รูด็อล์ฟ เฮิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก รูดอล์ฟ เฮิสส์)
รูด็อล์ฟ เฮิส
เฮิสในการไต่สวนของคณะตุลาการแห่งชาติสูงสุดโปแลนด์ ปี 1947
เกิด25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1901(1901-11-25)
บาเดิน-บาเดิน, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต16 เมษายน ค.ศ. 1947(1947-04-16) (45 ปี)
ออชฟีแยญชิม, โปแลนด์
รับใช้ ไรช์เยอรมัน
แผนก/สังกัดชุทซ์ชตัฟเฟิล
ประจำการ1934–1945
ชั้นยศเอ็สเอ็ส-ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์
หน่วยหน่วยหัวกะโหลก
บังคับบัญชาผู้บัญชาการของค่ายกักกันเอาช์วิทซ์, 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1943, 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 – 18 มกราคม ค.ศ. 1945
คู่สมรสHedwig Hensel (สมรส 1929) [1]
ความสัมพันธ์five children (three daughters and two sons)

รูด็อล์ฟ เฮิส (เยอรมัน: Rudolf Höss) เป็นเจ้าหน้าที่ชุทซ์ชตัฟเฟิลแห่งนาซีเยอรมนี มียศเป็นเอ็สเอ็ส-ชตูร์มบันน์ฟือเรอร์ และปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บัญชาการค่ายกักกันที่ยาวนานที่สุดของค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ในสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ทดสอบและปฏิบัติวิธีการต่าง ๆ เพื่อเร่งลงมือแผนการของฮิตเลอร์ที่จะกำจัดชาวยิวในยุโรปภายใต้การยึดครองของเยอรมันอย่างเป็นระบบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ มาตราการสุดท้าย (Final Solution) ด้วยความคิดริเริ่มของหนึ่งในผู้ใต้บังคับบัญชาของเขา เอ็สเอ็ส-ฮอฟท์ชตูร์มฟือเรอร์ (ร้อยเอก) Karl Fritzsch เฮิสได้แนะนำให้ใช้สารกำจัดศัตรูพืช ซือโคลน เบ ที่มีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์นำไปสู่กระบวนการฆ่า เพราะฉะนั้นจึงอนุญาตให้เหล่าทหารหน่วยเอสเอสในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ทำการสังหารผู้คนประมาณ 2,000 คนต่อชั่วโมง เขาได้สร้างการติดตั้งขนาดใหญ่สำหรับการทำลายล้างอย่างต่อเนื่องของมนุษยชาติที่เคยรู้จัก

เฮิสได้เข้าร่วมพรรคนาซีในปี ค.ศ. 1922 และหน่วยเอสเอสในปี ค.ศ. 1934 ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 ถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1943 และอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1944 ถึง 18 มกราคม ค.ศ. 1945 เขาได้เป็นผู้รับผิดชอบของค่ายเอาช์วิทซ์ที่มีประชากรจำนวนมากกว่าหนึ่งล้านคนถูกสังหารก่อนที่เยอรมนีพ่ายแพ้สงคราม เขาได้ถูกตัดสินโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในปี ค.ศ. 1947 หลังการพิจารณาคดีที่วอร์ซอ ในระหว่างที่เขาถูกคุมขังอยู่ในโปแลนด์ ได้ขอร้องต่อเจ้าหน้าที่โปแลนด์ให้เขาได้เขียนหนังสือซึ่งได้รับการเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษภายใต้ชื่อของ ผู้บังคับบัญชาค่ายเอาช์วิทซ์:อัตชีวประวัติของรูด็อล์ฟ เฮิส มันได้ประกอบด้วยสองส่วน ส่วนหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของเขาเองและคนอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่หน่วยเอสเอสคนอื่น ๆ ที่เขาคุ้นเคย โดยส่วนใหญ่ตั้งแต่ไฮน์ริช ฮิมเลอร์และเทโอดอร์ ไอเคอและคนอื่น ๆ อีกหลายคน

อ้างอิง[แก้]

  1. Graham Anderson (6 พฤษภาคม 2014). "Rainer Höß: My Nazi family". Exberliner. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2014 – โดยทาง Internet Archive.