สถานีสามยอด

พิกัด: 13°44′50.1″N 100°30′04.8″E / 13.747250°N 100.501333°E / 13.747250; 100.501333
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สามยอด
BL30
PP23

Sam Yot
อาคารสถานีสามยอด ทางออก 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งถนนเจริญกรุง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′50.1″N 100°30′04.8″E / 13.747250°N 100.501333°E / 13.747250; 100.501333
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)
สาย
ชานชาลา2 ชานชาลาด้านข้าง
ราง2
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานีสายสีน้ำเงิน: BL30
สายสีม่วง: PP23
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562; 4 ปีก่อน (2562-07-29) (สายสีน้ำเงิน)
ชื่อเดิมวังบูรพา
ผู้โดยสาร
25641,758,892
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟฟ้ามหานคร สถานีต่อไป
สนามไชย
มุ่งหน้า หลักสอง
สายสีน้ำเงิน วัดมังกร
มุ่งหน้า ท่าพระ
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
มุ่งหน้า คลองบางไผ่
สายสีม่วง สะพานพุทธ
มุ่งหน้า เตาปูน
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีสามยอด (อังกฤษ: Sam Yot Station, รหัส BL30 (สายสีน้ำเงิน), PP23 (สายสีม่วง)) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยเป็นสถานีในระบบใต้ดินที่อยู่ภายในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก ในแนวถนนเจริญกรุง (สายสีน้ำเงิน) และถนนมหาไชย (สายสีม่วง) ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์และแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ที่ตั้ง[แก้]

สถานีของสายเฉลิมรัชมงคล ตั้งอยู่ใต้ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่บริเวณแยกสามยอด (จุดตัดกับถนนมหาไชย) จนถึงแยกอุณากรรณ (จุดตัดกับถนนอุณากรรณ และถนนบูรพา) ส่วนสถานีของสายฉลองรัชธรรม ตั้งอยู่ใต้ถนนมหาไชย หน้าสวนรมณีนาถ[1] ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์และแขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

สถานีสามยอดเป็นหนึ่งในสองสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล ที่มีเขตที่ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ โดยตั้งอยู่ภายใต้บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอก (อีกสถานีหนึ่งคือ สถานีสนามไชย ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน) การก่อสร้างสถานีจึงได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์อย่างหนักโดยเกรงว่าการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าจะทำให้ทัศนียภาพของบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์รอบนอกเปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้การก่อสร้างสถานีดังกล่าว การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีการระบุขอบเขตของงานเอาไว้ภายในสัญญาการก่อสร้างฉบับที่ 1 (โครงสร้างใต้ดินช่วงหัวลำโพง - สนามไชย) ว่าการก่อสร้างจะต้องเป็นการก่อสร้างแบบออกแบบแล้วดำเนินการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงสถาปัตยกรรมของพื้นที่โดยรอบของสถานีเป็นหลัก

ในแผนงานเบื้องต้น สถานีนี้เคยใช้ชื่อว่า สถานีวังบูรพา เพื่อสื่อถึงย่านวังบูรพา อันเคยเป็นที่ตั้งของวังบูรพาภิรมย์ มาก่อน แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ตั้งสถานีพบว่าตัวสถานีอยู่ไกลจากย่านวังบูรพาพอสมควร จึงมีการเปลี่ยนชื่อสถานีเป็น สถานีสามยอด ตามแยกสามยอดจะสามารถสื่อถึงได้ง่ายกว่า

การออกแบบ[แก้]

สถานีสามยอดเป็นสถานีร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง เมื่อเริ่มก่อสร้างได้รื้อถอนอาคารพาณิชย์บางส่วนด้านทิศเหนือของถนนเพื่อก่อสร้างสถานี เมื่อดำเนินการก่อสร้างได้ขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2554 พบหลักฐานสำคัญ คือ แนวทางรถรางที่อยู่ใต้ถนนชั้นปัจจุบัน จึงได้วางแนวก่อสร้างให้ส่งผลกระทบต่อเส้นทางการเดินรถให้น้อยที่สุด[2]

การออกแบบทั้งภายนอกและภายใน ได้รับการออกแบบจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ต้องการให้คงความเป็นย่านวังบูรพาเอาไว้ ด้วยการใช้สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ควบคู่กับสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือชิโนโปรตุกีส[3] ด้วยการสร้างอาคารทางเข้าสถานีจำนวนสามหลัง โดยทั้งสามหลังได้รับการออกแบบให้มีความโอ่โถงและโปร่งโล่ง เพื่อเปิดรับลมจากภายนอกอย่างเต็มที่ บริเวณทางเข้าสถานี และผนังโดยรอบได้มีการขึ้นปูนเป็นประตูบานเฟี้ยมซึ่งเป็นรูปแบบของประตูในสมัยเก่ามาปรับใช้ ส่วนบริเวณเสาสถานีและพื้นที่จำหน่ายบัตรโดยสารได้มีการนำรูปทรงและลักษณะของซุ้มประตูสามยอดมาตกแต่งเพื่อสื่อถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ และภายในสถานียังได้มีการติดรูปภาพสมัยเก่าเพื่อเล่าเรื่องถึงประวัติศาสตร์และที่มาของพื้นที่ให้ผู้โดยสารได้รับทราบและรับรู้[4]

ทั้งนี้การออกแบบพื้นที่ภายในสถานีจะใช้สีโทนเหลืองอ่อนเป็นหลักเพื่อให้สอดคล้องกับสถาปัตยกรรมโดยรวมของตัวสถานี แต่ยกเว้นเฉพาะพื้นที่เชื่อมต่อสายฉลองรัชธรรม ที่จะแซมการออกแบบด้วยโทนสีม่วง ตั้งแต่ผนัง เพดาน และสภาพแสงไฟโดยรวมของพื้นที่ เพื่อสื่อให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของสายฉลองรัชธรรม โดยจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่ชั้น B3

แผนผังสถานี[แก้]

2
ห้องควบคุมสถานี
- ห้องควบคุมสถานี (Station Control Center), ห้องเครื่อง
G
ระดับถนน,
ชั้นขายบัตรโดยสาร
- ป้ายรถประจำทาง, ทางออก 1-3, ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร, เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร
B1
ทางเดินเชื่อม, ห้องเครื่อง
ชั้น Plant ชั้นคั่นกลาง ระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา
B2
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 2 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
B3
ชั้น Interchange Hall สายสีม่วง
(พื้นที่เตรียมสำหรับก่อสร้างชานชาลา)
ชานชาลา 3 สายสีม่วง มุ่งหน้า สถานีคลองบางไผ่
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 4 สายสีม่วง มุ่งหน้า สถานีครุใน
B4
ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง

รายละเอียดสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานี[แก้]

สัญลักษณ์ของสถานีเป็นซุ้มประตูสามยอด เพื่อสื่อถึงกายภาพของประตูสามยอดที่ถือเป็นประตูเมืองเก่า และอาคารราชการบริเวณแยกสามยอด โดยการออกแบบเสาและเครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารจะใช้รูปแบบของซุ้มประตูสามยอดทั้งหมด ในส่วนของสีประจำสถานีได้เลือกใช้สีน้ำตาลแทนการใช้สีน้ำเงินเพื่อสื่อถึงความเป็นสถานีเชื่อมต่อ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของประตูสามยอดในสมัยก่อนที่ใช้ไม้ทำประตู

รูปแบบของสถานี[แก้]

สำหรับเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเป็นชานชาลาต่างระดับ (Station with Stack Platform) เนื่องมาจากแนวถนนเจริญกรุงมีพื้นที่คับแคบ ทำให้ต้องสร้างอุโมงค์ซ้อนกัน แต่สำหรับเส้นทางสายฉลองรัชธรรม ซึ่งมีเส้นทางเดินรถตามแนวถนนมหาไชย จะเป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform) ในแนวตัดขวางกับถนนเจริญกรุง

ทางเข้า-ออกสถานี[แก้]

สายสีน้ำเงิน[แก้]

ทางเข้า-ออกสถานีของสายสีน้ำเงิน มีทั้งหมดสามจุดโดยเป็นอาคารที่สร้างเหนือพื้นดินตามแนวถนนเจริญกรุง โดยทั้งสามอาคารตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างถนนเจริญกรุงและซอยสามยอด และคั่นกลางระหว่างอาคารด้วยซอยเจริญกรุง 5 และซอยเจริญกรุง 7 ทั้งนี้อาคารดังกล่าวทำหน้าที่เป็นชั้นขายบัตรโดยสารไปในตัว โดยผู้โดยสารจะต้องชำระค่าโดยสารและเข้าสู่พื้นที่ตรวจบัตรโดยสารตั้งแต่ชั้นนี้ก่อนลงไปยังตัวสถานีที่อยู่ใต้ดิน

  • อาคาร 1 ถนนมหาไชย, แยกสามยอด, พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์, สวนรมณีนาถ, โรงแรมมิราม่า, เมก้า พลาซ่า สะพานเหล็ก, ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ (บันไดเลื่อน)
  • อาคาร 2 ซอยเจริญกรุง 5 และซอยเจริญกรุง 7 (เฉพาะลิฟต์)
  • อาคาร 3 ถนนบูรพา, ถนนอุณากรรณ, วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร, ดิโอลด์สยามพลาซ่า (บันไดเลื่อน)

สายสีม่วง[แก้]

  • 1 ถนนหลวง, โรงแรมวิลลา เดอ พระนคร
  • 2 โรงแรมมิราม่า, ป้ายรถประจำทางไปเยาวราช (ลิฟต์)
  • 3 ซอยศิริชัย, สวนรมณีนาถ
  • 4 สามยอด, ป้ายรถประจำทางไปป้อมมหากาฬ (ลิฟต์)

การจัดพื้นที่ในตัวสถานี[แก้]

แบ่งเป็น 6 ชั้น โดยเป็นอาคารเหนือพื้นดิน 2 ชั้น และชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 2 ชั้นสำนักงาน ห้องควบคุมสถานี และห้องเครื่อง
  • 1 ชั้นระดับถนน และชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
  • B1 ชั้นคั่นกลางระหว่างชั้นจำหน่ายบัตรโดยสารและชานชาลา
  • B2 ชั้นชานชาลาหมายเลข 2 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านสถานีบางซื่อ)
  • B3 ชานชาลารถไฟฟ้าสายสีม่วง ชานชาลา 3 มุ่งหน้าสถานีครุใน และชานชาลา 4 มุ่งหน้าสถานีคลองบางไผ่
  • B4 ชั้นชานชาลาหมายเลข 1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มุ่งหน้าสถานีหลักสอง

เวลาให้บริการ[แก้]

ปลายทาง วัน ขบวนแรก ขบวนสุดท้าย
สายสีน้ำเงิน[5]
ชานชาลาที่ 1
BL38 หลักสอง จันทร์ – ศุกร์ 05:52 00:12
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 06:01 00:12
ชานชาลาที่ 2
BL01 ท่าพระ
(ผ่านบางซื่อ)
จันทร์ – ศุกร์ 05:50 23:26
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ 05:58 23:26
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง 22:40

รถโดยสารประจำทาง[แก้]

ถนนเจริญกรุง[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
5 (1) อู่กำแพงเพชร สะพานพระพุทธยอดฟ้า
25 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

53 (1) วงกลม: สนามหลวง เทเวศร์ 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง
73 (2-45) (3) รถโดยสารประจำทาง อู่สวนสยาม สะพานพระพุทธยอดฟ้า 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
ตลาดห้วยขวาง

ถนนมหาไชย[แก้]

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ[แก้]

สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
1 (2) ถนนตก ท่าเตียน 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก.
25 (3) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้างวังหลวง/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

508 (2) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิษฐ์/ท่ารถคลองคูเมืองเดิม 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
  • ถนนเจริญกรุง สาย 1 8 25 (ขสมก.) 35 (ไปพระประแดง) 48 53 (วนซ้าย) 73 507 508 (ไปท่าราชวรดิฐ)
  • ถนนมหาไชย สาย 4 7 21 37 40 56 85 529
  • ถนนอุณากรรณ บริเวณสวนรมณีนาถ สาย 42

อุบัติเหตุ[แก้]

  • วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น. เกิดเหตุต้นไม้ล้มทับเสาไฟฟ้าหักโค่น บริเวณอาคารทางออกที่ 1 สถานีสามยอด ส่งผลให้โครงสร้างสถาปัตยกรรม หลังคา และกล้องวงจรปิดของสถานีได้รับความเสียหาย รฟม. จึงดำเนินการแจ้งให้ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ปิดทางออกที่ 1 เป็นการชั่วคราว และแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงเข้ามาดำเนินการรื้อถอนเสาไฟฟ้าและต้นไม้ที่หักทับโครงสร้างสถานีออก ทั้งนี้ เหตุการณ์นี้ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และรถไฟฟ้ายังคงเปิดให้บริการตามปกติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเดินรถแต่อย่างใด[6]

สถานที่สำคัญใกล้เคียง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก)" (PDF). 19 กุมภาพันธ์ 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-05-13. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 37.
  3. "BEM Magazine Vol. 9" (PDF). 29 กรกฎาคม 2562. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "ยลโฉม 4 สถานีรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล สถาปัตยกรรมในรัชสมัยรัชกาลที่ 9". ประชาชาติธุรกิจ. 1 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.
  6. เสาไฟ-ต้นไม้ ล้มทับ “สถานีสามยอด” รฟม. ชี้ไม่กระทบบริการรถไฟฟ้า

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]