายถึง ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทั้งในแง่ของอารมณ์ความรู้สึกและชีวิตความเป็นอยู่ ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสีของจักรพรรดิจีน โดยเป็นสีสัญลักษณ์ของห้าจักรพรรดิในตำนานของจีนโบราณ เป็นสีที่มักใช้ประดับพระราชวัง แท่นบูชา และวัด รวมถึงใช้สำหรับเสื้อคลุมและเครื่องทรงขององค์จักรพรรดิด้วย และมีสีทองเป็นส่วนประกอบในทางจิตวิทยา สีบอกถึงความบริบูรณ์ กระปรี้กระเปล่า พลังแห่งความหวัง ความสดชื่น รื่นเริงบันเทิงใจและเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ ความหมายในเชิงของ ฮวงจุ้ย ก็พอจะทำให้เห็นว่าความสดชื่นรื่นเริง ความหวังเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เมื่อประชาชนรักในกษัตริย์ของตนเอง จึงต้องการให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นกับบุคคลที่ตนรักเช่นกัน ต่างกันตรงที่สีเหลืองในทางฮวงจุ้ย เป็นสิ่งที่สูงส่งห้ามใช้ในบางกรณี เพราะต้องสงวนให้กษัตริย์เท่านั้น

สีเหลืองมีความหมายถึงความเป็นอิสระจากความกังวลในทางโลก จึงมักใช้มากในพุทธศาสนา อาทิ เครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์ที่เป็นสีเหลือง เช่นเดียวกับสีที่ใช้ประดับวัด และยังเป็นสีที่ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ในพุทธศาสนาของจีนด้วย

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. www.artgazine.com
  2. see งานศพ#งานศพs in East Asia
  3. "Psychology of Color: Does a specific color indicate a specific emotion? By Steve Hullfish | July 19, 2012". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-06-28.

แม่แบบ:Chinese New Year แม่แบบ:Color topics