ราดาเมล ฟัลกาโอ การ์ซิอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราดาเมล ฟัลกาโอ
ฟัลกาโอ ขณะลงเล่นให้กับทีมชาติโคลอมเบีย
ในฟุตบอลโลก 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ราดาเมล ฟัลกาโอ การ์ซิอา ซาราเต[1]
วันเกิด (1986-02-10) 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1986 (38 ปี)[2]
สถานที่เกิด ซานตามาร์ตา โคลอมเบีย
ส่วนสูง 1.77 เมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง กองหน้า
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ราโยบาเยกาโน
หมายเลข 3
สโมสรเยาวชน
2001–2005 ริเบร์เปลต
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1999–2001 ลันเซโรส โบยากา 8 (1)
2005–2009 ริเบร์เปลต 90 (34)
2009–2011 โปร์ตู 51 (41)
2011–2013 อัตเลติโกมาดริด 68 (52)
2013–2019 มอนาโก 107 (65)
2014–2015แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ยืมตัว) 26 (4)
2015–2016เชลซี (ยืมตัว) 11 (1)
2019–2021 กาลาทาซาไร 34 (19)
2021– ราโยบาเยกาโน 5 (4)
ทีมชาติ
2001–2005 โคลอมเบีย อายุไม่เกิน 17 ปี 4 (1)
2005–2007 โคลอมเบีย อายุไม่เกิน 20 ปี 11 (4)
2007– โคลอมเบีย 97 (35)
* นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2021
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 2021

ราดาเมล ฟัลกาโอ การ์ซิอา ซาราเต (สเปน: Radamel Falcao García Zárate; เกิด 10 กุมภาพันธ์ 1986) เป็นนักฟุตบอลชาวโคลอมเบีย ปัจจุบันลงเล่นในตำแหน่งกองหน้า ให้กับราโยบาเยกาโน สโมสรในลาลิกา และเป็นกัปตัน ของทีมชาติโคลอมเบีย เขามีชื่อเล่นว่า "เอลติเกร" (หมายถึงเสือในภาษาสเปน) หรือ "คิงออฟเดอะยูโรปาลีก"[4][5] ในช่วงวัยหนุ่ม เขาได้รับการยอมรับให้เป็นหนึ่งในกองหน้าที่ดีที่สุดในโลก[6][7][8]

ฟัลกาโอ เริ่มต้นอาชีพของเขากับลันเซโรส โบยากา ทีมในดิวิชัน 2 ของโคลอมเบียเมื่ออายุ 13 ปี ในปี 2001 เขาย้ายไปริเบร์เปลต ซึ่งเขาร่วมทีมในระดับเยาวชนจนถึงปี 2005 เขาพาทีมชุดใหญ่ชนะเลิศ อาร์เจนไตน์ปริเมราดิบิซิออน และการแข่งขันกลาอูซูรา ในปี 2008 เข้าย้ายร่วมทีม โปร์ตู ในปี 2009 ซึ่งเขาช่วยให้ทีมชนะเลิศหลายรายการรางวัล รวมทั้งยูฟ่ายูโรปาลีก และปรีไมราลีกา ในปี 2011[9][10] ฟัลกาโอ เป็นผู้ทำประตูสูงสุดให้กับโปร์ตู ในการแข่งขันสโมสรระดับนานาชาติ และสร้างสถิติทำประตูมากที่สุดในฤดูกาลเดียว ในการแข่งขันระดับยุโรป (17 ประตู) นอกจากนี้ เขายังกลายเป็นชาวโคลอมเบียคนแรกที่ได้รับรางวัล ลูกบอลทองคำโปรตุเกส[11] ในเดือนสิงหาคม 2011 ฟัลกาโอ ได้ย้ายร่วมทีมอัตเลติโกมาดริด ด้วยค่าตัว 40 ล้านยูโร เป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์สโมสร เขาพาทีมคว้าแชมป์ยูโรปาลีก และยูฟ่าซูเปอร์คัพ ในปี 2012 เขายังเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในยูโรปาลีกสองปีติดต่อกัน และเป็นคนแรกที่ชนะเลิศยูโรปาลีกสองสมัยติดต่อกันกับสองทีม[12][4] เขาได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมยอดเยี่ยมฟีฟ่าฟีฟโปรเวิลด์ XI ในปี 2012[13] และได้รับอันดับที่สี่ในฟีฟ่าบาลงดอร์ 2012

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2013 ฟัลกาโอ ย้ายร่วมทีมอาแอ็ส มอนาโก ทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาในลีกเอิง ด้วยค่าตัว 60 ล้านยูโร ซึ่งสูงสุดตลอดกาลของสโมสร อย่างไรก็ตาม เขาได้รัยอาการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า ในเดือนมกราคม 2014 ทำให้เขาต้องรักษาตัวนานหลายเดือน[14] ก่อนที่ในฤดูกาลถัดมาเขาจะถูกยืมตัวไปแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และในฤดูกาล 2015-16 กับเชลซี ในท้ายที่สุดเขากลับสู่มอนาโกในฤดูกาล 2016-17 และพาทีมคว้าแชมป์ลีกเอิง เขาย้ายร่วมทีมกาลาทาซาไร ในปี 2019 และกลับสู่ลีกสเปนกับราโยบาเยกาโน ในปี 2021

ฟัลกาโอ ประเดิมสนามให้กับโคลอมเบียชุดใหญ่ในปี 2007 ปัจจุบันเขาลงเล่นไปแล้วมากกว่า 90 นัด และได้กลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของทีม โดยได้ทำลายสถิติเดิมที่ 25 ประตูในเดือนมิถุนายน 2017 เขาเป็นตัวแทนทีมชาติของเขาในหลายรายการสำคัญทั้ง โกปาอาเมริกา 2011, 2015 และ 2019 เขาพลาดการลงเล่นในฟุตบอลโลก 2014 เนื่องจากการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม เขาได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกในปี 2018 ที่รัสเซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. "Radamel Falcao Garcia Zarate" (ภาษาตุรกี). Turkish Football Federation. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  2. "FIFA World Cup Russia 2018: List of Players: Colombia" (PDF). FIFA. 15 July 2018. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 June 2019.
  3. "Radamel Falcao". Chelsea FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2015. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  4. 4.0 4.1 MacAree, Graham (5 November 2012). "On Radamel Falcao, King of the Europa League". SB Nation. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  5. "Magazine: Where next for Europa League king Radamel Falcao?". talkSPORT. สืบค้นเมื่อ 2 January 2013.
  6. Mott, Alex (10 February 2020). "Just how good was Radamel Falcao at Atlético Madrid?". Onefootball.
  7. "How brilliant is Monaco's Radamel Falcao?". UEFA.com. 7 February 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2020.
  8. "Radamel Falcao: Chelsea striker was best of 'human players'". BBC Sport. 23 July 2015.
  9. Das, Andrew (19 May 2011). "Porto Wins Europa League. Can It Get Better Than This?". Goal. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
  10. Ehrli, Andres (19 May 2011). "FC Porto: Top 5 Reasons They Won the Europa League". Bleacher Report. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.
  11. "Falcao awarded the Portuguese Golden Ball". atleticofans.com. Atletico Fans. 7 February 2012. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  12. "Falcao shines again as Atletico rule Europe". FIFA.com. 10 May 2012. สืบค้นเมื่อ 27 May 2020.[ลิงก์เสีย]
  13. "FIFA FIFPRO WORLD XI 2012". FIFPro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 June 2013.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  14. "Leon Mead MD". สืบค้นเมื่อ 1 September 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]