กิงกากูจิ

พิกัด: 35°1′37″N 135°47′54″E / 35.02694°N 135.79833°E / 35.02694; 135.79833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดกิงกากุ)
จิโชจิ
慈照寺
คันนนเด็ง (ตำหนักเจ้าแม่กวนอิม) เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ศาลาเงิน" แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
นามภูเขาโทซัง
นิกายเซน สำนักรินไซ
ศรัทธาต่อชากะ เนียวไร (พระโคตมพุทธเจ้า)
สร้างเมื่อพ.ศ. 2033
สร้างโดยอาชิกางะ โยชิมาซะ
บรรพชิตแรกมูโซ โซเซกิ
ที่อยู่2 Ginkakuji-chō, Sakyō-ku, Kyōto
ประเทศ ญี่ปุ่น
เว็บไซต์http://www.shokoku-ji.jp

กิงกากูจิ (ญี่ปุ่น: 銀閣寺โรมาจิGinkaku-jiทับศัพท์: วัดศาลาเงิน) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ จิโชจิ (ญี่ปุ่น: 慈照寺โรมาจิJishō-ji) เป็นวัดในเขตซาเกียว นครเกียวโต สร้างขึ้นโดยโชกุนอาชิกางะ โยชิมาซะ ในสมัยยุคมูโรมาจิเมื่อ พ.ศ. 2017 เพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงอำนาจและความยิ่งใหญ่ของตระกูล โดยเลียนแบบจากคิงกากูจิที่สร้างโดยโชกุนอาชิกางะ โยชิมิตสึ ผู้เป็นปู่

ศาลาคันนนเป็นอาคารหลักของวัด มักเรียกกันว่า ศาลาเงิน (กิงกากุ) เนื่องมาจากเมื่อครั้งแรกสร้าง โยชิมาซะมีความตั้งใจว่าจะใช้แผ่นเงินแท้ปิดหุ้มผนังด้านนอกศาลา แต่ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามโอนินขึ้น การก่อสร้างจึงหยุดชะงักลงโดยไม่มีการปิดหุ้มแผ่นเงิน ปัจจุบันวัดนี้ได้เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ของอำนาจของโชกุน กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์และความอดกลั้น

เมื่อแรกเริ่มนั้น กิงกากูจิสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและปลีกวิเวกของโชกุน ในระหว่างที่โยชิมาซะดำรงตำแหน่งโชกุน เขาได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมใหม่ขึ้นมา ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่าในชื่อวัฒนธรรมแห่งขุนเขาตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東山文化โรมาจิHigashiyama-bunka) กล่าวกันว่า เมื่อสงครามโอนินทวีความรุนแรงมากขึ้น โยชิมาซะได้มาหลบซ่อนตัวอยู่ที่ศาลาเงินแห่งนี้ เขาได้พักผ่อนและชื่นชมกับความสงบและความสวยงามของสวนในบริเวณศาลา ในขณะที่นครเกียวโตกำลังถูกเพลิงเผาผลาญ ต่อมาใน พ.ศ. 2028 โยชิมาซะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในนิกายเซน และหลังจากเขาเสียชีวิตลง ศาลาเงินและบริเวณโดยรอบได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นวัดพุทธ โดยใช้ชื่อว่า "จิโชจิ" ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงศาลาเงินที่ยังคงตั้งอยู่

บริเวณรอบ ๆ ศาลาเงิน มีพื้นดินที่มีมอสหลากหลายชนิดขึ้นปกคลุม และมีสวนแบบญี่ปุ่น ซึ่งออกแบบโดยโซอามิ ศิลปินนักจัดสวนชื่อดัง โดยเฉพาะสวนหินและทรายที่มีชื่อเสียงมาก โดยมีกองทรายที่กล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขาฟูจิตั้งอยู่ในสวน

กิงกากูจิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

35°1′37″N 135°47′54″E / 35.02694°N 135.79833°E / 35.02694; 135.79833