สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563[1]
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าศิริ จิระพงษ์พันธ์
ถัดไปสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 29 มกราคม พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าอภิรดี ตันตราภรณ์
ถัดไปณัฎฐพล ทีปสุวรรณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าสุวิทย์ เมษินทรีย์
ถัดไปชุติมา บุณยประภัศร
เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2561 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2563
ถัดไปอนุชา นาคาศัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังประชารัฐ (2561–2563, 2566–ปัจจุบัน)
สร้างอนาคตไทย (2565–2566)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (เกิด 19 มีนาคม พ.ศ. 2503) อดีตเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อดีตเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[2] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ กรรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อรรชกา สีบุญเรือง) และเป็นอดีตประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย[3]

ประวัติ[แก้]

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ (สกุลเดิม: รุ่งโรจน์วณิชย์) เกิดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2503 ที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย (เดิมเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาญจนบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวัสดุศาสตร์ และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน[แก้]

สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เป็นนักธุรกิจ เคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ต่อมาเป็นสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อรรชกา สีบุญเรือง) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559[4] ต่อมาเขาได้ลาออกจากพรรคพลังประชารัฐ[5] รวมทั้งได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีในเวลาต่อมา[6]

ในปี 2565 เขาได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคสร้างอนาคตไทย[7] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 เขาและอุตตม สาวนายน ได้ย้ายกลับไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ[8]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก". ราชกิจจานุเบกษา. 5 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "คิกออฟ "สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย" รวมพลังส่องสปอร์ตไลท์ให้รัฐหนุนตรงเป้า". ผู้จัดการออนไลน์. 29 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  4. "ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. พลังประชารัฐ : กลุ่ม "4 กุมาร" ลาออกจากสมาชิก พปชร. แต่ยังไม่ทิ้งเก้าอี้ รมต. ไม่คิดตั้งพรรคใหม่
  6. ปรับ ครม. ประยุทธ์ 2/2 : สมคิด กับ “4 กุมาร” อ้าง “จากกันด้วยดี” หลังยื่นใบลาออกจาก ครม. มีผลทันที 16 ก.ค.
  7. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตมเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ประกาศดึงสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นแคนดิเดตนายกฯ
  8. "บิ๊กปัอม" เปิดตัว "อุตตม-สนธิรัตน์-พล.อ.วิชญ์" กลับพลังประชารัฐ วางตัวช่วยด้านเศรษฐกิจ
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฏไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๙๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๔, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
ก่อนหน้า สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ถัดไป
ศิริ จิระพงษ์พันธ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(10 กรกฎาคม 2562 – 15 กรกฎาคม 2563)
วิษณุ เครืองาม
(รักษาการ)
อภิรดี ตันตราภรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
(23 พฤศจิกายน 2560 – 29 มกราคม 2562)
ชุติมา บุณยประภัศร
(รักษาการ)