สมจิตร จงจอหอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พันโท
สมจิตร จงจอหอ
ต.ช., ต.ภ., จ.ม.
ชื่อจริงสมจิตร จงจอหอ
รุ่นไลท์ฟลายเวท
ฟลายเวท
เกิด19 มกราคม พ.ศ. 2518 (49 ปี)
ประเทศไทย อำเภอเมืองนครราชสีมา
จังหวัดนครราชสีมา
ประเทศไทย
รายการเหรียญรางวัล
สถิติเหรียญโอลิมปิก
มวยสากลสมัครเล่น
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 ฟลายเวท
มวยสากลเวิลด์แชมเปี้ยนชิพ
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ไทย 2003 ฟลายเวท
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ ชิคาโก 2007 ฟลายเวท
เอเชียนเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เกาหลีใต้ 2002 ฟลายเวท
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กาตาร์ 2006 ฟลายเวท
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ บรูไน 1999 ไลท์ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ มาเลเซีย 2001 ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เวียดนาม 2003 ฟลายเวท
เหรียญทอง - ชนะเลิศ โคราช 2007 ฟลายเวท

พันโท สมจิตร จงจอหอ (สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย) เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2 สมัย เหรียญทองซีเกมส์ 3 สมัย และได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชิญธงชาติไทย นำคณะนักกีฬาทีมชาติไทย ในพิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 206

ประวัติ[แก้]

สมจิตร จงจอหอ มีชื่อเล่นว่า "น้อย" เกิดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2518 ที่ ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของ นายเช้า และ นางฝ้าย จงจอหอ หลังจากนั้นย้ายภูมิลำเนาตาม บิดา มารดา ไปอยู่และเติบโตที่ อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา

การศึกษา[แก้]

สมจิตรจบจากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุโขทัย ได้รับเหรียญทองจากการแข่งขันมวยรายการต่าง ๆ มากมาย อาทิ เวิลด์แชมเปียนชิพ, มวยทหารโลก, เอเชียนเกมส์[1] โดยก่อนชกมวยสากลสมัครเล่น สมจิตรเคยเป็นนักมวยไทยมาก่อน ใช้ชื่อว่า "ศิลาชัย ว.ปรีชา" นอกจากนี้แล้วได้ยังรับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

สมจิตร ได้รับการคาดหมายให้เป็นตัวเต็งในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 และเอเชียนเกมส์ 2006 แต่ไม่สามารถคว้าเหรียญรางวัลได้ตามคาด ทำให้สมจิตรเกิดความท้อแท้ใจ จนเกิดความคิดจะแขวนนวมถึง 2 ครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็กลับมาตั้งต้นพยายามใหม่[2]

หลังจากนั้น ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 สามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันในรุ่น 51 กิโลกรัม ได้สำเร็จ โดยชนะอันดริส ลาฟฟิตา นักมวยชาวคิวบา ที่สมจิตรเคยแพ้ เมื่อครั้งแข่งขันเวิลด์แชมเปียนชิพ เมื่อปี พ.ศ. 2548[3]

สมจิตรเคยรับหน้าที่เป็นพิธีกรในรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต และรับงานบันเทิงเป็นครั้งคราว

ชีวิตส่วนตัวและชีวิตครอบครัว[แก้]

สมจิตร จงจอหอ สมรสกับ นางศศิธร (อุ๋ม) (นามสกุลเดิม : เนาว์ประเสริฐ) มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ อภิภู จงจอหอ (ชื่อเล่น : กำปั้น) และ พิชามญธุ์ จงจอหอ (ชื่อเล่น : จันทร์เจ้า) [4]

ธุรกิจส่วนตัว[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2558 สมจิตรได้ตั้งค่ายมวยเป็นของตัวเอง ในชื่อ "สมจิตรยิม" เปิดสอนมวยไทยแก่เยาวชนและผู้ที่สนใจ ที่จังหวัดนครราชสีมา รวมถึงยังมีนักมวยชื่อดังในสังกัดค่ายดังกล่าว คือ ปวริศ สมจิตรยิม

ผลงาน[แก้]

โอลิมปิก[แก้]

เอเธนส์ 2004

ปักกิ่ง 2008

กีฬา[แก้]

บันเทิง[แก้]

  • พิธีกรรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต ช่วง กีฬาไทย กีฬาโลก ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 06.00 -07.30 น. (ไม่ได้จัดประจำ)
  • พิธีกรรายการ เกมกำแพงซ่า น็อกเอาต์ ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.
  • พิธีกรรายการ เกมกำแพงซ่า สไตรค์ ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 18.30 น.
  • กรรมการรายการ กิ๊กดู๋ สงครามเพลง เงินล้าน ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันอังคาร เวลา 22.30 - 00.10 น.
  • พิธีกรรายการ Healthy Trip ออกอากาศทุกวันจันทร์ 19.30-20.00 น. ทาง T Sports Channel ช่อง True Visions 68, KU BAND 12657 MHz และทางช่องเคเบิล TV ท้องถิ่น
  • เป็นนักปั้นฝันในรายการ The Trainer ปั้นฝันสนั่นเวที ปี 3
  • ผลงานเพลงชุด "นักรักสมัครเล่น"
  • พิธีกรรายการ อึ้ง ทึ่ง เสียว ทาง ThaiCh8 : ช่อง 8 อาร์เอส ออกอากาศทุกวัน พฤหัสบดี เวลา 15.30 น. , ศุกร์ เวลา 23.10 น. , เสาร์ เวลา 15.00 น.
  • พิธีกรรายการ ศึกท่อน้ำไทย ลุมพินี ทีเคโอ เกียรติเพชร PPTVHD36 : พีพีทีวี ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา 16.10-18.00 น.
  • พิธีกรรายการ เตะสู้ฝัน ทาง ช่อง 7 เอชดี ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา 18:00-18:45 น.
  • พิธีกรรายการ สมรภูมิกีฬา All Star Challenge ทางช่อง 7 เอชดี ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 13:30-14:30 น.
  • พิธีกรรายการ ศึกมวยกรงแปดเหลี่ยม "Legend Fighting Championships" ทางช่อง 8, YouTube:Legend Fighting Championship, มวยช่อง8 : MuayCh8 ออกอากาศ สัญจรแต่ละครั้ง ร่วมกับ ต้อง-ศุภชัย จิวะอุดมทรัพย์, อ๊อด เคโอ

ละครโทรทัศน์[แก้]

ภาพยนตร์[แก้]

ซีรีส์[แก้]

  • ชุมชนสมหวัง หมู่ 8 (พ.ศ. 2563)

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดประวัติ สมจิตร จงจอหอ กับเส้นทางนักชกไทย
  2. "สมจิตร" รับเคยเลิกชก 2 ครั้ง ลั่นแบ่งเงินบริจาค เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2551 19:37 น.
  3. "สมจิตร" โชว์เก๋าคว่ำคิวบาซิวทองสำเร็จ เก็บถาวร 2012-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 23 สิงหาคม 2551 18:16 น.
  4. "สมจิตร จงจอหอ ไทยรัฐออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2014-11-17.
  5. 5.0 5.1 "ผลเอเชียนเกมส์ มวยสากลสมัครเล่น รุ่น 51 กก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-17. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๖, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เพิ่มเติม เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เก็บถาวร 2022-06-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๓๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๗, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]