ศุภรัตน์ นาคบุญนำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุภรัตน์ นาคบุญนำ ผู้ประกาศข่าวและพิธีกรข่าวอิสระ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้ประกาศข่าว สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในอดีต สุทิวัส มิวสิค ขอนแก่น เพลงประกอบภาพยนตร์ ยิงหัว เดอะมูฟวี่ อัลบั้ม ชุดที่ 1 บ่ตายแน่น้องพายุร้องไห้ มีผลงานเพลง บ่ตายแน่น้องพายุร้องไห้ คุณจอยถิ่มอ้าย ไปถอนคำสาบาน ฟ้ามืดบ่ดน

ประวัติ[แก้]

ศุภรัตน์ นาคบุญนำ เกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 อายุ 55 ปี

ประวัติการศึกษา[แก้]

ประวัติการทำงาน[แก้]

ศุภรัตน์เริ่มเป็นผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าววิทยุ “ข่าวด่วน พล.1” ทางสถานีวิทยุกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ บริษัท สหศีนิมา จำกัด ในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อเป็นผู้สื่อข่าวและผู้ประกาศข่าว ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และยังเป็นผู้ดำเนินรายการวิทยุหลายรายการ อาทิ รายการร่วมด้วยช่วยกัน และพิธีกรรายการโทรทัศน์หลายรายการ อาทิ รายการพบผู้แทน ต่อมาผู้ประกาศข่าว และพิธีกรข่าวอิสระ ทางสถานีโทรทัศน์หลายช่อง เช่นรายการเขย่าโต๊ะข่าว เวลา 06.00-07.00 น. กับ อัญชลีพร กุสุมภ์(เคยร่วมงานกันสมัยข่าวช่อง 7 ยุคแรกๆ) เป็นรายการที่จับผู้ประกาศข่าวที่มีแนวความคิดต่างกัน มาร่วมงานกัน และต่อมาถูกโยกไปรายการ โต๊ะข่าวชาวบ้าน เวลา 07.00-08.00 น. ร่วมกับผู้ประกาศข่าวหน้าใหม่ของช่อง ขณะเดียวกันได้ดำเนินรายการ ข่าวค่ำ ช่อง20 ไบรต์ทีวี เวลา 18.20 น.เป็นต้นไป ร่วมกับผู้ปนะกาศข่าวหน้าใหม่ของช่อง ทางช่องไบรต์ทีวี และข่าวเที่ยง ทางช่องไทยทีวี เป็นต้น

การทำงานการเมือง[แก้]

ใน พ.ศ. 2550 ศุภรัตน์ตัดสินใจลงเล่นการเมือง โดยการเข้าสังกัดพรรคพลังประชาชน ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขต 8 กรุงเทพมหานคร (สวนหลวง, ประเวศ, บางนา และ พระโขนง) แต่ไม่ได้รับเลือก อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคพลังประชาชนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง โดยได้รับเสียงข้างมากถึง 233 จาก 480 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ทำให้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยนายสมัคร ได้แต่งตั้งให้นางสาวศุภรัตน์ดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

แต่ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน รวมทั้งตัดสิทธิ์ทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรค 5 ปี ทำให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องพ้นสภาพการเป็นนายกรัฐมนตรีไปโดยปริยาย และประกอบกับการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของกลุ่มเพื่อนเนวินที่ย้ายไปสนับสนุนให้พรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาล ทำให้พรรคเพื่อไทยกลายเป็นฝ่ายค้าน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]