วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอคำแปลศัพท์ที่ใช้ในวิกิมีเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

สวัสดีครับ เนื่องจากศัพท์บางคำที่ใช้ในโครงการต่าง ๆ ของวิกิมีเดียยังใช้ไม่ตรงกันบ้าง หรือผมมีความเห็นว่าควรเปลี่ยนแปลงคำแปลจากเดิม จึงขอเสนอคำแปลใหม่หรือเปลี่ยนคำแปลเดิมดังนี้ครับ

คำที่เสนอ[แก้]

  คำที่มีการคัดค้าน
  คำที่เคยนำเสนอแต่ถูกเลิก
ต้นฉบับ คำแปลเดิม คำแปลที่เสนอ เหตุผล/ความเห็น
หมวดผู้ใช้ อภิปรายส่วนนี้
active user (ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว) 1. ผู้ใช้ที่ยังมีกิจกรรม
2. ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว
3. ผู้ใช้ที่ยังมีการใช้งาน

ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว
ผู้ใช้ที่ยังใช้งาน
สั้นกว่า
autoconfirmed ผู้ใช้พื้นฐาน?, ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ 1. ผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติ
2. ผู้ใช้ที่ได้รับการยืนยันอัตโนมัติ
ใช้ให้ตรงกับรูปต้นฉบับ
bureaucrat ผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง ผู้ดูแลระบบสิทธิ์แต่งตั้ง ระบุให้ชัดเจนขึ้น
Oversight ผู้ควบคุมประวัติ ล้อศัพท์บัญญัติ "ควบคุมดูแล" + ใส่คำว่า "ประวัติ" ให้รู้ว่าควบคุมดูแลอะไร
steward ผู้ดูแลโครงการ ผู้จัดการโครงการ ล้อความหมายตามพจนานุกรม "a person who manages another's property or financial affairs", เลี่ยงไปใช้คำอื่นนอกจาก "ผู้ดูแล" ที่ตอนนี้มีใช้สองความหมายแล้ว คือ ผู้ดูแลระบบกับผู้ดูแลสิทธิ์แต่งตั้ง
หมวดนโยบาย/กฎหมาย อภิปรายส่วนนี้
disclaimer ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ 1. การบอกเลิกข้อเรียกร้อง
2. การไม่ยอมรับสิทธิ
ศัพท์บัญญัติ, คำนี้เป็นศัพท์เทคนิคกฎหมาย ควรใช้ศัพท์เฉพาะวงการ
vandalism การก่อกวน 1. การทำลาย, การบ่อนทำลาย
2. การก่อกวน (คำเดิม)
เปิดช่องให้ harassment = ก่อกวน (ศัพท์บัญญัติ) แทน, อาจมีปัญหาในกรณีเรียก "ผู้ใช้ก่อกวน" ซึ่งคุ้นชินมานาน
harassment - 1. การก่อกวน
2. การรังควาน
3. การคุกคาม
ศัพท์บัญญัติ
privacy (policy) นโยบายความเป็นส่วนตัว นโยบายภาวะเฉพาะส่วนตัว
นโยบายภาวะส่วนตัว
ศัพท์บัญญัติ, เป็นศัพท์เทคนิค ควรใช้ศัพท์ที่ใช้เฉพาะ
help desk เลขาชาววิกิพีเดีย แผนกช่วยเหลือ ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า ("เลขา" นึกถึงบุคคล; เคยมีผู้ใช้คนหนึ่งเขียนในหน้านั้นว่า "เรียน เลขา ...")
notability เงื่อนไขในการนับว่าเป็นสารานุกรม, ความโดดเด่น ความสำคัญ ความโดดเด่น ความหมายตามพจนานุกรม สำคัญ = โดดเด่น สั้นกว่า เข้าใจง่าย
village pump
กับ
community portal
ศาลาชุมชน
ศาลาประชาคม
สภากาแฟ (ชื่อแรกสุด) ขณะนี้สองหน้ามีชื่อคล้ายกันคือมีคำว่า "ศาลา" อยู่ในชื่อ ในการอภิปรายเปลี่ยนชื่อเมื่อปี 2553 ก็เคยมีคุยกันแล้วว่าน่าจะเปลี่ยนชื่อ "ศาลาประชาคม" แต่ก็ไม่มีความเคลื่อนไหวเพิ่มเติม

การเสนอครั้งนี้จึงให้ชุมชนเลือกว่าจะเปลี่ยนชื่อหน้าใด ความคิดส่วนตัวผมเสนอให้เปลี่ยน "ศาลาชุมชน" กลับเป็น "สภากาแฟ" เหมือนเดิมเพราะทีแรกที่ผมเสนอให้เปลี่ยนตอนนั้นเพราะมีไอพีมาสร้างหน้าสภากาแฟโดยเข้าใจว่าให้เป็นที่อภิปรายสัพเพเหระ แต่ปัจจุบันไม่มีปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ค้านที่จะกลับไปใช้ชื่อเดิม

fair use การใช้งานโดยชอบธรรม การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ ได้ความหมาย ("ใช้ลิขสิทธิ์")
หมวดเฉพาะทางคอมพิวเตอร์ อภิปรายส่วนนี้
message ข้อความ สาร ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ text
information ข้อมูล? 1. สารสนเทศ
2. สารนิเทศ
ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ data
how-to - สอนวิธี, บอกวิธี ล้อจากคำแปล "step-by-step instructions for accomplishing a certain task"
code โค้ด รหัส ศัพท์บัญญัติ
tag ป้ายกำกับ ป้ายระบุ ศัพท์บัญญัติ
หมวดวิกิพีเดีย อภิปรายส่วนนี้
contribution การเขียน, เรื่องที่เขียน? 1. การเข้ามีส่วนร่วม
2. การมีส่วนร่วม
3. การอุดหนุน
ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า "เรื่องที่ผู้ใช้รายนี้เขียน" ฯลฯ เนื่องจากรวมปฏิบัติการต่าง ๆ ด้วย, คำว่า "อุดหนุน" หมายถึง ช่วยเหลือสนับสนุน
undo ย้อน? ทำกลับ ศัพท์บัญญัติ, แยกกับ revert
merge รวม ผสาน ศัพท์บัญญัติ
move เปลี่ยนชื่อ?, ย้าย? ย้าย การ "ย้าย" หน้าไม่เพียงเปลี่ยนชื่อเท่านั้น แต่ยังมีการสร้างหน้าเปลี่ยนทางตามมา หรือย้ายประวัติจากชื่อเก่าไปชื่อใหม่ด้วย
protect ล็อก ป้องกัน ความหมายตรงกว่า, ไม่เข้ากับบางรูปประโยค เช่น "ล็อกมิให้ผู้ใช้แก้ไขบทความ" เป็นต้น
help (เนมสเปซ) วิธีใช้ คำอธิบาย ศัพท์บัญญัติ, ความหมายตรงกว่า ชื่อบางหน้าไม่เข้ากับ "วิธีใช้" เช่น "วิธีใช้:การแก้ไข" หรือ "วิธีใช้:การอัปโหลดภาพ" เป็นต้น
difference, diff (การเปรียบเทียบรุ่น) ความแตกต่าง ผลต่าง ศัพท์บัญญัติ, สั้นกว่า
recent changes ปรับปรุงล่าสุด เปลี่ยนแปลงล่าสุด "เปลี่ยนแปลง" ไม่เท่ากับ "ปรับปรุง"
revision รุ่นปรับปรุง รุ่นแก้ไข เหมือนกับข้างต้น
edit summary คำอธิบายอย่างย่อ 1. ความย่อ
2. ข้อสรุป (การแก้ไข)
ศัพท์บัญญัติ, กระชับกว่า
rollback ย้อนกลับฉุกเฉิน ย้อนรวดเดียว ตรงความหมายกว่า เพราะคำว่า "ฉุกเฉิน" จะทำให้คิดไปว่าต้องรีบย้อนหรือ
transclusion การรวมข้าม ตามความหมาย "inclusion of part or all of an electronic document into one or more other documents by hypertext reference" + "ข้ามหน้า" จะได้ความหมายว่า รวมเนื้อหาจากหน้าหนึ่งข้ามมาอีกหน้าหนึ่ง
consensus ฉันทามติ ความเห็นพ้อง ได้ความหมาย (แต่ไม่มีคำนี้ในพจนานุกรม?) มีศัพท์บัญญัติว่า "การเห็นพ้องต้องกันของคู่กรณี" (consensus at idem; consensus in idem)
หมวดจิปาถะ อภิปรายส่วนนี้
list รายพระนาม, รายนาม, รายชื่อ รายการ (ยกเว้นรายชื่อใช้กับบุคคล) เป็นคำกลาง ใช้ได้กับนามใด ๆ
credit - ความชอบ
ข้อความแจ้งแหล่งที่มา, ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน
headline - พาดหัว เหมือนกับพาดหัวหนังสือพิมพ์
heading - หัวเรื่อง ศัพท์บัญญัติ
title - ชื่อเรื่อง ศัพท์บัญญัติ
subject - เรื่อง ศัพท์บัญญัติ
topic - หัวข้อ ได้ความหมาย
talk (เนมสเปซ) พูดคุย คุย, สนทนา เปลี่ยนไปใช้คำโดด ๆ, เพื่อให้เหมือนกับชื่อเนมสเปซ talk ต่าง ๆ ที่ใช้ว่า "คุยเรื่อง ..."
ปูม
  • 19 มกราคม 2561 – เพิ่มคำว่า "fair use"

อภิปราย[แก้]

หมวดผู้ใช้[แก้]

  1. เห็นด้วย ถ้าเป็นไปได้อยากจะให้ใช้เป็น ผู้ตรวจการ ตัวอย่างเช่น ผู้ตรวจการระบบ ผู้ตรวจการระบบสิทธิตั้ง หรือ อื่น ๆ ครับ (นี้คือความคิดเห็นของผมน่ะครับ) ที่เหลือผมไม่มีปัญหาครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:15, 18 มกราคม 2561 (ICT)
    • คำว่า "ผู้ดูแลระบบ" มีใช้กันทั่วไปแล้วนี่ครับ คิดว่าการแปลเป็นผู้ตรวจการจะกลายเป็นสวนกระแสไป --Horus (พูดคุย) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
      • แค่แสดงข้อเสนอะเอง ไม่ได้โดนกระแสครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:03, 18 มกราคม 2561 (ICT)

2.  ความเห็น active user ผมว่า "ผู้ใช้ที่ยังมีความเคลื่อนไหว" สื่อความหมายชัดเจนกว่า "ผู้ใช้ที่ยังมีกิจกรรม" --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)

พอจะมีบริบทที่ "กิจกรรม" ไม่ชัดเจนไหมครับ เพราะผมเห็นว่าสองคำนี้ความหมายเหมือนกัน แต่คำว่า "กิจกรรม" สั้นกว่า --Horus (พูดคุย) 09:43, 21 มกราคม 2561 (ICT)
เช่นเวลาเราเข้าไปดู contribution ของ inactive user เราน่าจะเรียกว่าเขา "ยังมีกิจกรรม" ได้อยู่ เพราะมันไม่ได้ถูกลบออกไปจากปูม ถึงกิจกรรมเหล่านั้นจะเก่าแล้วก็ตาม เท่าที่เห็นศัพท์บัญญัติถ้าไม่ใช้คำไทยก็ใช้คำบาลีว่า กัมมันต์ ไม่ได้ใช้ว่า มีกิจกรรม ครับ --Potapt (พูดคุย) 19:42, 21 มกราคม 2561 (ICT)
"ผู้ใช้ที่ยังมีกิจกรรม" สื่อความหมายไม่ดีครับ ผมเสนอ "ผู้ที่ยังมีการใช้งาน" หรือ "ผู้ใช้ที่ยังมีการใช้งาน" ไว้เป็นตัวเลือกครับ --Akarawut1 (พูดคุย) 11:31, 1 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

หมวดนโยบาย/กฎหมาย[แก้]

1. ไม่เห็นด้วย ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้คำว่า Vandalism แปลว่า ทำลาย มากกว่า ก่อกวน เพราะ 1. ยึดตามวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ 2. สมมุติว่าผมจะทำโปสเตอร์ต่อต้านการก่อกวน โดยใช้คำว่า harassment มันจะไม่คล้องจองครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:20, 18 มกราคม 2561 (ICT)

  • อย่างนั้นรบกวนเสนอคำที่จะใช้กับ "harassment" ด้วยครับ --Horus (พูดคุย) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)
    • Anti-harassment For The Free Encyclopedia อยางนี้เปล่าครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:34, 18 มกราคม 2561 (ICT)
      • ผมหมายถึง คำแปลของ "harassment" ครับคุณ --Horus (พูดคุย) 17:36, 18 มกราคม 2561 (ICT)
    • จงกำจัดการก่อกวนเพื่อสารานุกรมเสรี ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:45, 18 มกราคม 2561 (ICT)
      • ไม่ทราบว่าคุณไม่เข้าใจตรงไหนครับ คือ ตอนนี้ "vandalism" แปลว่า "การก่อกวน" แต่ในพจนานุกรม "การก่อกวน" จะมีความหมายว่า "harassment" ผมเลยจะเสนอว่าให้ harassment = ก่อกวน แล้วเสนอคำใหม่ให้ vandalism แทน ไม่ได้จะให้มาคิดคำขวัญครับ --Horus (พูดคุย) 17:47, 18 มกราคม 2561 (ICT)
  • ถ้ายังนั้น ก็ใช้รวมกันก็ได้ครับ เวลาผมทำโฆษณาชวนเชื่อจะได้มีตัวเลือกมากขึ่นครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:17, 18 มกราคม 2561 (ICT)

2. ไม่เห็นด้วย ผมไม่อยากจะให้ใช้คำว่า สภากาแฟ ครับ เพราะว่าเด็กและเยาวชนที่อาจจะสนใจวิกิพีเดีย มองว่า วิกิพีเดียเป็นที่ของพวกผู้ใหญ่เท่านั้น หากเป็นไปได้ใช้ชื่อให้ดีกว่านี้ได้เปล่าครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:26, 18 มกราคม 2561 (ICT)

  • ผมขอยกความเห็นของ Dr.Garden เมื่อปี 2553 มาไว้ตรงนี้ครับ

    อีกอย่างคือผมรู้สึกว่าคำว่า "สภากาแฟ" ที่มีมาแต่แรกเริ่มมันแสดงถึงความแยบคายของการรู้จักเลือกสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนไทยมาตั้งเป็นชื่อ ดั่งเช่นในชุมชนต่างประเทศสมัยก่อนที่มีปั๊มน้ำเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนเพื่อสนทนาปรึกษาในประเด็นปัญหาที่ถูกตั้งขึ้น (สมัยนี้ต้องเป็นตู้กดน้ำดื่มหรือห้องแพนทรีในออฟฟิศครับ ^^) วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเองถึงได้เลือกชื่อ Village pump แทนที่จะใช้ชื่อตรงๆ ผมถึงได้แสดงความเห็นว่าอยากให้ใช้ชื่อเดิมครับ

    ซึ่งสมัยนี้ถ้าไม่ใช่คำว่า "สภากาแฟ" ก็อาจใช้ว่า "ร้านกาแฟ" มั้ย? เพราะเดี๋ยวนีี้นัดรวมตัวกัน หรือเรียนพิเศษก็มักจะใช้ร้านกาแฟ --Horus (พูดคุย) 17:41, 18 มกราคม 2561 (ICT)
ก็ใช้ชื่อ Wikipedia:Teahouse (สภาน้ำชา) ก็ได้นี้ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:56, 18 มกราคม 2561 (ICT)
ไม่เห็นด้วย 1. คุณบอกว่า "สภากาแฟ" ดูเป็นผู้ใหญ่ไป แล้ว "สภาน้ำชา" มันดูเด็กลงหรือครับ ดูแล้วแค่เข้าถึงคนที่ดื่มชามากกว่าเฉย ๆ 2. Village pump กับ Teahouse เป็นคนละอย่างกัน ไม่ควรเอาคำโน้นมาแปลเป็นคำนี้ --Horus (พูดคุย) 18:01, 18 มกราคม 2561 (ICT)
โอเค ไม่มีปัญหาครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:05, 18 มกราคม 2561 (ICT)

3. ส่วนข้อที่เหลือของหมวดนโยบาย/กฎหมายนี้ผม เห็นด้วย ครับ--Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 17:36, 18 มกราคม 2561 (ICT)

4. ไม่เห็นด้วย สำหรับ disclaimer และ privacy policy เพราะคำว่า disclaimer ผิดความหมาย และ privacy policy ไม่สื่อความหมายว่าภาวะเฉพาะคืออะไร --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)

ยอมรับว่า disclaimer ความหมายผิดจากบริบทจริง ส่วน "privacy" หมายถึง "ภาวะเฉพาะบุคคล" มีความหมายเหมือน "ความเป็นส่วนตัว" (นำคำว่า "เฉพาะบุคคล" มาสร้างเป็นคำนาม) ผมคิดว่าคำนี้ยังสื่อความหมายอยู่ --Horus (พูดคุย) 21:13, 18 มกราคม 2561 (ICT)

5.  ความเห็น

  • disclaimer มีศัพท์บัญญัติวิชาการหนังสือพิมพ์ว่า "ข้อความปฏิเสธความพ้อง" (แต่เป็นฉบับ พ.ศ. 2539 ไม่รู้ว่าปัจจุบันได้แก้ไขหรือเปล่า) แต่ใช้ว่า "ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ" ผมว่าก็โอเคแล้วครับ
  • vandalism คิดว่าควรแปลว่า "การก่อกวน" เหมือนเดิม เพราะใช้บ่อยและใช้กันจนชินแล้วในวิกิพีเดีย (เช่น ในหน้าแจ้งผู้ดูแลระบบ) ถ้าเปลี่ยนไปใช้เป็นคำแปลของ harassment อาจทำให้สับสน และศัพท์บัญญัติ harassment = การก่อกวน นั้นก็มาจากสาขานิติศาสตร์อย่างเดียว
  • harassment เสนอคำแปลว่า "การรังควาน"
  • privacy ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ว่า "ภาวะส่วนตัว" ความหมายไม่น่าต่างกับ "ภาวะเฉพาะส่วนตัว" ที่เป็นศัพท์บัญญัติรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์หรือเปล่าครับ
  • notability คิดว่าน่าจะแปลว่า "ความโดดเด่น" เพราะของบางอย่างสำคัญแต่อาจจะไม่โดดเด่นก็ได้ เข้าใจว่าในวิกิพีเดีย "ความโดดเด่น" กับ "ความสำคัญ" ไม่ต่างกันมาก แต่เผื่อต้องแปลคำว่า importance ในอนาคตจะได้ไม่ต้องแก้อีก
  • village pump เห็นด้วยว่าให้ใช้ "สภากาแฟ" วิกิภาษาฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลีก็ใช้ Bistro, Café, Bar ซึ่งเกี่ยวข้องกับร้านเครื่องดื่มเหมือนกัน จึงไม่น่าผิดเพี้ยนอะไร --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
    • เห็นด้วย กับ privacy ส่วน vandalism, harassment, notability ผมโอเคครับ --Horus (พูดคุย) 09:45, 21 มกราคม 2561 (ICT)

6. ไม่เห็นด้วย กับการใช้นโยบายภาวะส่วนตัวสำหรับ privacy เนื่องจากทุกเว็บไซต์ก็ใช้คำว่า นโยบายความเป็นส่วนตัว และผู้ใช้น่าจะเข้าใจคำนี้มากกว่า --Pilarbini (พูดคุย) 18:05, 21 มกราคม 2561 (ICT)'

แม้ว่าความเป็นส่วนตัวจะเป็นคำที่ใช้แพร่หลาย แต่ความหมายก็ไม่ได้ต่างจาก "ภาวะส่วนตัว" มากนัก คิดว่าคงไม่ถึงกับหลุดบริบททำให้ผู้ใช้ไม่เข้าใจเลย --Horus (พูดคุย) 20:36, 21 มกราคม 2561 (ICT)

7.  ความเห็น

  • สำหรับ "vandalism" ผมขออนุญาตเสนอคำว่า "การบ่อนทำลาย" ครับ (deliberately intended to obstruct or defeat the project's purpose)[1] --Akarawut1 (พูดคุย) 23:35, 1 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
  • ส่วน "harassment" ผมขออนุญาตเสนอคำว่า "การคุกคาม" ครับ (offensive behavior that appears to a reasonable observer to intentionally target a specific person or persons)[2] --Akarawut1 (พูดคุย) 23:35, 1 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
    •  ความเห็น บ่อนทำลาย หมายถึง แทรกซึมเข้าไปทำลายจากข้างใน (บ่อน แปลว่า กัดกินจากข้างใน เหมือน หนอนบ่อน) แต่ vandalism มีความหมายแค่ ทำลาย ทำให้เสียหาย (deliberately mischievous or malicious destruction or damage) --YURi (พูดคุย) 00:22, 2 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
    • เห็นด้วยกับ YURi ครับ ว่า "บ่อนทำลาย" ไม่เหมาะสม สำหรับกรณีนี้ผมขอโหวตให้ "การก่อกวน" เพราะสื่อความหมายดี คนฟังแล้วเข้าใจตรงกับสิ่งที่ต้องการสื่อในคำจำกัดความของ Wikipedia:Vandalism ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1] --Akarawut1 (พูดคุย) 13:11, 2 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

หมวดเฉพาะทางคอมพิวเตอร์[แก้]

  1. เห็นด้วย ไม่น่าจะมีปัญหา --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:10, 18 มกราคม 2561 (ICT)

หมวดวิกิพีเดีย[แก้]

  1. เห็นด้วย หากเป็นไปได้ ให้ปรับแก้กว่านี้หน่อย --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 20:53, 18 มกราคม 2561 (ICT)
  2. ไม่เห็นด้วย สำหรับ contribution เพราะผิดความหมาย --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)
    ยังไงครับ ทำโน่นทำนี้ในวิกิพีเดียไม่เรียกว่า "มีส่วนร่วม" แล้วจะให้เรียกว่าอะไร รบกวนขยายความด้วย และอยากทราบว่าควรใช้แปลว่าอะไรแทน ป.ล. ถ้าใช้ไอพีเข้ามาตอบเกรงว่าน้ำหนักคำพูดจะไม่เท่ากับผู้ใช้ล็อกอิน --Horus (พูดคุย) 21:02, 18 มกราคม 2561 (ICT)
  3.  ความเห็น
  • contribution น่าจะใช้ "การเข้ามีส่วนร่วม" เพราะ "การมีส่วนร่วม" ยังเป็นศัพท์บัญญัติของ participation ด้วย
  • edit ศัพท์บัญญัติเกือบทุกสาขาใช้ว่า "ตรวจแก้" จึงน่าจะแปล edit summary ว่า "ข้อสรุปการตรวจแก้" หรือถ้าจะให้พ้องกับการแปลคำว่า edit ในที่อื่น ๆ ก็น่าจะแปลเป็น "ข้อสรุปการแก้ไข"
  • consensus มีศัพท์บัญญัติสาขาวิทยาศาสตร์ว่า "ความเห็นพ้อง" (แต่เป็นฉบับ พ.ศ. 2546 ไม่รู้ว่าปัจจุบันได้แก้ไขหรือเปล่า) และในพจนานุกรมมีคำว่า "ฉันทานุมัติ" แปลว่า ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ (ผมเดาว่าที่พจนานุกรมไม่เก็บคำว่า "ฉันทามติ" ไว้ เพราะผิดหลักการสร้างคำ เช่น ฉันทานุมัติ มาจาก ฉันทะ+อนุมัติ, ฉันทาคติ มาจาก ฉันทะ+อคติ แต่ ฉันทามติ มาจาก ฉันทะ+อมติ?) --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
    • เห็นด้วย กับ consensus เพราะตอนแรกก็พยายามหาอยู่ว่ารากศัพท์มาจากคำไหนแน่ ส่วน summary คิดว่าจะใช้ "ความย่อ" ซึ่งจะคล้ายกับของเดิมคือ "คำอธิบายอย่างย่อ" --Horus (พูดคุย) 09:56, 21 มกราคม 2561 (ICT)

หมวดจิปาถะ[แก้]

  1. เห็นด้วย ถ้าปรับรูปแบบให้เหมาะสมก็เปลี่ยนเลยครับ --Tvcccp (cn:Yesona) (Talk) 18:10, 18 มกราคม 2561 (ICT)
  2.  ความเห็น credit ในที่นี้มีความหมายหรือมีที่ใช้เจาะจงหรือเปล่าครับ เพราะมีศัพท์บัญญัติวิชาการหนังสือพิมพ์ (พ.ศ. 2539) ของคำ credit ว่า "ข้อความแจ้งแหล่งที่มา, ข้อความให้เกียรติเจ้าของงาน" แต่ credit ในที่นี้ตัดมาจาก credit line --Potapt (พูดคุย) 08:08, 21 มกราคม 2561 (ICT)
  3.  ความเห็น list ควรแปลขึ้นกับบริบทมากกว่า เจาะจงที่คำว่า รายการ คำเดียว ศัพท์บัญญัติหมวดประชากรศาสตร์ มีแปลว่า รายชื่อ เช่นรายชื่อคน รายชื่อหมู่บ้าน เป็นต้น--Sry85 (พูดคุย) 12:38, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)
    • ใจจริงผมคิดอยากแก้ปัญหาที่บางบทความต้องใช้ชื่อว่า "รายพระนามและรายนาม" พวกนี้เพราะมันยาวอย่างเดียว แต่ค้นไปค้นมาก็ดูเหมือน list บุคคลข้างนอกก็ใช้กันว่า "รายชื่อ" อยู่ดี --Horus (พูดคุย) 12:50, 12 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

ประเด็นศัพท์บัญญัติ[แก้]

ขอสอบถามว่า ศัพท์บัญญัติมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่อการใช้ในระบบวิกิพีเดีย ยกเว้นเรื่องการทับศัพท์ชื่อ เพราะคำแปลของศัพท์บัญญัติไม่ได้สื่อถึงความหมายของสิ่งนั้นเสมอไป เป็นต้นว่า disclaimer และ contribution ที่มีหลายความหมาย ต้องอาศัยบริบทที่ต่างกันในการแปล แม้แต่ตัววิกิพีเดียเองก็ยังมีบริบทเฉพาะบางประการเช่นกัน --210.1.21.116 20:37, 18 มกราคม 2561 (ICT)

จริง ๆ คำที่เลือกมานี้ก็เลือกให้เข้ากับบริบทแล้ว การเลือกใช้ศัพท์บัญญัติน่าจะมีผลมากกว่ากับคำบางคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน อย่างเช่น คู่ text กับ message หรือ คู่ data กับ information มากกว่า จะเห็นว่าหากไม่ใช้ศัพท์บัญญัติกับคู่คำเหล่านี้แล้วจะมีปัญหาตามมามาก เพราะคนก็จะแปลกันไปต่าง ๆ นานา --Horus (พูดคุย) 21:00, 18 มกราคม 2561 (ICT)

ความคืบหน้า[แก้]

ปิดท้าย[แก้]

ถ้าไม่มีผู้ออกความเห็นเพิ่มขออนุญาตเปลี่ยนคำต่าง ๆ ไปใช้ตามนี้เลยนะครับ ยกเว้น "privacy policy" --Horus (พูดคุย) 11:55, 18 กุมภาพันธ์ 2561 (ICT)

เชิงอรรถ[แก้]