สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
เจ้าฟ้าชั้นตรี
ประสูติพ.ศ. 2300
สิ้นพระชนม์พ.ศ. 2340
ราชสกุลนรินทรางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระอินทรรักษา (เสม)
พระมารดาสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี
ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ[1] (พ.ศ. 2300 - พ.ศ. 2340) มีพระนามเดิมว่า ทองจีน เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี กับพระอินทรรักษา (เสม) ประสูติในสมัยอาณาจักรอยุธยา เป็นพระภาคิไนยในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในสมัยอาณาจักรธนบุรี ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหลวงฤทธินายเวร มหาดเล็กรักษาพระองค์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ปี พ.ศ. 2324 เป็นอุปทูตร่วมกับคณะราชทูตไทย(พระยาศรีธรรมมาธิราช) ไปสัมพันธไมตรีและค้าขายที่เมืองจีน โดยออกเดินทางเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 11 ค่ำ ปีฉลู พ.ศ. 2324 เพื่อไปถวายพระราชสาสน์และบรรณาการแก่พระเจ้าเซียนหลงที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างเดินทางได้แวะพักและทำการค้าที่ ที่มณฑลกวางตุ้ง กลับจากกรุงปักกิ่งเมื่อเหตุการณ์ผลัดแผ่นดิน ในวันที่ 6 เมษายน 2325 ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ในครั้งศึกสงครามเก้าทัพ พ.ศ. 2328 ร่วมออกรบกับสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ (พระเชษฐา) เป็นกองหลวงป้องกันทัพที่ ๘ ของพม่า (นำทัพโดย เมยโนสีหปติ) ที่ปากน้ำพิงนครสวรรค์ และ สามารถขับไล่กองทัพพม่าไปได้

พระองค์ประทับอยู่ที่วังสวนมังคุด บริเวณใกล้กับวัดระฆัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานให้ ปัจจุบันยังคงเหลือแนวกำแพงอิฐเก่าอยู่ในบริเวณชุมชนวัดระฆัง

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2340 สิริพระชันษา 41 ปี

พระองค์ทรงเป็นต้น ราชสกุลนรินทรางกูร มีพระโอรสและพระธิดา คือ

  1. หม่อมเจ้าม่วง นรินทรางกูร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2320)
  2. หม่อมเจ้าสมพงศ์ นรินทรางกูร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2334)
  3. หม่อมเจ้าหญิงนิรมล นรินทรางกูร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2334 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2398)
  4. หม่อมเจ้าสมร่าง นรินทรางกูร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2335)
  5. หม่อมเจ้าจั่น นรินทรางกูร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าจันทร์ มีธิดา คือ หม่อมราชวงศ์ดาวเรือง นรินทรางกูร ผู้เป็นมารดาของเจ้าจอมสว่างพระสนมในรัชกาลที่ 5
  6. หม่อมเจ้านุ่ม นรินทรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2386)
  7. หม่อมเจ้าหญิงจอ นรินทรางกูร
  8. หม่อมเจ้าเกษ นรินทรางกูร
  9. หม่อมเจ้าลิ้นจี่ นรินทรางกูร
  10. หม่อมเจ้าหญิงกฤษณา นรินทรางกูร
  11. หม่อมเจ้าหญิงดาว นรินทรางกูร (ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2339 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2417 สิริชนมายุ 79 ปี)
  12. หม่อมเจ้าหญิงองุ่น นรินทรางกูร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. 2359)
  13. หม่อมเจ้าป้อม นรินทรางกูร

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม[แก้]

มีนักแสดงผู้รับบท สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ ได้แก่

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ราชสกุลวงศ์" (PDF). กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)