สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น


โลโก้ สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น
กำกับ
บทภาพยนตร์
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพ
ตัดต่อ
ดนตรีประกอบจอห์น วิลเลียมส์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่าย1999–2019:
ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
ตั้งแต่ 2019:
วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์[a]
วันฉาย
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง343 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เฉพาะเอพพิโซด 1, 2, 3)
ทำเงิน2.526 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(เฉพาะเอพพิโซด 1, 2, 3)

สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น (อังกฤษ: Star Wars prequel trilogy) เป็นภาพยนตร์ไตรภาคชุดที่สองของแฟรนไชส์ สตาร์ วอร์ส กำกับและเขียนบทโดย จอร์จ ลูคัส สร้างโดยลูคัสฟิล์มและจัดจำหน่ายโดยทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ ภาพยนตร์ในไตรภาคชุดนี้ฉายระหว่างปี ค.ศ. 1999 ถึง 2005 และเล่าเรื่องราวก่อนเหตุการณ์ใน สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม (1977–83) ประกอบด้วย เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น (1999), เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม (2002) และ เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น (2005) ภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้เป็นไตรภาคที่สองใน มหากาพย์สกายวอร์คเกอร์ ในแง่ของการฉาย แต่มีเรื่องราวอยู่ในอันดับแรกสุด

ภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้เล่าเรื่องราวการฝึกฝนเป็นเจไดของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ชายหนุ่มผู้มีพลังแรงกล้า (พ่อของ ลุค สกายวอล์คเกอร์และเลอา ออร์กานา ตัวละครหลักในไตรภาคเดิม) โดยอาจารย์ของเขา โอบีวัน เคโนบีและโยดา ต่อมาอนาคินเข้าสู่ด้านมืดของพลังแล้วกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องราวการทุจริตในสาธารณรัฐกาแลกติก, การทำลายล้างเจได และการขึ้นสู่อำนาจของจักรวรรดิกาแลกติก ภายใต้ซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส ภาพยนตร์สองเรื่องแรกได้รับคำวิจารณ์ที่หลากหลาย ขณะที่เรื่องที่สามได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก

เบื้องหลัง[แก้]

แกรี เคิร์ตซ์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชุดไตรภาคเดิม กล่าวว่า แผนคร่าว ๆ ของไตรภาคต้นได้มีการพัฒนาในช่วงระหว่างการร่างภาพยนตร์ดั้งเดิมสองเรื่องแรก[1] เมื่อปี ค.ศ. 1980 ลูคัสยืนยันว่าเขามีเนื้อเรื่องสำหรับภาพยนตร์เก้าเรื่องอยู่แล้ว[2] แต่เขาตัดสินใจยกเลิกภาพยนตร์ภาคต่อในปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากความเครียดในการถ่ายทำไตรภาคเดิมและแรงกดดันจากภรรยาของเขาที่ต้องการความสงบ[3] อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีเริ่มมีความก้าวหน้ามากขึ้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 และช่วงต้นทศวรรษ 1990 รวมไปถึงการสร้างภาพจากคอมพิวเตอร์ (ซีจีไอ) ดลใจให้ลูคัสพิจารณาว่าเขาอาจจะกลับไปทบทวนมหากาพย์ของเขาอีกครั้ง เมื่อปี ค.ศ. 1989 ลูคัสกล่าวว่าภาพยนตร์ในไตรภาคต้นนั้นจะ "แพงอย่างไม่น่าเชื่อ"[4] หลังเขาได้ดูตัวอย่างซีจีไอเบื้องต้น สร้างโดย อินดัสเทรียลไลต์แอนด์แมจิก ให้กับภาพยนตร์ จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ลูคัสกล่าวว่า:

เราทดสอบให้กับสตีเวน สปีลเบิร์ก และเมื่อเรานำมันขึ้นบนจอภาพ ผมก็น้ำตาคลอ มันเป็นเหมือนช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์ เหมือนการประดิษฐ์หลอดไฟหรือการคุยผ่านโทรศัพท์ครั้งแรก ช่องว่างสำคัญถูกข้ามไปแล้วและสิ่งต่าง ๆ จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป[5]

เมื่อปี ค.ศ. 1992 เขาบอกว่าเขามีแผนที่จะสร้างไตรภาคต้นในนิตยสาร ลูคัสฟิล์มแฟนคลับ และประกาศเรื่องนี้ในนิตยสาร วาไรตี ช่วงปลายปี ค.ศ. 1993[6] ผู้อำนวยการสร้าง ริก แม็คคาลัม ติดต่อ แฟรงก์ แดราบอนต์ ซึ่งเคยทำงานเขียนบทให้กับ เดอะยังอินเดียนา โจนส์ครอนิเคิลส์ และ มิตรภาพ ความหวัง ความรุนแรง เพื่อทำหน้าที่เขียนบทให้กับภาพยนตร์ชุดไตรภาคนี้[7] เขาได้รับการพิจารณา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1995 เมื่อเวลาผ่านไป ลูคัสเขียนบทภาพยนตร์ด้วยตนเอง[8] ก่อนลูคัสเลือกที่จะกำกับไตรภาคต้น ผู้กำกับ สตาร์ วอร์ส 3: ชัยชนะของเจได ริชาร์ด มาร์ควานด์ แสดงความสนใจต้องการที่จะกำกับหนึ่งในภาพยนตร์ไตรภาคต้น แต่เขาเสียชีวิตไปเสียก่อนเมื่อปี ค.ศ. 1987[9] ความนิยมของแฟรนไชส์มีมายาวนานด้วยสื่อจากจักรวาลขยายของ สตาร์ วอร์ส ทำให้ยังมีจำนวนผู้ชมอยู่เป็นจำนวนมาก มีการฉายใหม่ของภาพยนตร์ไตรภาคเดิมเมื่อปี ค.ศ. 1997 ได้มีการ "ปรับปรุง" ภาพยนตร์อายุยี่สิบปีด้วยการใส่ซีจีไอเพื่อให้จินตนาการถึงไตรภาคใหม่

ภาพยนตร์[แก้]

สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 1: ภัยซ่อนเร้น ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 เล่าเรื่องราวของเหล่าเจไดได้พบกับ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ วัยเด็ก และการคอรัปชั่นภายในวุฒิสภากาแลกติกโดย พัลพาทีน (ดาร์ธ ซิเดียส) สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 2: กองทัพโคลนส์จู่โจม ฉายเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 เล่าเรื่องราว 10 ปีหลังเหตุการณ์ในเอพพิโซด 1 อนาคินเป็นศิษย์ของโอบีวัน เคโนบีและเขามีความรักต้องห้ามกับแพดเม่ ขณะเดียวกันสงครามโคลนก็ได้เริ่มต้นขึ้น สตาร์ วอร์ส เอพพิโซด 3: ซิธชำระแค้น ฉายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในแฟรนไชส์ที่ได้เรตติง PG-13[10] เล่าเรื่องราวของอนาคินเข้าสู่ด้านมืดของพลังและกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์[11]

ภาพยนตร์ วันฉาย ผู้กำกับ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ เนื้อเรื่องโดย ผู้อำนวยการสร้าง ผู้จัดจำหน่าย
19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 (1999-05-19) จอร์จ ลูคัส ริก แม็คคาลัม ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ (ช่วงแรก)
วอลต์ดิสนีย์สตูดิโอส์โมชันพิกเชอส์
16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 (2002-05-16) จอร์จ ลูคัส จอร์จ ลูคัสและโจนาธาน เฮลส์ จอร์จ ลูคัส
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 (2005-05-19) จอร์จ ลูคัส

เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น[แก้]

32 ปีก่อนเหตุการณ์ในภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิม อัศวินเจไดสองคน ไควกอน จินน์และศิษย์ของเขา โอบีวัน เคโนบี พบว่า สมาพันธ์การค้า ได้ทำการปิดกั้นรอบ ๆ ดาวเคราะห์นาบู พัลพาทีน วุฒิสมาชิกของดาวนาบู ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น ซิธลอร์ด ดาร์ธ ซิเดียส ได้วางแผนการปิดกั้นดังกล่าวอย่างซ่อนเร้นเพื่อเป็นข้ออ้างที่เขาจะได้กลายเป็นสมุหนายกของสาธารณรัฐกาแลกติก ด้วยความช่วยเหลือของราชินีของนาบู แพดเม่ อมิดาลา, ไควกอนและโอบีวันหลบหนีจากการปิดกั้นได้ พวกเขาลงจอดที่ดาวทาทูอีน เพื่อซ่อมยานอวกาศและได้พบกับทาสเด็กอายุเก้าปีมีชื่อว่า อนาคิน สกายวอร์คเกอร์ ไควกอนเชื่อว่าเขาเป็น "ผู้ที่ถูกเลือก" จึงนำตัวอนาคินมาฝึกฝนเป็นเจได[12]

ในไตรภาคต้นนั้นแต่เดิมมีแผนที่จะเติมเต็มประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับไตรภาคเดิม แต่ลูคัสตระหนักว่าพวกเขาสามารถสร้างครึ่งแรกของหนึ่งเรื่องยาวที่เน้นไปที่เรื่องราวของอนาคิน[13] ทำให้ภาพยนตร์ชุดกลายเป็นมหากาพย์สกายวอร์คเกอร์ ในปี ค.ศ. 1994 ลูคัสเริ่มเขียนบทสำหรับภาพยนตร์เรื่องแรกในไตรภาคต้น ใช้ชื่อในช่วงแรกว่า เอพพิโซด 1: เดอะบีกินนิง หลังภาพยนตร์ฉาย ลูคัสประกาศว่าเขาจะกำกับภาคต่อไปอีกสองภาค[14]

นักแสดงหลักในไตรภาคต้นประกอบด้วย เฮย์เดน คริสเตนเซน (อนาคิน สกายวอล์คเกอร์, เอพพิโซด 2 และ 3), ยวน แม็คเกรเกอร์ (โอบีวัน เคโนบี), นาตาลี พอร์ตแมน (แพดเม่ อมิดาลา) ตามลำดับ

เอพพิโซด 2 กองทัพโคลนส์จู่โจม[แก้]

10 ปีต่อมา มีคนพยายามลอบสังหาร แพดเม่ อมิดาลา ซึ่งตอนนี้ทำหน้าที่เป็นวุฒิสมาชิกของนาบู อัศวินเจได โอบีวัน เคโนบี และศิษย์ของเขา อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ได้รับมอบหมายให้ปกป้องเธอ ขณะที่โอบีวันกำลังตามหาผู้ลอบสังหาร อนาคินและแพดเม่ต่างตกหลุมรักกันอย่างลับ ๆ สมุหนายกพัลพาทีน วางแผนที่จะดึงกาแลคซีให้เข้าสู่สงครามโคลน ระหว่างกองทัพโคลนของสาธารณรัฐซึ่งนำโดยเจไดกับสมาพันธรัฐระบบอิสระซึ่งนำโดยศิษย์ของพัลพาทีน เคาต์ ดูกู [15]

ร่างแรกของ เอพพิโซด 2 นั้นเสร็จสมบูรณ์ก่อนการถ่ายทำไม่กี่สัปดาห์ ลูคัสจ้าง โจนาธาน เฮลส์ นักเขียนจาก เดอะยังอินเดียนาโจนส์ครอนิเคิลส์ มาขัดเกลาบท[16] ลูคัสไม่แน่ใจว่าจะใช้ชื่อตอนอะไรดี ลูคัสจึงพูดติดตลกเรียกภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า "ผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของจาร์ จาร์" ("Jar Jar's Great Adventure")[17] ตอนที่เขียนบท จักรวรรดิเอมไพร์โต้กลับ ลูคัสเคยกำหนดให้แลนโด คาลริสเซียน เป็นโคลนจากดาวเคราะห์ของโคลน เพราะว่าสงครามโคลนเคยถูกพูดถึงใน ความหวังใหม่[18][19] ต่อมาเขาก็มีแนวคิดเกี่ยวกับกองทัพของโคลนจู่โจม ซึ่งมาจากดาวเคราะห์ที่ห่างไกล โจมตีสาธารณรัฐและถูกต่อต้านโดยเจได[20]

เอพพิโซด 3 ซิธชำระแค้น[แก้]

สามปีหลังเกิดสงครามโคลน อนาคินเริ่มไม่ไว้วางใจสภาเจไดและเริ่มเห็นภาพนิมิตของแพดเม่ซึ่งเสียชีวิตขณะคลอดบุตร พัลพาทีนหลอกอนาคินว่าพลังแห่งด้านมืดสามารถช่วยชีวิตแพดเม่ไว้ได้ อนาคินซึ่งกำลังสิ้นหวัง ยอมเป็นศิษย์ของพัลพาทีน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ดาร์ธ เวเดอร์ พัลพาทีนออกคำสั่งให้กวาดล้างเจไดและประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นจักรวรรดิกาแลกติก เวเดอร์ปะทะกับโอบีวันด้วยการดวลกระบี่แสงที่ดาวเคราะห์ภูเขาไฟมุสตาฟา ต่อมาแพดเม่ก็เสียชีวิตหลังให้กำเนิดแฝดสอง[11]

การทำงานของ เอพพิโซด 3 เริ่มต้นก่อน เอพพิโซด 2 จะฉาย โดยถ่ายทำหนึ่งฉากในช่วงแรกของการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องที่แล้ว แต่เดิมลูคัสบอกกับศิลปินแนวคิดว่าภาพยนตร์จะเปิดด้วยภาพสงครามโคลนจากสถานที่ต่าง ๆ[21] และมีฉากที่พัลพาทีนเปิดเผยกับอนาคินว่า เขาสร้างอนาคินขึ้นมาจากมิดิคลอเรียนส์ของเขา[22] ลูคัสได้ทบทวนและจัดเรียงเรื่องราวใหม่ทั้งหมด[23] โดยให้จบองก์แรกของภาพยนตร์ ด้วยอนาคินฆ่าเคาต์ ดูกู เป็นสัญญาณเริ่มทำให้เขาเข้าสู่ด้านมืด[24] หลังถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จในปี ค.ศ. 2003 ลูคัสเปลี่ยนแปลงเรื่องราวของอนาคินหลายอย่าง โดยอนาคินเข้าสู่ด้านมืดจากการพยายามที่จะช่วยชีวิตของแพดเม่เป็นหลัก มากกว่าเชื่อว่าเจไดกำลังวางแผนที่จะล้มล้างสาธารณรัฐ การเขียนใหม่ประสบความสำเร็จได้จากการตัดต่อจากภาพที่ได้จากการถ่ายทำและการถ่ายใหม่และถ่ายซ่อมในลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 2004[25]

แก่นเรื่อง[แก้]

ลูคัสพยายามอย่างมีสติด้วยการทำให้ฉากและบทพูดระหว่างไตรภาคต้นและไตรภาคเดิมคู่ขนานกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเดินทางของ อนาคิน สกายวอล์คเกอร์ ในไตรภาคต้นและการเดินทางของลุค ลูกชายของเขาในไตรภาคเดิม ลูคัสเรียกภาพยนตร์หกตอนแรกของแฟรนไชส์ว่าเป็น "โศกนาฏกรรมของดาร์ธ เวเดอร์"[26] ลูคัสกล่าวว่า ลำดับที่ถูกต้องในการดูภาพยนตร์คือดูตามหมายเลขตอน[27]

มีการอ้างอิงถึงศาสนาคริสต์จำนวนมาก เช่น การปรากฏตัวของ ดาร์ธ มอล ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้รับการออกแบบจากภาพลักษณ์ของปีศาจในศาสนาคริสต์ ซึ่งทั้งตัวเป็นสีแดงและมีเขาแหลม[28] วัฏจักรของภาพยนตร์ สตาร์ วอร์ส มีการเล่าเรื่องคล้ายกับศาสนาคริสต์ โดย อนาคิน สกายวอร์คเกอร์ คือ "ผู้ที่ถูกเลือก" ผู้ที่อยู่คำทำนายว่าจะนำสมดุลกลับคืนสู่พลัง โดยเขากำเนิดขึ้นมาจากการเกิดบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตาม อนาคินไม่เหมือนกับพระเยซู โดยอนาคินได้เข้าสู่ด้านมืดกลายเป็น ดาร์ธ เวเดอร์ ผู้ชั่วร้าย ซึ่งดูเหมือนการบรรลุชะตากรรมของเขาจะล้มเหลว จนกระทั่งในคำทำนายเป็นจริงใน การกลับมาของเจได มหากาพย์นำวิธีการเล่าเรื่องมาจาก การเดินทางของวีรบุรุษ ซึ่งเป็นแม่แบบที่พัฒนาโดย โจเซฟ แคมป์เบิลล์ นักปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ[28]

รัฐศาสตร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ สตาร์ วอร์ส ตั้งแต่เปิดตัวแฟรนไชส์เมื่อปี ค.ศ. 1977 โดยเน้นไปที่การต่อสู้ระหว่าง ระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ พัลพาทีนเป็นสมุหนายกก่อนที่จะกลายเป็นจักรพรรดิในไตรภาคต้น คล้ายกับบทบาทของฮิตเลอร์ก่อนแต่งตั้งตัวเองเป็น ฟือเรอร์[29] ลูคัสยังได้นำความเป็นผู้เผด็จการจากบุคคลในประวัติศาสตร์มาคู่ขนานกับตัวละครพัลพาทีน เช่น จูเลียส ซีซาร์, นโปเลียน โบนาปาร์ตและอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน[30][31][b] การกวาดล้างเจไดครั้งใหญ่ ที่ปรากฏใน ซิธชำระแค้น สะท้อนเหตุการณ์ของ คืนมีดยาว[34] การคอรัปชันของสาธารณรัฐกาแลกติกนำมาจากการล่มสลายของประชาธิปไตยของสาธารณรัฐโรมัน และการสถาปนาจักรวรรดิโรมัน[35][36]

การฉายและวางจำหน่ายใหม่[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 2011 บ็อกเซตส์ของภาพยนตร์ไตรภาคเดิมและไตรภาคต้นวางจำหน่ายในรูปแบบบลูเรย์ โดยมีการปรับเปลี่ยนหลายอย่าง มีการวางแผนที่จะฉายภาพยนตร์ใหม่ในรูปแบบสามมิติทั้งหกเรื่องในแฟรนไชส์ แต่หลังการฉาย ภัยซ่อนเร้น ในรูปแบบสามมิติเมื่อปี ค.ศ. 2012 ไม่ประสบความสำเร็จในด้านรายได้ ทำให้แผนดังกล่าวถูกยกเลิกและเน้นไปที่การสร้าง ไตรภาคต่อ แทน[37] เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2019 มีการประกาศว่าภาพยนตร์ไตรภาคต้นจะเปิดให้รับชมได้ผ่านบริการสื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง ดิสนีย์+[38]

การตอบรับ[แก้]

สตาร์ วอร์ส ไตรภาคต้น ได้รับการตอบรับที่หลากหลาย โดยเริ่มจากแง่ลบไปแง่บวกในแต่ละเรื่อง คำวิจารณ์ทั่วไปมักพูดถึงภาพยนตร์ว่า มีการใช้ภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และฉากเขียวมากเกินไป, ภาพยนตร์เหมือนละครมากเกินไปและบทพูดที่แข็ง รวมไปถึง ฉากโรแมนติกระหว่างอนาคินกับแพดเม่, ฉากการเมืองที่เชื่องช้าและตัวละครที่เหมือนการ์ตูนของจาร์ จาร์ บิงค์ส[c][40] ในทางตรงกันข้าม บางคนก็โต้แย้งว่าการจัดการปัญหาทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นสู่อำนาจของลัทธิฟาสซิสต์ เป็นองค์ประกอบที่ดีในไตรภาคต้น[41] จอร์จ ลูคัส ตอบโต้คำวิจารณ์ในเชิงลบโดยกล่าวว่า พวกเขาตั้งใจสร้างภาพยนตร์ให้สำหรับเด็กอายุ "12 ปี" เหมือนกับภาพยนตร์ต้นฉบับ ในขณะที่ก็ยอมรับว่าแฟน ๆ ที่ได้ดูภาพยนตร์ต้นฉบับเมื่อตอนเป็นเด็กมีความคาดหวังที่แตกต่างกันไปเมื่อตอนเป็นผู้ใหญ่[42] ไตรภาคต้นได้รับการสังเกตว่ายังมีองค์ประกอบที่รักษาไว้ให้กับแฟน ๆ รุ่นเก่า แม้ว่าเป้าหมายหลักคือ คนยุคมิลเลนเนียล ซึ่งเป็นเด็กที่เกิดในช่วงที่ภาพยนตร์ฉาย[43]

หลายคนแสดงความผิดหวังกับการแสดงของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์ในไตรภาคต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทที่ดูอ่อนแอและบทพูดที่ดูแข็ง ถึงแม้ว่าการแสดงของ เฮย์เดน คริสเตนเซน ในภาพยนตร์เรื่องที่สามจะได้รับการตอบรับที่ดีกว่า[44] ในทางตรงกันข้าม การแสดงเป็น โอบีวัน เคโนบี ของ ยวน แม็คเกรเกอร์ ได้ความคำชมโดยทั่วไปว่าเป็นการเดินตามรอยเท้าของ เซอร์ อเล็ก กินเนสส์[45] นาตาลี พอร์ตแมน แสดงความผิดหวังของเธอต่อการตอบรับที่ไม่ดีของไตรภาคต้น กล่าวว่า "เมื่อบางอย่างมีความคาดหวังมาก มันก็มีแต่จะทำให้ผิดหวังเท่านั้น เธอยังยอมรับว่า "ด้วยมุมมองของเวลา, มันถูกประเมินใหม่โดยผู้คนจำนวนมากที่ในตอนนี้รักภาพยนตร์จริง ๆ"[46]

ไตรภาคต้นได้รับบางคำวิจารณ์ที่เกี่ยวกับการออกแบบที่ไม่ตรงกับในไตรภาคเดิม ขณะที่ภาพยนตร์ในไตรภาคเดิมมีเทคโนโลยีที่เก่าและหยาบ ไตรภาคต้นมีการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมที่สวยงามและทันสมัย[47] บางคนวิจารณ์ว่า การเลือกการออกแบบนี้เพราะช่วงเวลาก่อนหน้านี้ดูเหมือนจะแสดงถึงอารยธรรมที่ก้าวหน้ากว่า ถึงแม้ว่าใน ซิธชำระแค้น จะมีการออกแบบที่เข้าใกล้ไตรภาคเดิมมากขึ้น[48]

การตอบรับจากนักวิจารณ์[แก้]

ภาพยนตร์ รอตเทนโทเมโทส์ เมทาคริติก ซีนะมาสกอร์
ภัยซ่อนเร้น 53% (6/10 เรตติงเฉลี่ย) (223 บทวิจารณ์)[49] 51 (36 บทวิจารณ์)[50] A−[51]
กองทัพโคลนส์จู่โจม 66% (6.62/10 เรตติงเฉลี่ย) (250 บทวิจารณ์)[52] 54 (39 บทวิจารณ์)[53] A−[51]
ซิธชำระแค้น 80% (7.29/10 เรตติงเฉลี่ย) (296 บทวิจารณ์)[54] 68 (40 บทวิจารณ์)[55] A−[51]

รางวัลออสการ์[แก้]

รางวัลออสการ์ ภาพยนตร์
ภัยซ่อนเร้น กองทัพโคลนส์จู่โจม ซิธชำระแค้น
รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 72 รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 75 รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 78
แต่งหน้ายอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง
เทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม เสนอชื่อเข้าชิง เสนอชื่อเข้าชิง

การทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ[แก้]

ภาพยนตร์ วันฉาย ทุนสร้าง ทำเงินในบ๊อกซ์ออฟฟิศ อันดับสูงสุด อ้างอิง
อเมริกาเหนือ ปรับเงินตามอัตราเงินเฟ้อ
(อเมริกาเหนือ)[n 1]
ภูมิภาคอื่น ทั่วโลก อเมริกาเหนือ ทั่วโลก
ภัยซ่อนเร้น 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 $115 ล้าน $474,544,677 $815,518,000 $552,500,000 $1,027,044,677 #15 #35 [57][58]
กองทัพโคลนส์จู่โจม 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 $115 ล้าน $310,676,740 $482,820,000 $338,721,588 $649,398,328 #73 #130 [59][60]
ซิธชำระแค้น 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2005 $113 ล้าน $380,270,577 $535,701,000 $469,765,058 $850,035,635 #39 #71 [61][62]
ทั้งหมด $343 ล้าน $1,165,491,994 1,834,039,000 $1,360,986,646 $2,526,478,640
  1. การปรับอัตราเงินเฟ้อมีความซับซ้อนเนื่องจากด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าภาพยนตร์สี่เรื่องแรกมีการฉายหลายรอบในแต่ละปีที่แตกต่างกัน ดังนั้นรายได้ของพวกเขาไม่สามารถปรับได้ง่าย ๆ ตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว จำนวนเงินที่ปรับอัตราเงินเฟ้อในปี ค.ศ. 2005 พบในหนังสือ Block, Alex Ben; Wilson, Lucy Autrey, บ.ก. (2010). George Lucas's Blockbusting: A Decade-By-Decade Survey of Timeless Movies Including Untold Secrets of Their Financial and Cultural Success. HarperCollins. p. 519. ISBN 978-0061778896. ทำการปรับค่าเงินดอลลาร์ให้สอดคล้องกับ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐซึ่งจัดทำโดยธนาคารกลางแห่งมินนิอาโปลิส โดยใช้จำนวนเงินของปี ค.ศ. 2005 เป็นฐาน[56]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

  1. สิทธิ์การจัดจำหน่ายแผ่นภาพยนตร์จะถูกโอนให้กับดีสนีย์ในปี ค.ศ. 2020 ตามข้อตกลงเมื่อปี ค.ศ. 2012 แต่ในที่สุด สิทธิ์ดังกล่าวก็ถูกโอนให้กับดีสนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2019 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการของฟอกซ์
  2. ในร่างแรกของเขา ลูคัสใช้เรื่องราวของผู้เผด็จการที่อยู่ในอำนาจด้วยการสนับสนุนจากกองทัพ ในความคิดเห็นของเขา (กล่าวไว้ยุคไตรภาคต้น) ลูคัสกล่าวถึงความตั้งใจของนิกสันที่จะต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22[32] แต่ประธานาธิบดีถูกฟ้องร้องและไม่ได้ดำรงตำแหน่งในสมัยที่สาม เพื่อนของเขา โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน พยายามต่อสู้เพื่อยกเลิกการแก้ไขนี้ หลังเขา ออก จากตำแหน่ง[33]
  3. แม้แต่แฟน ๆ ก็ไม่ชอบตัวละครดังกล่าว จนทำให้นักแสดง อาเหม็ด เบสต์ เกือบตัดสินใจฆ่าตัวตาย[39]

อ้างอิง

  1. "Gary Kurtz Reveals Original Plans for Episodes 1-9". TheForce.net. May 26, 1999. สืบค้นเมื่อ September 22, 2018.
  2. Lucas, George (1980). "Interview: George Lucas" (PDF). Bantha Tracks (8).
  3. Kaminski 2008, p. 494.
  4. Kaminski 2008, p. 303.
  5. Kaminski 2008, p. 311.
  6. Kaminski 2008, p. 312.
  7. Kaminski 2008, p. 315.
  8. Kaminski 2008, pp. 338–39.
  9. "Richard Marquand interview: Return Of The Jedi, Star Wars". Den of Geek. June 25, 2013. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
  10. "Episode III Release Dates Announced". StarWars.com. April 5, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2008. สืบค้นเมื่อ March 27, 2008.
  11. 11.0 11.1 Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith (DVD). 20th Century Fox. 2005.
  12. Star Wars: Episode I – The Phantom Menace (DVD). 20th Century Fox. 2001.
  13. Kaminski 2008, pp. 299–300.
  14. "Star Wars Insider". Star Wars Insider (45): 19.
  15. Star Wars: Episode II – Attack of the Clones (DVD). 20th Century Fox. 2002.
  16. Kaminski 2008, p. 371.
  17. Kaminski 2008, p. 374.
  18. Bouzereau 1997, p. 196.
  19. Kaminski 2008, p. 158.
  20. Kaminski 2008, p. 162.
  21. Rinzler 2005, pp. 13–15.
  22. Rinzler 2005, p. 42.
  23. Rinzler 2005, p. 36.
  24. Kaminski 2008, pp. 380–84.
  25. Star Wars: Episode III Revenge of the Sith documentary "Within a Minute" (DVD documentary). 2005.
  26. Wakeman, Gregory (December 4, 2014). "George Lucas Was Terrible At Predicting The Future Of Star Wars". CinemaBlend. สืบค้นเมื่อ February 28, 2019.
  27. Vargas, Alani (March 16, 2020). "So You Want to Have a 'Star Wars' Marathon? George Lucas Has the Correct Order to Do That In". Showbiz Cheat Sheet. สืบค้นเมื่อ March 19, 2020.
  28. 28.0 28.1 Moyers, Bill (April 26, 1999). "Of Myth And Men". Time. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ April 20, 2009.
  29. Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 144. ISBN 9781118285251. สืบค้นเมื่อ August 30, 2013.
  30. "Star Wars: Attack of the Clones". Time. April 21, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2002. สืบค้นเมื่อ December 13, 2009. The people give their democracy to a dictator, whether it's Julius Caesar or Napoleon or Adolf Hitler. Ultimately, the general population goes along with the idea ... That's the issue I've been exploring: how did the Republic turn into the Empire?
  31. Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 32. ISBN 9781118285251.
  32. Kaminski 2008, p. 95.
  33. Molotsky, Irvin (November 29, 1987). "Reagan Wants End of Two-Term Limit". The New York Times. New York City: New York Times Company.
  34. Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. p. 341. ISBN 9781118285251.
  35. Reagin, Nancy R.; Liedl, Janice (October 15, 2012). Star Wars and History. pp. 130–33. ISBN 9781118285251.
  36. ""Star Wars" offers perspective into ancient history". University of Tennessee at Chattanooga. November 5, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 23, 2015. สืบค้นเมื่อ November 12, 2018.
  37. Nast, Condé (February 10, 2017). "The 'Star Wars' We'll Never See". GQ. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019.
  38. Whitbrook, James (April 11, 2019). "The Mandalorian Will Premiere on Disney+ November 12". io9. สืบค้นเมื่อ April 11, 2019.
  39. Newbold, Mark (January 5, 2019). "Ahmed Best: That Moment I Opened Up About Suicide". Fantha Tracks. สืบค้นเมื่อ June 1, 2019.
  40. Keith, Tamara (December 15, 2015). "Why The Politics Of The 'Star Wars' Universe Makes No Sense". NPR. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
  41. Placido, Dani Di (December 15, 2016). "Looking Back At The 'Star Wars' Prequel Trilogy". Forbes. สืบค้นเมื่อ May 31, 2019.
  42. Mancuso, Vinnie (April 13, 2017). "George Lucas: 'Star Wars' Is a 'Film for 12-Year-Olds'". Observer. สืบค้นเมื่อ May 31, 2019.
  43. Leadbeater, Alex (June 8, 2017). "When Did The Star Wars Prequels Become Cool?". ScreenRant. สืบค้นเมื่อ June 1, 2019.
  44. Dixon, Chris (January 14, 2017). "Reevaluating the Star Wars Prequel Trilogy". Medium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-11. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
  45. Mangione, Nick (May 4, 2017). "Defending the Star Wars Prequels: Were They Really That Bad?". Geek.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-22. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
  46. Travis, Ben (May 3, 2019). "Natalie Portman: Star Wars Prequels Backlash Was 'A Bummer'". Empire. สืบค้นเมื่อ August 10, 2019.
  47. Lawler, Kelly (December 11, 2017). "Why I love the 'Star Wars' prequels (and you should too)". King. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-10. สืบค้นเมื่อ August 9, 2019.
  48. Asher-Perrin, Emmet (January 16, 2013). "Watching the Star Wars Prequels on Mute: An Experiment". TOR. สืบค้นเมื่อ August 9, 2019.
  49. "Star Wars Episode I: The Phantom Menace". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
  50. "Star Wars: Episode I – The Phantom Menace : Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  51. 51.0 51.1 51.2 "CinemaScore". cinemascore.com. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  52. "Star Wars Episode II: Attack of the Clones". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
  53. "Star Wars: Episode II – Attack of the Clones: Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  54. "Star Wars Episode III: Revenge of the Sith". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ November 18, 2019.
  55. "Star Wars: Episode III – Revenge of the Sith: Reviews". Metacritic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ December 16, 2015.
  56. 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ January 1, 2020.
  57. "Star Wars: Episode I - The Phantom Menace (1999) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  58. "Star Wars Episode I: The Phantom Menace (1999)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ April 29, 2017.
  59. "Star Wars: Episode II - Attack of the Clones (2002) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  60. "Star Wars Episode II: Attack of the Clones (2002)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ February 24, 2018.
  61. "Star Wars: Episode III - Revenge of the Sith (2005) - Box Office Mojo". www.boxofficemojo.com.
  62. "Star Wars: Episode III: Revenge of the Sith (2005)". Box Office Mojo. สืบค้นเมื่อ January 21, 2018.

บรรณานุกรม[แก้]