ริทอร์ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ริทอร์ตทองแดง
ริทอร์ตแก้ว

ในห้องปฏิบัติการเคมี ริทอร์ต คือ เครื่องแก้วที่ใช้สำหรับการกลั่นหรือกลั่นแห้งของสสาร ริทอร์ตประกอบด้วยภาชนะทรงกลมที่มีคอยาวชี้ลงล่าง ของเหลวที่จะถูกกลั่นนั้นถูกใส่ในภาชนะและอุ่นให้ร้อน คอนั้นทำหน้าที่เป็นคอนเดนเซอร์ซึ่งให้ไอน้ำควบแน่นและไหลไปตามคอสู่ภาชนะด้านล่าง[1]

ในอุตสาหกรรมเคมี ริทอร์ตคือภาชนะที่อากาศเข้าไม่ได้ โดยสสารถูกอุ่นเพื่อให้ปฏิกิริยาเคมีที่สร้างผลิตผลก๊าซซึ่งจะถูกเก็บไว้ในภาชนะเพื่อนำไปใช้ต่อไป ริทอร์ตยังถูกใช้ในระดับอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันหิน และการผลิตถ่านหุงต้ม กระบวนการให้ความร้อนหินน้ำมันเพื่อผลิตน้ำมันหิน ก๊าซหิน มักถูกเรียกว่าการริทอร์ต

ในอุตสาหกรรมอาหาร หม้ออบความดันส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่าริทอร์ต หมายถึง "ริทอร์ตบรรจุกระป๋อง" สำหรับการฆ่าเชื้อโรคในอุณหภูมิสูง (116–130 องศาเซลเซียส)

การใช้ริทอร์ต

ประวัติ[แก้]

หลังการประดิษฐ์ของภาชนะแก้วหรือโลหะที่ใช้ในการกลั่นหรือริทอร์ตชนิดหนึ่ง ญาบิร นักเล่นแร่แปรธาตุได้พัฒนากรรมวิธีในการกลั่นจนเป็นอย่างที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักเล่นแร่แปรธาตุใช้ริทอร์ตกันอย่างแพร่หลาย และรูปภาพของริทอร์ตนั้นยังพบได้ในรูปวาดของห้องปฏิบัติการของคนเหล่านี้ ก่อนการค้นพบของคอนเดนเซอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน ริทอร์ตนั้นถูกใช้โดยนักเคมีที่มีชื่อเสียง เช่น อ็องตวน ลาวัวซีเย, เยินส์ ยาคอบ แบร์เซลีอุส[2] เป็นต้น

หน้าที่ในเคมีวิเคราะห์[แก้]

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลโดยเฉพาะการคิดค้นคอนเดนเซอร์ไส้ตรง การใช้ริทอร์ตในห้องปฏิบัติการถูกมองว่าล้าสมัยตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[3] อย่างไรก็ตาม เทคนิคในห้องปฏิบัติการบางอย่างนั้นอาจไม่ต้องการอุปกรณ์ที่ละเอียดอ่อน และสามารถใช้ริทอร์ตเพื่อทดแทนอุปกรณ์การกลั่นที่ซับซ้อนได้

อ้างอิง[แก้]

  1. "retort."
  2. "Retort."
  3. "Distillation." 1911 Encyclopedia Britannica - Free Online.