ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก
The Next Iron Chef
ประเภทเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหาร
ผู้กำกับศิลป์กฤตพร แย้มสุข
เสนอโดยนภัสกร มิตรธีรโรจน์
ไดอาน่า จงจินตนาการ
บรรยายโดยณัฐพงษ์ สมรรคเสวี
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย ไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนฤดูกาล2
จำนวนตอน24
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญโรจน์
ผู้อำนวยการสร้างนครินทร์ เศรษฐิศักดิ์โก
สถานที่ถ่ายทำมงคลสตูดิโอ (ฤดูกาลที่ 1 - 2)
ผู้ลำดับภาพกิติศักดิ์ ศิลปะ
กล้องหลายกล้อง
ความยาวตอน1 ชั่วโมง 30 นาที (ฤดูกาลที่ 1)
1 ชั่วโมง 45 นาที (ฤดูกาลที่ 2)
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
ยุทธการกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
เชฟกระทะเหล็ก ศึกวันล้างตา
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย โรงเรียนกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเด็ก เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
สุดยอดเซเลบริตี้เชฟ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย

ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (อังกฤษ: The Next Iron Chef Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันการทำอาหารเต็มรูปแบบที่ต่อยอดความสำเร็จจากรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) โดยเชฟมืออาชีพที่เป็นผู้ชนะในแต่ละฤดูกาลจะได้ลงนามในสัญญาปฏิบัติหน้าที่เชฟกระทะเหล็กคนใหม่ในรายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด เริ่มออกอากาศทางช่อง 7HD ครั้งแรกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562[1]

รูปแบบรายการ[แก้]

ในแต่ละตอนจะมีการแข่งขันทั้งหมด 2 โจทย์ ดังนี้

โจทย์วัตถุดิบปริศนา (Secret Ingredient)[แก้]

เชฟจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบปริศนาที่ทางรายการกำหนดให้ โดยก่อนเริ่มการแข่งขัน หรือระหว่างการแข่งขัน ผู้ชนะในโจทย์ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา (Bidding Battle) ของตอนก่อนหน้า จะได้รับสิทธิพิเศษ หรือไม่ก็สามารถเลือกเชฟ 3 คน ที่จะต้องทำอาหารภายใต้กติกาพิเศษหรือใช้วัตถุดิบปริศนามาทำเพิ่ม หลังจากทำอาหารเสร็จสิ้น คณะกรรมการจะใช้เกณฑ์การตัดสินเรื่องความอร่อย ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก เพื่อคัดเลือกอาหารจำนวน 2 จานที่แย่ที่สุด ซึ่งจะต้องไปแข่งขันต่อในโจทย์ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา (Bidding Battle) และเลือกจานที่ดีที่สุดอีก 1 จาน โดยเชฟที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้สิทธิพิเศษในการเลือกเชฟอีก 2 คนเพื่อไปแข่งกับเชฟที่ทำอาหารได้แย่ที่สุด 2 คนดังกล่าว ในรอบความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา[2]

โจทย์ความคิดสร้างสรรค์และการจัดการเวลา (Bidding Battle)[แก้]

เชฟที่ทำอาหารในโจทย์วัตถุดิบปริศนาได้แย่ที่สุด 2 คน และเชฟอีก 2 คนที่ถูกผู้ชนะจากโจทย์วัตถุดิบปริศนาเลือกให้มาแข่งขันต่อ จะต้องประมูลสิ่งของในการทำอาหาร โดยแลกกับเวลาในการทำอาหารซึ่งมีเวลามากที่สุดที่ 75 นาที โดยจะประมูลครั้งละ 1 อย่าง เชฟที่ประมูลโดยใช้เวลาที่ต้องการใช้ทำอาหารน้อยที่สุดจะได้สิ่งของที่ประมูลได้ ส่วนเชฟที่แพ้การประมูลจะต้องทำอาหารในโจทย์กล่องสุดท้าย ตามเวลาที่ทางรายการกำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 30 นาที หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลแล้ว เชฟทั้ง 4 คนจะต้องทำอาหารตามกติกาที่กำหนดให้ภายในเวลาที่ใช้จากการประมูลจำนวน 2 จาน เชฟที่ประมูลได้เวลาในการทำอาหารมากกว่าจะได้เริ่มทำอาหารก่อนเชฟที่ประมูลได้เวลาในการทำอาหารน้อยกว่า และเชฟที่ทำอาหารได้ดีที่สุดในรอบนี้จะเป็นผู้ชนะและได้รับสิทธิพิเศษในโจทย์วัตถุดิบปริศนาของตอนถัดไป ส่วนเชฟที่ทำอาหารผิดพลาดที่สุดจะต้องออกจากการแข่งขัน

กรรมการ[แก้]

กรรมการหลัก[แก้]

กรรมการ ฤดูกาลที่
1 2
สมศักดิ์ รารองคำ
หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์
มนตรี วิโรจน์เวชภัณฑ์
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์

กรรมการรับเชิญ[แก้]

กรรมการ ฤดูกาลที่มา ตอนที่มา
ลลนา พานิช 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 1, 8, 9, 12
ธนินธร จันทรวรรณ 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 1
หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 6
อนันต์โรจน์ ทังสุพานิช 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 8, 12
เนตรอำไพ สาระโกเศศ 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 8, 12
Martin Blunos 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 8
เกริกพล มัสยวาณิช 1 ฤดูกาลที่ 1 -> 12

ฤดูกาล[แก้]

ฤดูกาล ออกอากาศครั้งแรก ออกอากาศรอบชิงชนะเลิศ ผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขัน (เรียงตามลำดับคนออก) จำนวนผู้แข่งขัน จำนวนตอน
1 23 มิถุนายน พ.ศ. 2562 15 กันยายน พ.ศ. 2562 ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร [*] ชาโนชญ์ มาตะพาบ, ภัทรวรินทร์ ทิมกุล (ถอนตัว), ธฤต ตั้งทรงศิริศักดิ์, ภาวิตา แซ่เจ้า, บรรณ บริบูรณ์, นรี บุณยเกียรติ, สุพัตรา สารสิทธิ์, วายุภักษุ์ ม่วงจร, ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช, สหรัฐ แตงไทย, ธนภัทร สุยาว, Anthony C.S. Bish, สราวุธ เนียรวิฑูรย์ 15 12
2 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563 25 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ กันต์ยรัตน์ เพียรพอดีตน, ราชวัติ วิเชียรรัตน์ สมิตา ธนะโสภณ, ขวัญชนก ศรีธาวัชร (ถอนตัว), สุทธิเกียรติ คงคติธรรม, ภูวเดช เตชจิรัฐกาล, ธีรกัญญา ตั้งสุวรรณรังษี, พงษ์ธร หินราชา, ปิยะชาติ พุทธวงษ์, โชติพัฒน์ ใหลสุวรรณ์, โมน ธีระธาดา, จารึก ศรีอรุณ, ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร, Teo Zheng 'Enoch' Yi
หมายเหตุ

^ ผู้ที่ไม่ใช่ผู้ชนะที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเชฟกระทะเหล็ก


ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แนวหน้า (13 มิถุนายน 2562). "'THE NEXT IRON CHEF ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็กคนใหม่' 'หนุ่ม กิติกร'การันตีอลังการลุ้นตื่นเต้นเทียบ'มาสเตอร์เชฟฯ'". www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. แนวหน้า (22 มิถุนายน 2562). "เปิดฉาก'THE NEXT IRON CHEF ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก'". www.naewna.com. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]