ศักดา คงเพชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศักดา คงเพชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
18 มกราคม – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุรพงศ์ อึ้งอัมพรวิไล
ถัดไปเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 มีนาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย
คู่สมรสจิตรา คงเพชร

ศักดา คงเพชร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สังกัดพรรคเพื่อไทย แกนนำกลุ่มอีสานพัฒนา[1]

ประวัติ[แก้]

ศักดา คงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2504[2] เป็นบุตรของนายประวิทย์ กับนางบัวเรียน คงเพชร จบการศึกษาชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนโยธินบูรณะ และปริญญาตรีทางด้านศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

ศักดา คงเพชร สมรรสกับนางจิตรา คงเพชร (สกุลเดิม อินทร์โสม) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด[3]

การทำงาน[แก้]

การเมือง[แก้]

ศักดา คงเพชร เริ่มเข้าสู่งานการเมืองในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคชาติไทย ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 จึงย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมา ในนามของพรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทย[4]

ศักดา คงเพชร เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอกธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2)[5] แต่จากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนไม่รู้จัก เป็นลำดับที่ 8[6] จนกระทั่งในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เขาถูกปรับออกจากตำแหน่งดังกล่าว

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ศักดา คงเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคชาติไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคความหวังใหม่
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคไทยรักไทย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)พรรคเพื่อไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคเพื่อไทย


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[แก้]

ศักดา คงเพชร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยผลงานที่สำคัญคือ การจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเกษตร จำนวน 4 แห่ง เพื่อขยายโอกาสให้วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สามารถเปิดสอนในระดับปริญญาตรีได้[7] รวมทั้งการสานต่อการสืบสวนกรณีการทุจริตจัดซื้อครุภัณฑ์อาชีวศึกษา ในช่วงรัฐบาลที่ผ่านมา ซึ่งมีนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ เป็นรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. เปิดประวัติรมต.ใหม่ ครม. "ยิ่งลักษณ์ 2" เก็บถาวร 2014-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  3. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายศักดา คงเพชร[ลิงก์เสีย]
  4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ได้รับเลือกตั้งทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด ระหว่างปี 2476 - ปัจจุบัน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดร้อยเอ็ด
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 2)
  6. "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  7. ตามติดผลงาน... รมต. 'ศักดา คงเพชร' กับภารกิจขับเคลื่อน 'อาชีวศึกษา'
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]