สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีรานยาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระยศ22 มีนาคม พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน (25 ปี 23 วัน)
ก่อนหน้าสมเด็จพระราชินีนูร์
พระราชสมภพ31 สิงหาคม พ.ศ. 2513 (53 พรรษา)
คูเวตซิตี, ประเทศคูเวต
รานยา อัลยัสซิน
พระราชสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน
พระราชบุตรเจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
เจ้าหญิงอีมาน
เจ้าหญิงซัลมา
เจ้าชายฮาเชม
พระนามเต็ม
รานยา อัลอับดุลลอฮ์
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดานายไฟซาล เซดกี อัลยัสซิน
พระราชมารดานางอิลฮาม อัลยัสซิน
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชินีรานยา อัลอับดุลลอฮ์ (อาหรับ: رانيا العبد الله Rāniyā al-ʻAbd Allāh; เดิม: รานยา อัลยัสซิน; พระราชสมภพ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2513) เป็นพระบรมราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน นับตั้งแต่ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสในปีพ.ศ. 2536 พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา สุขภาพ การเสริมพลังชุมชน เยาวชน บทสนทนาข้ามวัฒนธรรมและไมโครไฟแนนซ์ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้ใช้โซเชียลมีเดียตัวยงและทรงดูแลเพจบน เฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรมและทวิตเตอร์ พระองค์มีพระราชโอรสสองพระองค์และพระราชธิดาสองพระองค์ ทรงได้รับการถวายราชสดุดีและรางวัลมากมาย

พระองค์ทรงมีบทบาทในด้านการส่งเสริมสิทธิสตรีภายในประเทศจอร์แดน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิสตรีและให้มีความทัดเทียมกับบุรุษเพศ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก สืบเนื่องมาจากการต่อต้านของกลุ่มอนุรักษนิยม[1][2]

นอกจากนี้สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระสิริโฉมที่งดงาม ทำให้พระองค์เป็นสตรีที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจมากที่สุดเป็นอันดับที่สองรองจากนิโคล คิดแมน จากการสำรวจจากประชาชนในปีพ.ศ. 2545[3]

พระราชประวัติ[แก้]

พระชนพ์ชีพช่วงต้น[แก้]

สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ณ คูเวตซิตี ประเทศคูเวต มีพระนามเดิมว่า รานยา อัลยัสซิน เป็นธิดาของนายไฟซาล เซดกี อัลยัสซินกับนางอิลฮาม อัลยัสซิน ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวปาเลสไตน์ โดยพระชนกมีอาชีพเป็นแพทย์[1][3]

การศึกษาและการทำงาน[แก้]

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเอกชนคูเวต จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอเมริกัน กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ จนสำเร็จการศึกษา ต่อมาทรงเข้าทำงานที่ธนาคารซิตีแบงก์ในแผนกการตลาด[1][3] และทำงานกับบริษัทแอปเปิลในกรุงอัมมาน ประเทศจอร์แดน[4]

อภิเษกสมรส[แก้]

พระองค์มีพระปฏิสันถารกับเจ้าชายอับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์เป็นครั้งแรก ณ งานเลี้ยงอาหารค่ำในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 และทรงประกาศการหมั้นในอีกสองเดือนต่อมา

วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าชายอับดุลลอฮ์ท่ามกลางเสียงวิพากวิจารณ์เกี่ยวกับเชื้อสายปาเลสไตน์ของพระองค์[1]

หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสเสร็จสิ้นลง ทรงได้รับพระราชทานพระอิสริยยศ เจ้าหญิงรานยา อัลอับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดาสี่พระองค์ ได้แก่

เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (พระราชสมภพ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ณ กรุงอัมมาน)

เจ้าหญิงอีมาน (ประสูติ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ กรุงอัมมาน)

เจ้าหญิงซัลมา (ประสูติ 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ณ กรุงอัมมาน)

เจ้าชายฮาเชม (ประสูติ 30 มกราคม ค.ศ. 2548 ณ กรุงอัมมาน)

แม้จะมีพระราชกรณียกิจจำนวนมาก แต่พระองค์ก็ทรงจัดเวลาให้กับครอบครัว ซึ่งพระองค์เองก็ทรงทำหน้าที่ของพระมารดาได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ทรงดูแลเอาใจใสพระโอรส-ธิดาอย่างใกล้ชิดด้วยพระองค์เอง[1]

สมเด็จพระราชินี[แก้]

ต่อมา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 พระสวามีของพระองค์ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งจอร์แดน[5][6]

วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ทรงประกาศสถาปนาให้พระองค์ขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน[7] หากมิทรงได้รับการสถาปนาจากพระราชสวามี พระองค์จะทรงมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงพระวรราชชายา เหมือนเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ พระสัสสุ(แม่สามี)ของพระองค์[8][9]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

นับตั้งแต่ทรงเข้าพระราชพิธีอภิเษกสมรสกับพระราชสวามี สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงใช้บทบาทของพระองค์ในการส่งเสริมภาคส่วนต่างๆของสังคมในจอร์แดนและที่อื่นๆ

ในประเทศ[แก้]

ด้านการศึกษา[แก้]

สมเด็จพระราชินีรานยาในระหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเฉลิมฉลองความร่วมมือระหว่าง Sesame Workshop และ Workshop Mosaic กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พฤษภาคม พ.ศ. 2549

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สมเด็จพระราชินีรานยาทรงให้การอุปถัมภ์ต่อการริเริ่มด้านการศึกษาและการเรียนรู้

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 ในความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีได้ทรงริเริ่มรางวัลครูประจำปี รางวัลพระราชินีรานยาเพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา[10][11]

สมเด็จพระราชินีทรงเป็นประธานพิพิธภัณฑ์เด็กเชิงโต้ตอบแห่งแรกของจอร์แดน เปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเด็กและครอบครัว[12][13]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชินีได้ทรงก่อตั้ง“ Madrasati”(โรงเรียนของฉัน) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มของภาครัฐและเอกชนที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงโรงเรียนรัฐบาลของจอร์แดน 500 แห่งในระยะเวลาห้าปี[14]

ในระดับอุดมศึกษาโครงการทุนการศึกษาราชินีรานยา[15] เป็นพาร์ทเนอร์กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งจากทั่วโลก

สมเด็จพระราชินีรานยาทรงเป็นประธานสมาคมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ (Royal Health Awareness Society: RHAS)[16]

ด้านการเสริมพลังชุมชน[แก้]

สมเด็จพระราชินีรานยา ณ เวทีเศรษฐกิจโลกในตะวันออกกลาง จัดขึ้นที่ทะเลเดดซี ประเทศจอร์แดน ปีพ.ศ. 2550

สมเด็จพระราชินีรานยาทรงจัดตั้งมูลนิธิ Jordan River (JRF)ในปีพ.ศ. 2538[17]

โครงการ The Jordan River Children Program(JRCP) พัฒนาโดยสมเด็จพระราชินีรานยา เพื่อวางสวัสดิการของเด็กๆเหนือวาระทางการเมืองและข้อห้ามทางวัฒนธรรม[18] นำไปสู่การเปิดตัวในปีพ.ศ. 2541 ของโครงการ JRF’s Child Safety Program ซึ่งตอบสนองความต้องการของเด็กๆที่มีความเสี่ยงจากการถูกทารุณกรรมและริเริ่มการรณรงค์ระยะยาวเพื่อเพิ่มความตระหนักของประชาชนเกี่ยวกับความรุนแรงต่อเด็ก

การเสียชีวิตของเด็กสองคนในอัมมานอันเป็นผลมาจากการทารุณกรรมเด็กเมื่อต้นปีพ.ศ. 2552 ทำให้สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีรับสั่งเรียกประชุมรัฐบาลและเอกชน(รวมถึง JRF)เป็นกรณีฉุกเฉิน เพื่อหารือเกี่ยวกับจุดที่ทำให้ระบบเกิดความล้มเหลว[19]

ด้านเยาวชน[แก้]

สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระราชดำรัสว่าสิ่งสำคัญของการศึกษาคือการจัดหาทักษะที่จำเป็นสำหรับคนหนุ่มสาวให้ทำงานได้ดีในสถานที่ทำงาน[20]

พระองค์ทรงริเริ่มกองทุนอัล-อามันเพื่ออนาคตของเด็กกำพร้าในปีพ.ศ. 2546[21] และทรงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนานาชาติที่มอบทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชาวจอร์แดนในต่างประเทศ พระองค์ทรงให้การอุปถัมภ์ INJAZ Al-Arab ซึ่งก่อตั้งโดย Save the Children ในปีพ.ศ. 2542 และเปิดตัวในฐานะองค์กรไม่แสวงผลกำไรของจอร์แดนในปีพ.ศ. 2544[22] ในฐานะที่ทรงเป็นเอกอัครราชทูตประจำภูมิภาคของ INJAZ Al-Arab พระองค์ได้ทรงสอนภายในชั้นเรียนและมีพระราชปฏิสันถารกับคนหนุ่มสาวในประเทศอื่นๆ พระองค์ทรงเป็นประธานการเสวนากับผู้ประกอบการเพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบปีที่ 10 ของ INJAZ Al-Arab ที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวความสำเร็จของศิษย์เก่า[23]

ที่งานประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกที่เมืองดาวอสในปีค.ศ. 2551 พระองค์ได้เปิดตัวแคมเปญ "เพิ่มขีดความสามารถของเยาวชนชาวอาหรับหนึ่งล้านคนภายในปี 2551" ซึ่งเป็นแนวคิดของ INJAZ Arabia[24]

ในระดับสากล[แก้]

ด้านการศึกษาระดับสากล[แก้]

สมเด็จพระราชินีรานยา ณ เวทีเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2546 ในเมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 เพื่อระลึกถึงความมุ่งมั่นของพระองค์ที่ทรงมีต่อของเด็กและเยาวชน กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF) ได้ทูลเชิญสมเด็จพระราชินีรานยาเข้าร่วมโครงการริเริ่มการเป็นผู้นำระดับโลก[25] สมเด็จพระราชินีทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจร่วมกับผู้นำโลกคนอื่นๆ รวมถึงอดีตประธานาธิบดีเนลสัน แมนเดลา ประเทศแอฟริกาใต้ ในขบวนการระดับโลกที่พยายามปรับปรุงสวัสดิการของเด็กๆ[26] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 สมเด็จพระราชินีรานยาทรงได้รับการขนานพระนามว่าทรงเป็นผู้ให้การอุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงคนแรกของยูนิเซฟสำหรับเด็ก[27] ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชินีรานยาทรงเป็นประธานระดับโลกกิตติมศักดิ์ของการริเริ่มการศึกษาของเด็กหญิงแห่งสหประชาชาติ(UNGEI)[28]

ในฐานะที่ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนมาอย่างยาวนานของแคมเปญระดับโลกเพื่อการศึกษา(GCE)[29] สมเด็จพระราชินีรานยาทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเด็กๆและผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจในแอฟริกาใต้ทั้งในเมืองของ Johannesburและโซเวโต ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552[30] สมเด็จพระราชินีรานยาและผู้หญิงผลัดกันอ่านเรื่องสั้นจาก The Big Read ให้กับเด็กๆในความพยายามที่จะส่งเสริมการรู้หนังสือ หนึ่งในเรื่องราวในหนังสือ "Maha of the Mountains” ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระราชินีรานยา[31] ในเมืองโซเวโต ทรงลงพระนามาภิไธยของพระองค์ที่ด้านหลังของ Big Read ก่อนที่จะทรงส่งต่อให้ทุกคนเขียนชื่อของพวกเขา[32][33]

พระราชนิพนธ์[แก้]

เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์ “The King’s Gift” ซึ่งเป็นหนังสือสำหรับเด็กเกี่ยวกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ รายได้ทั้งหมดนั้นทรงพระราชทานแก่เด็กด้อยโอกาสในจอร์แดน[34]

สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเล่มที่สองเนื่องในวันแม่ปีพ.ศ. 2551 ชื่อว่า "ความงามอันเป็นนิรันด์" บอกเล่าเรื่องราวการสนทนาของเด็กสาวกับแกะตัวน้อยในขณะที่เธอกำลังค้นหาสิ่งที่สวยงามที่สุดในโลก[35]

สำหรับเทศกาล Big Read พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชินีรานยาได้ทรงพระราชนิพนธ์ “Maha of the Mountains” ซึ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของหญิงสาวที่จะได้รับการศึกษาและความท้าทายที่เธอต้องเผชิญ[31]

The Sandwich Swap เป็นพระราชนิพนธ์ที่ทรงได้รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากเหตุการณ์เมื่อทรงพระเยาว์ของสมเด็จพระราชินีรานยา ทรงบอกเล่าเรื่องราวของพระสหายคนสนิททั้งสองคน ลิลี่และซัลมา ผู้โต้เถียงกันเกี่ยวกับรสชาติสุดแหยะของเนยถั่ว แซนวิชเยลลี่และฮัมมัส ทรงพระราชนิพนธ์ร่วมกับ Kelly DiPucchio[36][37]

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

รานยา อัลยัสซิน (31 สิงหาคม ค.ศ. 2513 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2536)

เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงรานยา อัลอับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน (10 มิถุนายน พ.ศ. 2536 – 24 มกราคม พ.ศ. 2542)

เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (22 มีนาคม พ.ศ. 2542 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน[แก้]

  •  จอร์แดน: Knight Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali (9 มิถุนายน พ.ศ. 2542)[38]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ตราอาร์มประจำพระองค์ของสมเด็จพระราชินีรานยา (dame of the Order of Charles III)

รางวัล[แก้]

•พ.ศ. 2544: รางวัลแห่งความสำเร็จในชีวิต มูลนิธิโรคกระดูกพรุนนานาชาติ ประเทศอิตาลี

•พ.ศ. 2545: รางวัล Ambrogino D’Oro จากเทศบาลเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี

•พ.ศ. 2546: รางวัลสื่อมวลชนเยอรมันจาก Deutscher Medienpreis ประเทศเยอรมนี

•พ.ศ. 2548: โล่รางวัลสถาบันการศึกษาแห่งความสำเร็จ ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2548: รางวัล Sesame Workshop ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2550: รางวัลเมดิเตอร์เรเนียน สาขาความเป็นปึกแผ่นทางสังคมจากมูลนิธิเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอิตาลี

•พ.ศ. 2550: รางวัลการดำเนินการด้านมนุษยธรรมระดับโลกจาก UNSA-USA และสภาธุรกิจแห่งสหประชาชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2550: รางวัล Bambi สาขางานการกุศลตามความสนใจโดย Hubert Burda Media ประเทศเยอรมนี

•พ.ศ. 2550: รางวัลด้านมนุษยธรรมจอห์น วัลลัค สาขาเมล็ดพันธุ์แห่งสันติภาพ ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2551: รางวัล World Savers จาก Conde Nast Traveller ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2551: รางวัล David Rockefeller Bridging Leadership จากมหาวิทยาลัยซินเนอโกส ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2552: รางวัลมาริสา เบลลิสาริโอระดับนานาชาติจาก Fondazione Bellisario ประเทศอิตาลี

•พ.ศ. 2552: รางวัล North South Prize โดย the North South Prize ประเทศโปรตุเกส

•พ.ศ. 2552: รางวัล FIFA Presidential Award ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

•พ.ศ. 2553: รางวัล Arab Knight of Giving Award จาก Arab Giving Forum ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

•พ.ศ. 2553: รางวัล The Leadership Award จาก White Ribbon Alliance สาขา Safe Motherhood ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2553: รางวัล เจมส์ ซี มอร์แกน สาขามนุษยธรรมระดับโลกจาก Tech Awards ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2553: ผู้หญิงแห่งปี 2010 จาก Glamour ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2556: รางวัล Global Citizen ของสภาแอตแลนติก

•พ.ศ. 2556: รางวัล Walther Rathenau จาก Walther Rathenau Institut ประเทศเยอรมนี

•พ.ศ. 2557: รางวัลด้านมนุษยธรรม ประเทศอิตาลี

•พ.ศ. 2559: รางวัลด้านมนุษยธรรมแห่งสมาคมสื่อมวลชนต่างประเทศ สหราชอาณาจักร

•พ.ศ. 2559: รางวัล Golden Heart Award ประเทศเยอรมนี

•พ.ศ. 2559: เหรียญเกียรติยศสำหรับผู้หญิงจากชีค โมฮัมเหม็ด บิน ราชิด มอบโดยพระโอรสของพระองค์ ชีค ฮัมดาน ที่การประชุม Global Women Forum ในดูไบ

•พ.ศ. 2560: รางวัล Global Trailblazer ประเทศสหรัฐอเมริกา

•พ.ศ. 2560: รางวัล Fellowship จาก Fashion for Relief เพื่อรับทราบถึงความพยายามด้านมนุษยธรรมของสมเด็จพระราชินีต่อเด็กที่ติดอยู่ในความขัดแย้ง ประเทศฝรั่งเศส

•พ.ศ. 2561: รางวัลบุคคลผู้ทรงอิทธิพลแห่งปี ในการประชุมสุดยอดผู้มีอิทธิพลต่อสื่อโซเชียลมีเดียประจำปีครั้งที่สาม (ASMIS) ในดูไบ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Rania Al-Yasin ราชินีแห่งจอร์แดน". Pakxe.com. 29-07-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-9-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "ราชินีราเนีย ทรงสิริโฉมเหนือกาลเวลา". โพสต์ทูเดย์. 2009-06-16. สืบค้นเมื่อ 2011-9-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 3.2 "คอลัมรู้ไปโม้ด ราชินีราเนีย". ไทยรัฐ. 2004-10-01. สืบค้นเมื่อ 2011-9-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "Profile: Jordan's Queen Rania", BBC 7 November 2001.
  5. "King proclaims Rania Queen". Jordanembassyus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  6. "The incredible life of Jordan's Instagram-famous Queen, an ex-Apple employee, human rights activist, and global style icon". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  7. "King proclaims Rania Queen". Jordanembassyus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2010-06-20.
  8. "King proclaims Rania Queen". Jordanembassyus.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  9. "The incredible life of Jordan's Instagram-famous Queen, an ex-Apple employee, human rights activist, and global style icon". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  10. Queen Rania Award for Excellence in Education เก็บถาวร 23 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  11. Queen launches award to honor school principals เก็บถาวร 22 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 15 April 2009.
  12. King, Queen join Jordanian children at opening of children's museum เก็บถาวร 7 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jordan Times, 23 May 2007.
  13. "Children's Museum of Jordan". Cmj. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  14. "Madrasati.jo". Madrasati. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  15. Craig Mead (27 พฤษภาคม 2010). "Queen Rania Scholarship Program". Queen Rania. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 มกราคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  16. Queen Rania chairs first meeting of Royal Health Awareness Society เก็บถาวร 7 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 7 September 2005.
  17. "Queen Rania honours Jordan River Foundation supporters". Jordan Times (ภาษาอังกฤษ). 25 กุมภาพันธ์ 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2018.
  18. Interview with Il Messaggero เก็บถาวร 7 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 13 May 2008.
  19. Queen calls emergency meeting to discuss child abuse cases เก็บถาวร 27 กันยายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jordan Times, 24 July 2009
  20. Interview: Gateway to the Middle East[ลิงก์เสีย], 2009.
  21. Orphans' future security depends on society's commitment, contributions เก็บถาวร 14 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jordan Times, 22 January 2004.
  22. INJAZ Al-Arab[ลิงก์เสีย] for the creation of economic opportunity for Jordanian youth.
  23. "Queen Rania chairs a discussion with entrepreneurs from INJAZ Al-Arab celebrating its 10th anniversary". Queen rania Al Abdullah. มกราคม 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤษภาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2015.
  24. Queen Rania launches campaign to prepare 1 million Arab youth for workforce เก็บถาวร 7 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 24 January 2008.
  25. Queen Rania Joins UNICEF Leadership Initiative[ลิงก์เสีย], U.N. Wire, 15 November 2000.
  26. Jordan's Queen Rania shares school bench in Soweto township, Monsters and Critics, 27 March 2009.
  27. Queen Rania becomes UNICEF’s first Eminent Advocate for Children at the World Economic Forum เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UNICEF, Press Centre, 26 January 2007.
  28. Queen Rania designated as Honorary Global Chair of the United Nations Girls’ Education Initiative (UNGEI) เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UNGEI, 15 July 2009.
  29. "Global Campaign for Education". Campaignforeducation.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  30. A Promising Glimpse of Africa's Future Can Be Found in Its Children เก็บถาวร 31 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Huffington Post, 27 March 2009.
  31. 31.0 31.1 Maha of the Mountains เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Big Read, The Global Campaign for Education, 2009.
  32. Youth leaders in Soweto greet Queen Rania of Jordan เก็บถาวร 7 มกราคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, UNICEF, 30 March 2009.
  33. Queen Rania of Jordan, reads her story to children and announces her role as Honorary Chair of Action Week เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Global Campaign for Education, 27 March 2009.
  34. The King's Gift เก็บถาวร 5 พฤศจิกายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Queen Rania Al Abdullah, Amazon.com, 2000
  35. Ahead of Mother’s Day, Queen Rania announces winners of “Mama’s Story” competition highlighting importance of reading เก็บถาวร 1 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Jordan Times, 20 March 2009
  36. The Sandwich Swap เก็บถาวร 28 มีนาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Amazon.com, 2010
  37. "The Sandwich Swap". CSMonitor.com. 27 เมษายน 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2010. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2010.
  38. 38.0 38.1 38.2 38.3 38.4 38.5 38.6 38.7 38.8 Royal Ark, Jordanian genealogy details เก็บถาวร 15 กรกฎาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  39. "Nuevo duelo de reinas: una Rania muy demodé no puede con una Matilde sublime. Noticias de Casas Reales". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กรกฎาคม 2016.
  40. "Archived copy". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  41. Italian Presidency Website, S.M. la Regina Rania Al Abdullah เก็บถาวร 28 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  42. PPE Agency, State visit of Jordan in Netherlands 2006, Photo เก็บถาวร 6 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  43. "Søk - Scanpix". scanpix.no.
  44. 44.0 44.1 "Cidadãos Estrangeiros Agraciados com Ordens Portuguesas (search form)" (ภาษาโปรตุเกส). Portuguese Presidency (presidencia.pt). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2013.
  45. Royal Decree 502/2006 เก็บถาวร 25 ธันวาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Boletin Oficial del Estado (BOE). Reference: BOE-A-2006-7242.
  46. Royal Decree 1605/1999 เก็บถาวร 25 ธันวาคม 2015 ที่ Wikiwix. Boletin Oficial del Estado (BOE). Reference: BOE-A-1999-20603
  47. Foro Dinastías เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, State visit of Jordan in Spain, Sofia & Rania เก็บถาวร 27 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  48. State visit of Jordan in Sweden (2003), Group photo เก็บถาวร 20 สิงหาคม 2012 ที่ Wikiwix of Swedish & Jordanian sovereigns wearing reciprocal orders

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน ถัดไป
ลิซา นาจีบ ฮัลลาบี
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
(ค.ศ. 1999 - ปัจจุบัน)
ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน