สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง
ส่วนหนึ่งของ สงครามพิวนิก

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตกในปี 264 ก่อนคริสตกาล
โรม (แดง), คาร์เธจ (ม่วง), ซีรากูซา (เขียว)
วันที่264–241 ปีก่อนคริสตกาล (23 ปี)
สถานที่
ผล โรมชนะ
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
โรมผนวกซิซิลี (ยกเว้นอาณาจักรซีรากูซา)
คู่สงคราม
สาธารณรัฐโรมัน คาร์เธจ
ซีรากูซา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
มาร์คัส แอทิลิอุส เรกูลุส (เชลย)
กาอิอุส ลูทาชิอุส คาทูลุส
กาอิอุส ดูอิลิอุส
แฮมิลการ์ บาร์กา
แฮนโนผู้ยิ่งใหญ่
แฮสดรูบัลผู้รูปงาม
แซนทิปปุส
กำลัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
เรือควินเควอรีม 700 ลำ
ตาย 400,000 คน (รวมพลเมืองโรมัน 50,000 คน)
เรือควินเควอรีม 500 ลำ

สงครามพิวนิกครั้งที่หนึ่ง เกิดขึ้นระหว่าง 264–241 ปีก่อนคริสตกาล สงครามครั้งนี้เป็นสงครามครั้งแรกจากทั้งหมดสามครั้งของสงครามพิวนิก ซึ่งเป็นการสู้รบเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่เหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ระหว่างสาธารณรัฐโรมันกับคาร์เธจโบราณ[1]

สงครามเริ่มขึ้นในปี 264 ก่อนคริสตกาล เมื่อโรมและคาร์เธจเข้าแทรกแซงความขัดแย้งระหว่างเมืองเมสซีนาและซีรากูซาบนเกาะซิซิลี[2] ในปี 262 ก่อนคริสตกาล โรมเอาชนะคาร์เธจในยุทธการที่อากรีเจนตัม ทำให้โรมยึดเกาะซิซิลีไว้ได้เกือบทั้งหมด คาร์เธจจึงหันมารบทางทะเลที่พวกตนชำนาญ ด้านโรมซึ่งในขณะนั้นไม่มีกองเรือสร้างเรือเลียนแบบของคาร์เธจและคิดค้น คอร์วัส อุปกรณ์สำหรับขึ้นเรือฝ่ายตรงข้ามเพื่อรบบนเรือแทนการใช้เรือพุ่งชนตามปกติ วิธีนี้ทำให้โรมชนะในยุทธนาวีไมไล[3] ต่อมาฝ่ายโรมพยายามรุกเข้าสู่แอฟริกาเหนือ แต่พ่ายแพ้ในยุทธการที่บากราดาสและแม่ทัพมาร์คัส แอทิลิอุส เรกูลุสถูกจับตัว ทั้งสองฝ่ายผลัดกันแพ้ชนะจนในปี 241 ก่อนคริสตกาล โรมเอาชนะคาร์เธจในการรบทางเรือใกล้หมู่เกาะอีกาเดียน นอกชายฝั่งซิซิลี แฮมิลการ์ บาร์กา แม่ทัพชาวคาร์เธจซึ่งไม่มีกองเรือสนับสนุนถูกบังคับให้ยอมจำนน ทั้งสองฝ่ายลงนามในสนธิสัญญาลูทาชิอุส โดยคาร์เธจต้องถอนกำลังออกจากซิซิลีและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามให้โรม[4]

ความพ่ายแพ้ทำให้คาร์เธจประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและทหารรับจ้างคาร์เธจลุกฮือขึ้นก่อสงครามเพราะไม่ได้รับค่าจ้าง ด้านโรมฉวยโอกาสนี้ผนวกคอร์ซิกาและซาร์ดิเนีย ในปี 237 ก่อนคริสตกาล แฮมิลการ์เริ่มขยายอิทธิพลไปในคาบสมุทรไอบีเรียเพื่อสร้างฐานอำนาจใหม่ให้คาร์เธจ อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามพิวนิกครั้งที่สองในอีกยี่สิบปีต่อมา[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Punic Wars". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ July 30, 2018.
  2. N.S. Gill (March 8, 2017). "Overview of Events of the First Punic War". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ July 30, 2018.
  3. Addington 1990, p. 29.
  4. Lazenby, J. F. First Punic War: A Military History. Stanford University Press, 1996.
  5. Astin; และคณะ (1989). The Cambridge Ancient History. Cambridge University Press. p. 42-43. ISBN 9780521234481.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]