สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮัสซานัล โบลเกียห์
สุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ใน พ.ศ. 2566
สุลต่านบรูไน
ครองราชย์5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – ปัจจุบัน
(56 ปี 197 วัน)
ราชาภิเษก1 สิงหาคม พ.ศ. 2511
ก่อนหน้าสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3
ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์
นายกรัฐมนตรีบรูไน คนที่ 1
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2527
(40 ปี 109 วัน)
รองเจ้าชายอัลมุห์ตาดี บิลละห์
ก่อนหน้าสถาปนาตำเเหน่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2558
(8 ปี 180 วัน)
ก่อนหน้าโมฮาเม็ด โบลเกียห์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540
(27 ปี 56 วัน)
ก่อนหน้าเจฟรี โบลเกียห์
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2527 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2529
(1 ปี 353 วัน)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปเจฟรี โบลเกียห์
พระราชสมภพ15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 (77 พรรษา)
อิซตานาดารุสสลาม บรูไนทาวน์ บรูไนในอารักขาของอังกฤษ
(ปัจจุบันคือประเทศบรูไน)
ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละฮ์
คู่อภิเษก
พระราชบุตร12 พระองค์
พระนามเต็ม
Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu'izzaddin Waddaulah ibni Al-Marhum Sultan Haji Omar 'Ali Saifuddien Sa'adul Khairi Waddien
ราชวงศ์โบลเกียห์
พระราชบิดาสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3
พระราชมารดาเปองีรันอานักดามิต
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
Alma mater
ลายพระอภิไธย

สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดีน วัดเดาละห์ ทรงเป็นสุลต่านองค์ที่ 29 แห่งบรูไน และยังทรงเป็นสุลต่านบรูไนพระองค์แรกที่ทรงพระอิสริยยศเป็นยังดีเปอร์ตวน (สมเด็จพระราชาธิบดี) พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3 และ สมเด็จพระราชินีดามิดแห่งบรูไน เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ และได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารเมื่อปี พ.ศ. 2504 พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 ทรงเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

สุลต่านได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ณ พ.ศ. 2566 กล่าวกันว่าพระองค์มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่ 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565 สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก[2]

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

สุลต่านเสด็จพระราชสมภพในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่อิซตานาดารุสสลาม บรูไนทาวน์ (ปัจจุบันคือบันดาร์เซอรีเบอกาวัน) ในฐานะ เปองีรันมูดา (เจ้าชาย) ฮัสซานัล โบลเกียห์ พระองค์เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาใน Victoria Institution ที่กัวลาลัมเปอร์ หลังจากนั้นจึงศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร โดยจบการศึกษาใน พ.ศ. 2510[3]

พระราชกรณียกิจ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลKebawah Duli Yang Maha Mulia
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับKebawah Duli
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)
ลำดับโปเจียม1
  • ทรงได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นมกฎราชกุมารแห่งบูรไนดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2504
  • เป็นพระประมุขแห่งรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้นำทางศาสนาอิสลามแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 – ปัจจุบัน
  • ทรงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอีกตำแหน่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540

พระมเหสี[แก้]

ทรงอภิเษกสมรสกับพระมเหสี 3 พระองค์ ได้แก่

  1. สมเด็จพระราชินีรายาอิสตรี เป็งงีรัน อานะก์ ฮัจญะห์ สเลฮา (Her Majesty Raja Isteri Pengiran Anak Hajah Saleha of Brunei Darussalam) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2489 ณ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ทรงอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 กับสมเด็จพระราชาธิบดีฮัสซานัล โบลเกียห์ (ขณะที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นมกุฎราชกุมาร) ทรงศึกษาด้านภาษามลายู ภาษาอังกฤษ และการศาสนา ณ พระราชวังดารุลฮานา (Istana Darul Hana) จากนั้นทรงศึกษาต่อในโรงเรียนมัธยมสตรีรายาอิสตรี (Raja Isteri) ณ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน มีพระราชโอรส 2 พระองค์ พระราชธิดา 4 พระองค์
  2. พระมเหสีเป็งงีรัน อิสตรี ฮัจญะห์ ำไไมาเรียม อดีตพนักงานต้อนรับสายการบินรอยัลบรูไนแอร์ไลน์ มีเชื้อสาย อังกฤษและญี่ปุ่น มีพระราชโอรส 2 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์ (ทรงหย่าเมื่อปี 2546)
  3. อัซรีนาซ มาซาร์ ฮาคิม อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ประเทศมาเลเซีย มีพระราชโอรส 1 พระองค์ พระราชธิดา 1 พระองค์ (ทรงหย่าเมื่อปี 2553)

พระราชทรัพย์[แก้]

ทรงได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก [4] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 พระองค์ได้พระราชทานเงินจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมี ดาโต๊ะ ดาพูกา ฮัจญี คามิส บิน ฮัจญี ทามิน เป็นตัวแทนมอบผ่านทาง ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 [5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. India Times
  2. "World's second-longest reigning monarch, Sultan Hassanal Bolkiah, marks golden jubilee in style". Times Now. 5 October 2017. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
  3. Leifer, Michael (13 May 2013). Dictionary of the Modern Politics of Southeast Asia. Routledge. p. 76. ISBN 9781135129453.
  4. "พระมหากษัตริย์แห่งบรูไน โดย NationChannel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-29. สืบค้นเมื่อ 2007-06-11.
  5. กรุงเทพธุรกิจ. ปีที่ 25 ฉบับที่ 8444. วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554. หน้า 16
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จำนวน ๗ ราย เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕, ตอน ๑๘๙ ง, ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑. หน้า ๘๔๗๑

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ ถัดไป
สุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟุดดีนที่ 3
สุลต่านแห่งบรูไน
(5 ตุลาคม พ.ศ. 2510 - ปัจจุบัน)
ยังอยู่ในราชสมบัติ