สำนักงานประกันสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานประกันสังคม
Social Security Office
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง2 กันยายน พ.ศ. 2533
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่88/28 หมู่ที่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณประจำปี28,049.177 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์, เลขาธิการ [2]
  • นางสาวนันทินี ทรัพย์ศิริ, ที่ปรึกษาด้านประสิทธิภาพ (นักวิชาการแรงงานทรงคุณวุฒิ) [3]
  • นางสาวณัฐชนน วัฒนญาณนนท์, รองเลขาธิการ
  • นางสาวจีระภา บุญรัตน์, รองเลขาธิการ
  • -ว่าง-[4], รองเลขาธิการ
เว็บไซต์http://www.sso.go.th/wpr/home.jsp

สำนักงานประกันสังคม (อังกฤษ: Social Security Office) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2533 เพื่อให้ประเทศไทยมีการประกันสังคมอย่างเต็มรูปแบบ โดยลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครอง ทั้งในเรื่องการประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ และตาย ทั้งนี้เนื่องและไม่เนื่องจากการทำงาน รวมไปถึงการคลอดบุตรสงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เฉกเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ โดยมีนายอำพล สิงหโกวินท์ เป็นเลขาธิการคนแรก ก่อนหน้าที่จะมีการผ่านกฎหมายประกันสังคมมาบังคับใช้ได้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์โดย กลุ่มผู้นำนักศึกษา นักวิชาการ อดีตอธิบดีกรมแรงงาน กลุ่มผู้นำสหภาพแรงงาน เพื่อให้เกิดระบบประกันสังคมในประเทศไทย โดยขบวนการเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มมาตั้งแต่ปลายสมัยรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ต่อเนื่องมาสมัยรัฐบาล พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ โดยมีผู้มีบทบาทสำคัญหลายท่าน เช่น นิคม จันทรวิทุร อนุสรณ์ ธรรมใจ แล ดิลกวิทยรัตน์ โชคชัย สุธาเวศ ผู้นำแรงงานและผู้นำนักศึกษาหลายท่าน เป็นต้น ต่อมา นิคม จัทรวิทุร อนุสรณ์ ธรรมใจ และ แกนนำการเคลื่อนไหวกฎหมายประกันสังคมในปี พ.ศ. 2530-2533 ได้กลับเคลื่อนไหวให้เกิดระบบประกันการว่างงานในปี พ.ศ. 2541-2544 จนกระทั่งมีการขยายสิทธิประโยชน์การประกันการว่างงานในระบบประกันสังคมของไทย

ประวัติ[แก้]

สำนักงานประกันสังคม เริ่มต้นเมื่อมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ได้ระบุให้มี "กองทุนเงินทดแทน" ในกรณีที่ลูกจ้างประสบอันตราย สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ซึ่งกองทุนดังกล่าวได้ริเริ่มเก็บเงินสมทบเข้ากองทุน ในปี พ.ศ. 2517 โดยเริ่มในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 20 ราย ต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 ได้ขยายความคุ้มครองโดยขอความร่วมมือให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างมากกว่า 1 ราย ต้องเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

กองทุนเงินทดแทน จะจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ขาดรายได้มากกว่า 3 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง กรณีพิการจะจ่ายให้ไม่เกิน 8 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง กรณีทุพพลภาพจะจ่ายให้ไม่เกิน 15 ปี ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง และหากเสียชีวิตจะจ่ายให้ในระยะเวลา 8 ปี หลังเสียชีวิต ร้อยละ 60 ของรายได้ต่อวันของลูกจ้าง ค่าทำศพผู้ประกันตนรายละ 30,000 บาทโดยคิดจากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ คูณด้วย 100

ความหมาย[แก้]

คำว่า "ประกันสังคม" เริ่มใช้ในประเทศไทยประมาณ พ.ศ. 2480 พร้อมๆ กับคำว่าสังคมสงเคราะห์ โดยหลักการและแนวทางมีการนำมาใช้ปฏิบัตินานแล้วเช่น การที่ชาวบ้านช่วยกันเรี่ยไรเงินรวบรวมเป็นเงินก้อน เพื่อช่วยเหลือเป็นค่าทำศพให้แก่สมาชิกในชุมชนเดียวกันที่ถึงแก่กรรม

สำนักงานประกันสังคม ประกอบด้วยกรรมการฝ่ายนายจ้าง กรรมการฝ่ายลูกจ้าง และกรรมการจากภาครัฐบาล และอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2554 พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554[5] พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน พ.ศ. 2537 (ฉบับแก้ไขปรับปรุง)

ความหมายของการประกันสังคมในสมัยปัจจุบันคือ โครงการที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความมั่นคงหรือหลักประกันให้แก่ประชาชน โดยมีวิธีการจัดเก็บรายได้ส่วนหนึ่งจากประชาชนที่มีรายได้ เงินที่เก็บนี้นำมาสมทบรวมกันเป็นกองทุนกลาง นำมาใช้จ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่ประชาชนตามเงื่อนไขที่กำหนดเงินที่เรียกเก็บนี้หากเป็นกรณีเก็บจากผู้ที่ทำงานรับจ้าง ก็ให้นายจ้างจ่ายสมทบเท่ากับที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ และในทุกกรณีรัฐบาลจะจ่ายสมทบด้วยแต่เป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่นายจ้างจ่ายเสมอ และเป็นจำนวนเงินน้อยกว่าที่ลูกจ้างจ่ายเสมอ

คณะกรรมการ[แก้]

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 40/2558 แต่งตั้งคณะกรรมการในสำนักงานประกันสังคมดังนี้ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[6] คณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน จะมีวาระ 2 ปี ระหว่าง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

คณะกรรมการประกันสังคม[แก้]

  1. หม่อมหลวง ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานกรรมการ
  2. นาย พชร อนันตศิลป์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ
  3. นาง ประนอม คำเที่ยง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กรรมการ
  4. นางสาว จิราภรณ์ ตันติวงษ์ ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการ[7]
  5. นาย ทวี ดียิ่ง ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมเอกชน กรรมการ
  6. นาย ธีระวิทย์ วงศ์เพชร รองเลขาธิการสหภาพแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
  7. ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
  8. นาย มานิตย์ พรหมการีย์กุล ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย กรรมการ
  9. ดร. วาชิต รัตนเพียร อุปนายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต กรรมการ
  10. นาย วันชัย ผุดวารี รองประธานสหภาพแรงงานฮอนด้าแห่งประเทศไทย กรรมการ
  11. นาย สมพงศ์ นครศรี รองประธานอาวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรรมการ
  12. นาย สุวรรณ สุขประเสริฐ รองประธานสายงานบริหารและผู้อำนวยการ สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กรรมการ
  13. นาย สุวิทย์ ศรีเพียร อดีตคณะกรรมการอุทธรณ์ในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานประกันสังคม[8] กรรมการ
  14. นาง อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน กรรมการ
  15. นายแพทย์ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กรรมการและเลขานุการ

ที่ปรึกษาคณะกรรมการประกันสังคม[แก้]

  1. นาย ปั้น วรรณพินิจ อดีตเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
  2. นาย อำพล สิงหโกวินท์ ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
  3. พลโท นายแพทย์ กฤษฎา ดวงอุไร รองเจ้ากรมแพทย์ทหารบก
  4. นาย ถาวร พานิชพันธ์ รองอัยการสูงสุด
  5. พลเอก อภิชาต แสงรุ่งเรือง อดีตผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน[แก้]

  1. นายแพทย์ สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ประธานกรรมการ
  2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ
  3. นาย สมบูรณ์ ม่วงกล่ำ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานการบังคับคดี กรรมการ
  4. นางสาว โสภาวดี เลิศมนัสชัย กรรมการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กรรมการ
  5. นาย ดุสิต เขมะศักดิ์ชัย รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ
  6. นาง ผจงสิน วรรณโกวิท อดีตรองปลัดกระทรวงแรงงาน กรรมการ
  7. นาง ปริศนา ประหารข้าศึก ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรรมการ
  8. นาย อรรถการ ตฤษณารังสี คณะกรรมการผู้แทนองค์กรเอกชน[9] สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรรมการ
  9. นาย ปิยะชาติ ชุณหเวชสกุล อดีตคณะกรรมการอุทธรณ์ในคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดสำนักงานประกันสังคม[10] กรรมการ
  10. นาง สุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2557 นายกสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย กรรมการ
  11. นาย วารินทร์ ศรีแจ่ม[11] กรรมการที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไลท์ออน กรรมการ
  12. นาย บรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานศูนย์กลางแห่งประเทศไทย กรรมการ
  13. กัปตัน พงษทร คงลือชา[12] ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายคนประจำเรือ บริษัท โทรีเซน (กรุงเทพ) จำกัด กรรมการ
  14. ผู้แทนสำนักงานประกันสังคม กรรมการและเลขานุการ

อัตราเรียกเก็บเงินสมทบ[แก้]

ปัจจุบันอัตราเรียกเก็บอยู่ที่ร้อยละ 5 โดยลูกจ้างต้องจ่ายสำหรับกรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 1.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 3 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 0.5เช่นเดียวกับนายจ้างที่ต้องจ่ายให้ลูกจ้างกรณี เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 1.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 3 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 1 ในขณะที่รัฐบาลจ่ายกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ร้อยละ 0.5 สงเคราะห์บุตรและชราภาพ ร้อยละ 0.5 และ กรณีว่างงาน ร้อยละ 0.25

หน้าที่หลัก[แก้]

สำนักงานประกันสังคมมีหน้าที่หลักที่ต้องดูแลผู้ประกันตนดังต่อไปนี้

  1. การรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกันตนกรณีต่าง ๆ รวมถึงดูแลข้อพิพาทระหว่างโรงพยาบาลกับผู้ประกันตนในเบื้องต้น
  2. การจัดการและตรวจสอบกองทุนเงินทดแทนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากกองทุนทดแทนมีข้อบังคับที่ชัดเจนในเรื่องการบาดเจ็บจากการทำงานถึงจะทำการเบิกจ่ายได้
  3. บริหารเงินของผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาลโดยพยายามให้ได้กำไรเสมอไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม
  4. รับการแจ้งเรื่องการขอเป็นผู้ประกันตน, การลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน
  5. รับการแจ้งเรื่องเบิกจ่ายเงินค่าทันตกรรมของผู้ประกันตน ซึ่งปัจจุบันเบิกได้ปีละไม่เกิน 900 บาท
  6. แจ้งข่าวสารให้บริษัทและผู้ประกันตนรับทราบรวมถึงการประสานงานที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของบริษัทอันเป็นตัวแทนผู้ประกันตน
  7. สำรองจ่ายงบฉุกเฉินเท่าที่จำเป็นในกรณีที่มีการประสบอันตรายฉุกเฉินสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลเฉพาะที่รับบัตรประกันสังคมทั่วราชอาณาจักรไทย
  8. ดูแลการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม อาทิเช่น กรณีคนไข้ต้องเข้าพักในโรงพยาบาล หรือต้องเคลื่อนย้ายคนไข้ด้วยรถพยาบาล รวมถึงให้การเบิกจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส สุจริต เที่ยงธรรมและสามารถตรวจสอบได้
  9. รับแจ้งเรื่องขอเงินสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตน และการเสียชีวิตของผู้ประกันตน รวมถึงตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม อาทิเช่นการเสียชีวิตจากการทำงานหรือการเสียชีวิตจากเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน

นอกจากนั้นสำนักงานประกันสังคมยังได้มีส่วนในการช่วยเหลือบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่นายจ้างและลูกจ้างในประเทศต่าง ๆ เฉพาะประเทศไทยสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินนโยบายที่ยืดหยุ่นในการเรียกเก็บเงินจากนายจ้างและลูกจ้างโดยเรียกเก็บให้ต่ำลงกว่าร้อยละ 5 ในบางครั้งบางคราว เช่น กรณีอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างและนายจ้างหรือกรณีการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำ ในปี พ.ศ. 2556

ผลการดำเนินการที่ผ่านมา[แก้]

กองทุนเงินประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมได้บริหารเงินในกองทุนให้ได้กำไรโดยผ่านการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ และมีหน้าที่รายงานผลการลงทุน ในปี พ.ศ. 2551 ระหว่างเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ สำนักงานประกันสังคมรายงานกำไรจากการลงทุนว่าได้กำไรถึง 367 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในปีเดียวกันพบว่ามีความแตกต่างเป็นอย่างมาก โดยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการบริหารเงินสมาชิกปี 51 ขาดทุน 74,000 ล้านบาท

สำนักงานประกันสังคมได้ขยายการคุ้มครองยาในบัญชีสำหรับผลผู้ทางสุขภาพจิต หรือผู้ป่วยจิตเวชโดยสามารถเบิกยาในบัญชีได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 และในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์บริการทางการแพทย์ กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลอื่น ซึ่งไม่ใช่โรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง

ปัญหา[แก้]

กองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพจะขาดทุนภายในสามสิบปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2586[13] เนื่องจากปัญหาโครงสร้างประชากรที่มีวัยทำงานน้อยลงและเงื่อนไขการจ่ายเงินของกองทุนกองทุนบำเหน็จบำนาญชราภาพ

การคุ้มครองโรคมะเร็งของสำนักงานประกันสังคมยังด้อยกว่าสิทธิสปสช. รวมถึงอุปกรณ์สำหรับคนพิการ[14]รัฐบาลไทยไม่จ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตน[15]โดยในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลค้างจ่ายเงินจำนวนรวม 56,000 ล้านบาท

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร เห็นว่าผู้ป่วยประกันสังคมมีตัวเลือกการใช้ยา และการตรวจวินิจฉัยต่างๆ ด้อยกว่าบัตรทอง ทั้งที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบทุกเดือน ในขณะที่บัตรทองรัฐออกให้หมด[16] ส่วน พญ.อภิชญา สุขประเสริฐ เห็นว่าสิทธิ์บัตรทองใน กทม. ได้เตียงเร็วที่สุด เป็น First Priority สิทธิ์ไหนๆ ก็ไม่อาจสู้ได้ ทุกสิทธิ์ต้องรอจ่ายเตียงบัตรทองให้หมดก่อน[17]

การแบ่งส่วนราชการ [18][แก้]

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองกฎหมาย
  • กองคลัง
  • กองนโยบายและแผนงาน
  • กองบริหารการเงินและการบัญชี
  • กองบริหารการลงทุน
  • กองบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงานภาค 1-5
  • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12
  • สำนักเงินสมทบ
  • สำนักจัดระบบบริการทางการแพทย์
  • สำนักตรวจสอบ
  • สำนักบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สำนักสิทธิประโยชน์
  • สำนักสร้างเสริมความมั่นคงแรงงานนอกระบบ
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัด (ราชการบริหารส่วนภูมิภาค)
  • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (จัดตั้งตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมจังหวัด ไม่มีฐานะเป็นกอง)
  • กองฝึกอบรม
  • ศูนย์สารนิเทศ
  • สำนักงานกองทุนเงินทดแทน

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564, [1]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, [https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/13501.pdf ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ] เล่ม 141 ตอนพิเศษ 3 ง หน้า 17 วันที่ 4 มกราคม 2567
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
  5. "พระราชบัญญัติการกลับเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2554" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-04-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-04.
  6. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 40/2558 เรื่อง การได้มาซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาของคณะกรรมการประกันสังคม คณะกรรมการการแพทย์ และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน เป็นการชั่วคราว
  7. คณะกรรมการประกันสังคม
  8. ผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์[ลิงก์เสีย]
  9. "รายชื่อคณะกรรมการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
  10. ผู้ได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์[ลิงก์เสีย]
  11. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-11-09.
  12. http://www.nasic.ac.th/dvt/images/stories/downloads/nameoffice.pdf
  13. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000062919[ลิงก์เสีย]
  14. http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000130966[ลิงก์เสีย]
  15. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/781942
  16. ""ศ.นพ.มานพ"ทวีตผู้ป่วยประกันสังคม มีตัวเลือกการใช้ยา-ตรวจวินิจฉัยด้อยกว่าบัตรทอง". mgronline. 25 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. ""เตียง" อีกหนึ่งอุปสรรคของ ยกระดับบัตรทอง รักษาได้ทุกที่ แต่ไม่มีที่ให้รักษา". พญ.อภิชญา สุขประเสริฐ ใน H LAB. 4 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2024.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม พ.ศ. 2559

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]